กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ผิวหนังแตกลาย

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ผิวหนังแตกลาย

ผิวหนังแตกลายเป็นอาการที่ผิวหนังของคุณนั้นแตกเป็นแถบๆ ขนานกันบนผิวหนัง ซึ่งอาจจะมีสีและสัมผัสที่แตกต่างจากผิวหนังปกติ โดยมีได้ตั้งแต่สีม่วงไปจนถึงชมพูเข้มถึงเทาอ่อน เวลาที่คุณสัมผัสรอยแตก คุณมักจะรู้สึกว่ามีเส้นเล็กๆ อยู่บนผิวหนัง และบางครั้งอาจจะมีอาการคันหรือเจ็บได้

ผิวหนังที่แตกลายเหล่านี้พบได้บ่อยในระหว่างหรือหลังจากการตั้งครรภ์หรือหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักอย่างฉับพลัน และยังอาจจะเกิดในวัยรุ่นที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อาการนี้ไม่ได้เป็นอันตรายและมักจะหายไปเมื่อเวลาผ่านไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษารอยแตกลาย รอยคล้ำ วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 89%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คุณสามารถมีผิวหนังแตกลายได้แทบจะทุกส่วนของร่างกายแต่พบได้บ่อยที่บริเวณท้อง หน้าอก ต้นแขน ต้นขา และก้น

สาเหตุ

ผิวหนังแตกลายนั้นเป็นผลจากการที่ผิวหนังถูกยืดและมีการเพิ่ม cortisone ในร่างกาย cortisone เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไต แต่การที่มีฮอรโมนนี้อยู่ในระดับสูงนั้นจะทำให้ผิวหนังสูญเสียความสามารถในการยืดหยึ่น

ผิวหนังแตกลายนั้นพบได้บ่อยในสถานการณ์ต่อไปนี้

  • ผู้หญิงส่วนใหญ่มีผิวหนังแตกลายในระหว่างการตั้งครรภ์จากการที่ผิวหนังถูกยืดไปในหลายทิศทางเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับทารกในครรภ์ ซึ่งการดึงรั้งและการยืดที่เกิดขึ้นนี้สามารถทำให้เกิดผิวหนังแตกลายได้
  • บางครั้งอาจจะเกิดเวลาที่คุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว วัยรุ่นอาจจะสังเกตเห็นว่ามีผิวหนังแตกลายได้หลังจากที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • ครีม โลชั่นและยากลุ่ม corticosteroid นั้นสามารถทำให้เกิดผิวหนังแตกลายได้โดยการลดความสามารถในการยืดของผิวหนัง
  • Cushing’s syndrome, Marfan’s syndrome, Ehlers-Danlos syndrome และความผิดปกติอื่นๆ ของต่อมหมวกไตสามารถทำให้เกิดผิวหนังแตกลายได้โดยการเพิ่มปริมาณของ cortisone ในร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยง

ต่อไปนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดผิวหนังแตกลายเพิ่มขึ้น

  • เป็นผู้หญิง
  • มีผิวหนังสีอ่อน
  • มีประวัติครอบครัวที่มีผิวหนังแตกลาย
  • ตั้งครรภ์
  • มีประวัติการคลอดทารกที่ตัวใหญ่หรือฝาแฝด
  • น้ำหนักเกินเกณฑ์
  • มีน้ำหนักลดหรือเพิ่มอย่างรวดเร็ว
  • ใช้ยาในกลุ่ม corticosteroid

การวินิจฉัย

แพทย์สามารถบอกได้ว่าคุณมีภาวะนี้หรือไม่จากการดูที่ผิวหนังและดูประวัติการรักษา หากสงสัยว่าเกิดจากโรคที่เป็นอันตรายอาจจะมีการตรวจเลือด ปัสสาวะ หรือภาพวินิจฉัยเพิ่มเติม

การรักษา

ผิวหนังที่แตกลายนั้นมักจะจางลงเมื่อเวลาผ่านไป หากคุณไม่อยากรอก็มีวิธีที่สามารถช่วยได้ แต่ก็ไม่มีวิธีใดที่จะทำให้ผิวหนังที่แตกลายนั้นหายไปได้หมด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษารอยแตกลาย รอยคล้ำ วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 89%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีต่อไปนี้สามารถลดรอยแตกได้

  • ครีม Tretinoin ออกฤทธิ์โดยการเพิ่มคอลลาเจนซึ่งเป็นเส้นใยโปรตีนที่ช่วยเพิ่มความยืดหยึ่นให้กับผิวหนัง ควรใช้ครีมนี้กับรอยแตกที่เพิ่งเกิดที่มีสีแดงหรือชมพู ครีมนี้อาจจะทำให้มีการระคายเคืองที่ผิวหนังได้และถ้าหากตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ครีมนี้
  • การใช้เลเซอร์ (Pulsed dye laser therapy) เป็นการกระตุ้นการเจริญของคอลลาเจนและ elastin ควรใช้กับรอยแตกที่เพิ่งเกิดขึ้นเช่นกัน ผู้ที่มีผิวหนังสีคล้ำนั้นอาจจะมีผิวหนังที่เปลี่ยนสีไปได้
  • Fractional photothermolysis นั้นเป็นการใช้เลเซอร์เหมือนกันแต่ใช้เฉพาะจุดเล็กๆ ที่ผิวหนังทำให้มีการทำลายผิวหนังในปริมาณที่น้อยกว่า
  • Microdermabrasion เป็นการขัดผิวด้วยผลึกเล็กๆ เพื่อให้เห็นผิวหนังใหม่ที่อยู่ใต้รอยแตก วิธีนี้สามารถช่วยให้รอยแตกที่เกิดขึ้นมานานแล้วดูดีขึ้นได้
  • Excimer laser เป็นการกระตุ้นการผลิตเม็ดสีของผิวหนังเพื่อให้ผิวหนังที่เป็นรอยแตกนั้นมีสีใกล้เคียงกับผิวหนังรอบข้าง
  • หัตถการและยาเหล่านี้ไม่ได้รับรองว่าจะสามารถรักษาผิวหนังที่แตกลายได้ทั้งหมดและอาจจะมีราคาแพง

วิธีการรักษาผิวหนังแตกลายที่บ้าน

มีหลายผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่าสามารถช่วยลดรอยแตกลายที่ผิวหนังได้แต่ยังไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ประสิทธิภาพได้ในปัจจุบัน การเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังนั้นอาจจะช่วยบรรเทาอาการคันของผิวหนังที่แตก

การป้องกัน

ไม่มีวิธีใดที่สามารถป้องกันการเกิดผิวหนังแตกลายได้ทั้งหมด แม้ว่าคุณจะใช้โลชั่นและครีมเป็นประจำก็ตาม อย่างไรก็ตามการควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมโดยการรับประทานอาหารที่ดีและออกกำลังกายสม่ำเสมอนั้นสามารถช่วยป้องกันผิวหนังที่แตกจากการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักอย่างฉับพลันได้

ถึงแม้ว่าการที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์นั้นจะดีต่อคุณและทารก แต่ก็ควรถามแพทย์ว่าควรมีน้ำหนักขึ้นเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศ.ดร.นพ.ธัมม์ทิวัตถ์ นรารัตน์วันชัย, ผิวแตกลาย (http://anti-aging.mfu.ac.th/admin/uploadCMS/research/2IWed10648.pdf)
Gotu kola. Natural Medicines. https://naturalmedicines.therapeuticresearch.com/.
MacGregor JL, et al. Striae distensae (stretch marks). http://www.uptodate.com/home.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป