กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

จุดด่างดำบนผิวหนัง (Hyperpigmentation)

การเกิดจุดด่างดำบนผิวหนัง แม้ไม่ใช่เรื่องประหลาดและไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของการเกิดโรคบางชนิดได้
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
จุดด่างดำบนผิวหนัง (Hyperpigmentation)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • จุดด่างดำ หมายถึงรอยดำต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนร่างกาย โดยมีด้วยกันหลายประเภท และมีสาเหตุแตกต่างกันออกไป จุดด่างดำอาจเป็นอาการนำไปสู่โรคอื่นๆ ได้
  • ฝ้า เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จุดด่างดำจากแดดเกิดจากการสัมผัสแสงแดดเป็นเวลานาน ส่วนจุดด่างดำจากการอักเสบของผิว เกิดจากการบาดเจ็บที่ผิวหนัง
  • การวินิจฉัยของแพทย์ จะสอบถามประวัติ และบางกรณีอาจตัวอย่างชิ้นเนื้อไปตรวจวินิจฉัยเพื่อดูว่าเป็นอาการนำของมะเร็งหรือไม่
  • การรักษาของแพทย์ส่วนใหญ่ มักให้ยาแต้มจุดด่างดำที่มีส่วนผสมของ Hydroquinone ที่ช่วยฟอกสีผิวหนัง แต่หากไม่สามารถทำได้ แพทย์ก็อาจแนะนำให้ใช้เลเซอร์กำจัดรอยดำนั้นออกแทน
  • ดูแพ็กเกจเลเซอร์หน้าใสได้ที่นี่

จุดด่างดำบนผิวหนัง (Hyperpigmentation) คือ สภาวะที่ผิวหนังมีสีเข้มขึ้นกว่าสีผิวปกติ โดยอาจเกิดขึ้นแค่จุดเล็กๆ อาจเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง หรืออาจเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกาย แม้สภาวะที่เกิดขึ้นนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ก็อาจเป็นอาการเบื้องต้นของโรคอื่นๆ ได้

จุดด่างดำบนผิวหนังแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ฝ้า (Melasma) : มักมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และพบได้บ่อยระหว่างการตั้งครรภ์ ฝ้าสามารถเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณของร่างกาย แต่พบมากที่สุดบริเวณใบหน้าและหน้าท้อง

  • จุดด่างดำบนผิวหนังที่เกิดจากแสงแดด (Sunspots) : หรือ กระแดด (Solar Lentigines) เกิดขึ้นจากการสัมผัสแสงแดดมากเกินไปเป็นเวลานาน พบได้ที่มือ และใบหน้า

  • จุดด่างดำจากการอักเสบของผิว (Post-Inflammatory Hyperpigmentation) : เกิดจากการบาดเจ็บที่ผิวหนัง  

จุดด่างดำบนผิวหนังมีอาการอย่างไร

อาการที่พบ คือ บริเวณของผิวหนังที่มีสีเข้มขึ้นกว่าปกติ ขนาดของจุดด่างดำมีความแตกต่างกัน และพบที่บริเวณใดก็ได้ของร่างกาย

สาเหตุของจุดด่างดำบนผิวหนัง

สาเหตุที่พบบ่อยของการเกิดจุดด่างดำบนผิวหนัง คือการผลิตเม็ดสีเมลานิน หรือสารที่ก่อให้เกิดสีบนผิวหนังมากเกินไป ซึ่งอาจเกิดได้จากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • การสัมผัสกับแสงแดด : จะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตเม็ดสีเมลานินมากกว่าปกติ

  • การใช้ยาบางชนิด : เช่น ยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง

  • การตั้งครรภ์ : อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อการผลิตเม็ดสีเมลานินได้ในบางราย

  • โรคของต่อมไรท่อ (Endocrine Diseases) : เช่น โรคแอดดิสัน (Addison’s Disease) ที่เกิดจากการบกพร่องของต่อมหมวกไต ส่งผลกระทบต่อระดับฮอร์โมนในร่างกายและเพิ่มการสร้างเม็ดสีเมลานินเพิ่มขึ้น

การวินิจฉัยรอยจุดด่างดำบนผิวหนัง

แพทย์ผิวหนังสามารถวินิจฉัยรอยจุดด่างดำบนผิวหนังได้ จากการซักประวัติทางการแพทย์ และการตรวจร่างกายเพื่อประเมินหาสาเหตุ ในบางกรณีอาจต้องมีการตัดชิ้นเนื้อตัวอย่าง (Skin Biopsy) เพื่อตรวจเพิ่มเติมในห้องปฏิบัติการว่ารอยจุดด่างดำนั้น เป็นรอยโรคมะเร็งผิวหนังหรือไม่

การรักษารอยจุดด่างดำบนผิวหนัง

ปกติแล้ว แพทย์มักจะรักษารอยจุดด่างดำบนผิวหนังด้วยการจ่ายยาทาผิวหนัง โดยยาที่ใช้มักมีส่วนประกอบของ Hydroquinone ซึ่งมีฤทธิ์ในการฟอกสีผิวหนัง และยา Retinoic acid ที่ช่วยทำให้จุดด่างดำบนผิวหนังจางลงได้ ซึ่งจะใช้เวลาในการรักษาเพียงไม่กี่เดือน แต่ถ้าหากการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือมีอาการรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยการเลเซอร์ผิวหนังเพื่อลดรอยจุดด่างดำบนผิวหนัง

การป้องกันรอยจุดด่างดำบนผิวหนัง

การป้องกันจุดด่างดำไม่สามารถทำได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็สามารถป้องกันในบางปัจจัยได้ เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่าการป้องกันแสงแดดอย่างน้อย SFP 30 ขึ้นไป การสวมหมวกหรือสวมเสื้อผ้าเพื่อป้องกันแสงแดด และหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดในช่วงเวลาที่มีแดดจัด เป็นต้น

ดูแพ็กเกจเลเซอร์หน้าใส เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
MaryAnn DePietro, What Causes Increased Skin Pigmentation? (https://www.healthline.com/symptom/increased-skin-pigmentation), May 10, 2018.
Hyperpigmentation Therapy: A Review. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4142815/)
Hyperpigmentation: An Overview of the Common Afflictions. Medscape. (https://www.medscape.com/viewarticle/493946)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ผิวไหม้แดด คล้ำเสีย (Sunburn) ในช่วงสงกรานต์
ผิวไหม้แดด คล้ำเสีย (Sunburn) ในช่วงสงกรานต์

สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน และวิธีรักษาผิวไหม้ คล้ำเสีย ปัญหาผิวที่พบได้บ่อยเมื่อทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงหน้าร้อน

อ่านเพิ่ม