ค้นหาสาเหตุของการหยุดหายใจขณะหลับ

โรคหยุดหายใจ ขณะหลับสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ค้นหาสาเหตุของการหยุดหายใจขณะหลับ

> การมีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรืออ้วน

โรคหยุดหายใจ ขณะหลับสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนมากมักจะเกี่ยวกับปัญหาทางกายวิภาคของทางเดินหายใจส่วนบน โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังซึ่งจะทำให้ผู้ที่เป็นมีการหยุดหายใจขณะนอนหลับซ้ำๆ ครั้งละประมาณ 10 วินาที หรือมากกว่า และอาจเกิดได้ถึงหลายร้อยครั้งระหว่างคืน ทำให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดลดลง และทำให้รบกวนการนอนหลับและมีผลกระทบตามมาได้ โรคนี้สามารถเกิดตามหลังการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดโรค Obstructive Sleep Apnea หรือเกิดจากการที่สมองไม่สามารถกระตุ้นให้เริ่มการหายใจได้ หรือที่เรียกว่า central sleep apnea

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การที่มีน้ำหนักเกิน หรือ อ้วนนั้นถือเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของภาวะนี้ เนื่องจากการมีน้ำหนักเกินจะทำให้มีการสะสมไขมันส่วนเกินทั่วร่างกายซึ่งรวมถึงโดยรอบทางเดินหายใจเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดการตีบแคบลงโดยเฉพาะในช่วงคอหอย ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดการอุดตันระหว่างที่นอนหลับ นอกจากนั้นการมีน้ำหนักเกินยังทำให้มีความดันภายนอกทางเดินหายใจที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดผลลักษณะเดียวกันอีกด้วย ลองคิดถึงภาพการที่มีถุงทรายน้ำหนัก 30 ปอนด์กดอยู่ที่บริเวณหน้าอกหรือท้องสิ ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมน้ำหนักส่วนเกินนี้จึงทำให้คุณหายใจติดขัด โดยเฉพาะผู้ทีมีคอใหญ่จะมีความเสี่ยงในการหยุดหายใจได้มาก เนื่องจากทางเดินหายใจจะถูกกดทับลงมาโดยตรง

มีกายวิภาคของทางเดินหายใจส่วนบนที่ผิดปกติ

มีความผิดปกติบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนเกิดขึ้นได้หลายอย่าง ที่ทำให้มีแนวโน้มที่จะล้มลงมา หรือเกิดการอุดตันที่ทำให้เกิดการหยุดหายใจขณะหลับ บางคนมีความผิดปกตินี้มาตั้งแต่เกิด เช่นที่หน้า ปาก หรือลำคอ ที่ทำให้ทางเดินหายใจถูกปิดได้ง่ายกว่าปกติ เช่นความผิดปกติทางใบหน้าบางประเภทเช่นการสร้างใบหน้าส่วนกลางเป็นต้น ภาวะที่พบได้บ่อยกว่าเช่นการมีต่อมทอนซิล หรือต่อมอะดีนอยด์ ที่โตกว่าปกติซึ่งอาจทำให้ทางเดินหายใจมีขนาดเล็กกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ในเด็ก นอกจากนั้นการที่มีคางเล็กหรือคางหดเข้าไปด้านหลัง (เรียกว่า retrognathia) หรือการมีลิ้นใหญ่ก็อาจเป็นปัญหาเช่นกัน

การใช้ยา ยาเสพติด หรือแอลกอฮอล์ที่ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนคลายตัวลง

หากคุณรับประทานสารเหล่านี้เข้าไปก็ทำให้ทางเดินหายใจเกิดการคลายตัวลงได้ แม้แต่ในทางเดินหายใจที่ปกติ การดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนยุบตัวลงได้ง่ายขึ้น การใช้ยาในกลุ่มกล่อมประสาท เช่นยานอนหลับหรือยาในกลุ่ม benzodiazepines และยากดประสาทที่ใช้เป็นยาแก้ปวดก็สามารถทำให้เกิดการหยุดหายใจขณะนอนหลับได้เช่นกัน

การสูญเสียแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อจากอายุที่เพิ่มขึ้น

การหยุดหายใจขณะหลับเป็นโรคที่พบได้บ่อยเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น โดยพบในผู้ใหญ่ถึง 7% และประมาณ 25% ของผู้สูงอายุ ทำไมถึงเป็นเช่นนี้? เนื่องจากเมื่อมีอายุมากขึ้น แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อก็จะลดลง ซึ่งรวมถึงกล้ามเนื้อของทางเดินหายใจส่วนบนเช่นกัน (โดยเฉพาะคอหอย) ยิ่งทางเดินหายใจมีการคลายตัวมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้เกิดการอุดตันขณะหลับได้มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งอาจทำให้เกิดผลที่ตามมาขั้นร้ายแรงได้ เช่นการทำให้โรคประจำตัวทั่วไปเช่นความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานแย่ลง และยังทำให้เกิดโรคเส้นเลือดในสมองและเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้มากขึ้นอีกด้วย

การนอนหงายและฝัน

คุณอาจจะเคยได้ยินว่า “คุณจะกรนก็ต่อเมื่อนอนหงายเท่านั้น” ซึ่งก็เป็นจริงสำหรับการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับเช่นกัน และอาจนำไปสู่การพยายามวางข้อศอกไว้ใหนตำแหน่งที่เหมาะสมขณะนอนเพื่อให้คุณนอนตะแคงอยู่บ่อยๆ เนื่องจากขณะนอนหงาย จะทำให้ลิ้นหรือเพดานปากตกลงมาสู่ทางเดินหายใจตามแรงโน้มถ่วง หรือน้ำหนักส่วนเกินในทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนเกิดการยุบตัวลง ดังนั้นเมื่อคุณนอนตะแคง น้ำหนักดังกล่าวจึงไม่ได้กดทับลงมาที่คอหอยของคุณ

นอกจากนั้นยังพบว่ามีหลายคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้บ่อยระหว่างที่กำลังฝันหรือช่วงการนอนหลับแบบ REM ซึ่งน่าจะเกิดจากการคลายตัวของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงการนอนหลับดังกล่าว ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้คุณออกท่าทางตามความฝันซึ่งอาจพบได้ในผู้ที่มีความผิดปกติของพฤติกรรมระหว่างนอนหลับในช่วง REM แต่มันก็ทำให้ทางเดินหายใจของคุณยุบตัวลงได้ง่ายขึ้นเช่นกัน


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sleep Apnea: Symptoms, Causes, Diagnosis and Treatment. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/sleep-apnea-overview-3014774)
Obstructive sleep apnea: Overview. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK279274/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
นอนกรน เป็นเพราะอะไร อันตรายหรือไม่?
นอนกรน เป็นเพราะอะไร อันตรายหรือไม่?

นอนกรน แก้ได้ถ้ารู้ต้นเหตุ คนใกล้ชิดควรช่วยสังเกตอาการอื่นๆ ของคนที่นอนกรน เพราะบางครั้งการกรนบางแบบ อาจมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพร้ายแรง

อ่านเพิ่ม