รักษาอาการตะคริว

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
รักษาอาการตะคริว

ตะคริวนั้นเป็นภาวะที่กล้ามเนื้อเกิดการหดตัวโดยไม่สามารถควบคุมได้ โดยมากคุณมักจะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดนั้นมีลักษณะเป็นลูกแข็ง ตะคริวนั้นมักจะเกิดจากการที่กล้ามเนื้อนั้นเกิดการตึงมาก หรือเกิดจากการที่ใช้งานกล้ามเนื้อนั้นมากเกินไป จากการที่ร่างกายขาดน้ำ หรือจากการที่มีแร่ธาตุ เช่นโพแทสเซียมหรือแมกนีเซียมไม่เพียงพอ แร่ธาตุเหล่านี้จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อนั้นทำงานได้เป็นปกติและสารน้ำจะช่วยให้ร่างกายสามารถนำเกลือแร่ไปใช้ได้

อาการตะคริวส่วนมากมักไม่ได้เกิดจากโรคที่ร้ายแรง โดยมักจะพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ตะคริวนั้นอาจจะมีความเกี่ยวข้องจากการดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะไทรอยด์ฮอรืโมนต่ำหรือโรคเบาหวาน หากคุณเป็นตะคริวถี่ขึ้นจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตควรไปพบแพทย์ ในระหว่างนี้มีหลายวิธีที่จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยืดกล้ามเนื้อ                                                       

เป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่กำลังเป็นตะคริว ให้หยุดกิจกรรมที่ทำให้เกิดจะคริวและค่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อช้าๆ และค้างไว้ คุณอาจจะนวดบริเวณกล้ามเนื้อในขณะที่ยืดหรือหลังจากที่ยืดเสร็จแล้ว หรืออาจจะประคบร้อนที่บริเวณดังกล่าวหลังจากยืดกล้ามเนื้อเสร็จ หากคุณเป็นตะคริวที่น่องในเวลากลางคืน ค่อยๆ ยืนขึ้นและค่อยๆ ลงน้ำหนักไปที่ขาข้างที่มีอาการเพื่อให้ค่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อจากการลงน้ำหนัก 

แมกนีเซียม

แมกนีเซียมนั้นเป็นหนึ่งในวิธีที่แนะนำในการรักษาอาการตะคริวในหญิงตั้งครรภ์ แต่ยังจำเป็นต้องมีงานวิจัยรับรองเพิ่มขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานแมกนีเซียมเสริมหากคุณตั้งครรภ์

หากคุณเป็นตะคริวบ่อยๆ โดยที่ไม่ได้เกิดจากโรคร้ายแรงใดๆ คุณอาจจะลองรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงเพิ่มขึ้นเช่นถั่วต่างๆ

แช่น้ำอุ่น

นอกเหนือจากการแช่น้ำอุ่นแล้ว บางคนอาจจะแนะนำให้ใช้แมกนีเซียมใส่ไปในน้ำด้วยในรูปแบบของเกลือยิปซั่ม โดยคุณสามารถผสมลงในน้ำอุ่นแล้วแช่ หรืออาจจะใช้ผ้าชุดน้ำแล้วนำมาประคบที่กล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวก็ได้

ในความจริงแล้วการแช่น้ำอุ่นเพียงอย่างเดียวก็สามารถบรรเทาอาการปวดได้ในผู้ป่วยหลายคนไม่ว่าจะใส่เกลือยิปซั่มด้วยหรือไม่ก็ตาม หากคุณไม่สามารถแช่น้ำอุ่นได้ ให้ใช้แผ่นประคบร้อนแทน หากคุณเป็นโรคเบาหวาน ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังหรือโรคอื่นๆ ที่ทำให้คุณรับรู้ความรู้สึกร้อนได้ลดลง ไม่ควรใช้วิธีนี้

ดื่มน้ำ

อีกหนึ่งวิธีที่อาจจะช่วยรักษาตะคริวได้ก็คือการดื่มน้ำ มันอาจจะใช้เวลานานก่อนที่จะสามารถลดการปวดได้ แต่หากคุณดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่ คุณก็สามารถป้องกันการเกิดตะคริวครั้งถัดไปได้

ออกกำลังกาย

วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาตะคริวที่ขาก็คือการเดินรอบๆ นี่จะเป็นการส่งสัญญาณว่าดล้ามเนื้อนั้นต้องบีบตัวและคลายตัว หากวิธีอื่นไม่ได้ผล อาจจะลองใช้การนวดเป็นประจำแทน


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
พท.ป.พิมพ์วิภา แพรกหา, อาการตะคริวน่องในคนท้องแก้ไขอย่างไร (http://www.ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=216), NOV 30 2017
กภ. อรรถพร มงคลภัทรสุข , ตะคริวเป็นแล้วอย่ามองข้าม (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/old/index.php/knowforhealth-20140820-2-2/), August 20, 2014

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป