นพ. สุวพัชญ์ พิศาลมงคล แพทย์ทั่วไป
เขียนโดย
นพ. สุวพัชญ์ พิศาลมงคล แพทย์ทั่วไป

นอนกรน เป็นเพราะอะไร อันตรายหรือไม่?

นอนกรน แก้ได้ถ้ารู้ต้นเหตุ คนใกล้ชิดควรช่วยสังเกตอาการอื่นๆ ของคนที่นอนกรน เพราะบางครั้งการกรนบางแบบ อาจมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพร้ายแรง
เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 3 พ.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
นอนกรน เป็นเพราะอะไร อันตรายหรือไม่?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • นอนกรน (Snoring) คือ เสียงหายใจที่เกิดจากอากาศเดินทางผ่านช่องทางเดินหายใจแคบๆ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อในทางเดินหายใจส่วนบน เกิดเป็นเสียงขึ้นมาในขณะนอนหลับ
  • เกิดจากเวลานอนหลับ กล้ามเนื้อบริเวณช่องปาก ลิ้น และส่วนต่างๆ ของทางเดินหายใจส่วนบนจะคลายตัวและหย่อนลง ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนแคบลง
  • การนอนกรนที่มีภาวะการหยุดหายใจในขณะนอนหลับ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการซักประวัติเพิ่มเติม อาจสังเกตได้จากอาการง่วงนอนตอนกลางวัน รู้สึกว่านอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อ่อนเพลีย
  • สำหรับผู้ที่กรนจากการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และน้ำหนักตัวมากเกินไป อาจแก้ไขได้ด้วยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว แต่หากยังไม่หายควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ
  • ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่

นอนกรน (Snoring) คือ เสียงหายใจที่เกิดจากอากาศเดินทางผ่านช่องทางเดินหายใจแคบๆ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อในทางเดินหายใจส่วนบน เกิดเป็นเสียงขึ้นมาในขณะนอนหลับ

การนอนกรนพบได้ในคนปกติทั่วไป จากการสำรวจพบว่า ประมาณ 45% ของคนทั่วไปเคยนอนกรน และคน 25% มีนอนกรนเกือบทุกครั้งขณะนอนหลับ โดยพบในประชากรเพศชายมากกว่าเพศหญิง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษานอนกรน วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 14,549 บาท ลดสูงสุด 30,551 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม การนอนกรนอาจสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพบางอย่างได้ ดังนั้นเมื่อมีอาการนอนกรน ควรจะได้รับการสังเกตจากบุคคลใกล้ชิดว่ามีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่

การนอนกรนนั้นเกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่ อาการที่ต้องสังเกตในขณะนอนหลับมีอะไรบ้าง และอีกหลากหลายคำถามที่กำลังสงสัยสามารถหาคำตอบได้จากบทความนี้

ทำไมถึงนอนกรน?

ในระหว่างวันเราหายใจผ่านทางเดินหายใจได้ปกติโดยที่ไม่มีเสียงดังเกิดขึ้น แต่เมื่อนอนหลับ กล้ามเนื้อบริเวณช่องปาก ลิ้น และส่วนต่างๆ ของทางเดินหายใจส่วนบนจะคลายตัวและหย่อนลง ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนแคบลง เมื่ออากาศที่หายใจเดินทางผ่านจึงเกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อต่างๆ ขึ้น ทำให้เกิดเป็นเสียงกรนขึ้นมา

ดังนั้นการกรนจึงอาจพบได้ในคนปกติ แต่บางสภาวะหรือบางโรคก็อาจมีการส่งเสริมให้เกิดอาการนอนกรนขึ้นมาได้ เช่น ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน มีต่อมทอนซิล (Tonsil) หรือต่อมอะดีนอยด์ (Adenoid) ขนาดใหญ่กว่าปกติ มีโครงสร้างของลิ้นที่ใหญ่ ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เป็นไข้หวัด เป็นต้น

นอนกรน หายใจไม่ออก อันตรายไหม?

การนอนกรนเพียงอย่างเดียวโดยที่ไม่มีภาวะหรือโรคอื่นร่วมด้วย อาจไม่มีผลต่อสุขภาพร่างกายของผู้ที่นอนกรน แต่จะเป็นปัญหาต่อคนใกล้ชิดที่นอนอยู่ด้วยกัน เนื่องจากเสียงกรนจะรบกวนการนอนหลับ ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพของผู้ที่ใกล้ชิดจากการนอนหลับที่ไม่เพียงพอ (Sleep deficiency)

ส่วนการนอนกรนที่เป็นอันตรายซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของผู้ที่กรน คือการนอนกรนที่มีภาวะการหยุดหายใจในขณะนอนหลับ (Obstructive sleep apnea: OSA) ภาวะนี้จะมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนโดยสิ้นเชิง ทำให้ขาดก๊าซออกซิเจนในขณะนอนหลับ และก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมาได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษานอนกรน วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 14,549 บาท ลดสูงสุด 30,551 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กรนแบบไหนควรไปพบแพทย์?

การนอนกรนที่รบกวนการนอนหลับของผู้ที่อยู่ด้วยกัน และการนอนกรนที่มีภาวะการหยุดหายใจในขณะนอนหลับ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการซักประวัติเพิ่มเติม ตรวจบริเวณช่องปาก ช่องจมูก และทางเดินหายใจส่วนบน

รวมถึงการตรวจติดตามในขณะนอนหลับ (Sleep test) เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุและให้การรักษาปัญหาการนอนกรนอย่างเหมาะสม

แพทย์เฉพาะทางที่ดูแลปัญหาเกี่ยวกับการนอนกรนคือแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก (Otolaryngologist)

อาการของผู้ที่มีภาวะการหยุดหายใจในขณะนอนหลับ ได้แก่

  • ง่วงนอนตอนกลางวัน รู้สึกว่านอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

  • มีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียง่ายตอนกลางวัน

  • มีการหยุดหายใจ หายใจเฮือก กลั้นหายใจในขณะนอนหลับ

  • นอนกรนเสียงดังทุกครั้งที่นอนหลับ

  • ปวดหัวตอนตื่นนอน

  • ไม่มีสมาธิจดจ่อในการทำงาน

  • มีการตอบสนองช้ากว่าปกติ

ภาวะการหยุดหายใจในขณะนอนหลับ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม จะเป็นปัญหาต่อการดำรงชีวิตประจำวัน รวมถึงส่งผลให้เป็นโรคหัวใจโต (Cardiomegaly) และโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) ได้อีกด้วย

มีวิธีแก้หรือรักษาการนอนกรนหรือไม่ ทำอย่างไร?

วิธีรักษาอาการนอนกรนขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้กรน เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษานอนกรน วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 14,549 บาท ลดสูงสุด 30,551 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ถ้ามีน้ำหนักตัวมากเกินไป หากควบคุมอาหารและออกกำลังกาย อาจช่วยแก้ปัญหาการนอนกรนได้

  • ถ้ามีต่อมทอนซิลหรือต่อมอดีนอยด์โตกว่าปกติ อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษา

  • ถ้าการนอนกรนนั้นได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ การรักษาที่เหมาะสมจะพิจารณาให้ใช้เครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) อ่านว่า ซี-แพบ มีลักษณะเป็นหน้ากากสวมครอบแนบบริเวณใบหน้าแล้วมีท่ออากาศต่อไปยังเครื่อง

    หลักการทำงานคือเครื่องนี้จะช่วยตีอากาศเข้าไปเพื่อถ่างขยายทางเดินหายใจส่วนบนที่ตีบแคบ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดการนอนกรน และมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนในขณะนอนหลับ ทำให้อากาศสามารถผ่านเข้าออกทางเดินหายใจได้โดยสะดวก

    ในระยะแรกผู้ใช้งานอาจมีปัญหาในการใช้ เช่น มีอาการเจ็บบริเวณใบหน้า อึดอัดรำคาญ เป็นต้น แต่เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง พบว่าอุปกรณ์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพที่ดี และจัดเป็นมาตรฐาน (Gold Standard) ของการักษาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

    ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่อง CPAP ประเภทต่างๆ มากมาย เพื่อปรับแรงดันอากาศให้เหมาะสม และเพื่อให้ผู้ใช้งานใช้ได้โดยสะดวก

นอนกรน ป้องกันได้หรือ?

แนวทางการปัองกันปัญหานอนกรนที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ได้แก่

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยานอนหลับก่อนเข้านอน เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยานอนหลับมีผลทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว จึงทำให้ทางเดินหายใจหย่อนและแคบกว่าปกติได้

  • พยายามควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย เพื่อลดน้ำหนัก

  • เปลี่ยนท่านอนเป็นท่านอนตะแคง เนื่องจากการนอนหงายจะทำให้ลิ้นและเนื้อเยื่อบริเวณทางเดินหายใจตกลงตามแรงโน้มถ่วง ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง

  • รักษาอาการแพ้และคัดจมูก เนื่องจากอาการดังกล่าวทำให้ทางเดินหายใจบวมและแคบ

  • เลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่เป็นสิ่งกระตุ้นทำให้ทางเดินหายใจบวมและแคบได้

แนวทางข้างต้นแนะนำให้ใช้เฉพาะผู้ที่มีปัญหาการนอนกรนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนผู้ที่มีภาวะการหยุดหายใจในขณะนอนหลับ ควรจะได้รับการดูแลรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพในอนาคต

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Kristeen Moore, Snoring (https://www.healthline.com/health/snoring), 23 February 2016.
Kathleen Davis, How do you stop snoring? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/303834.php), 18 May 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ค้นหาสาเหตุของการหยุดหายใจขณะหลับ
ค้นหาสาเหตุของการหยุดหายใจขณะหลับ

โรคหยุดหายใจ ขณะหลับสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ

อ่านเพิ่ม