ภาวะกะโหลกแตก คือการแตกร้าวของกะโหลก (Cranial Bone) สามารถแบ่งได้หลายประเภท แต่มักเกิดจากสาเหตุร้ายแรงเพียงอย่างเดียวคือ การถูกอัดหรือถูกกระแทกที่ศีรษะอย่างรุนแรงจนทำให้กระดูกส่วนศีรษะแตก การแตกร้าวนี้อาจทำเกิดการบาดเจ็บที่สมองร่วมด้วย
การแตกร้าวของกะโหลกเป็นอาการที่สังเกตเห็นได้ยาก แต่ก็มีอาการที่บ่งชี้ได้หลายอย่าง เช่น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- การบวมหรือกดเจ็บรอบส่วนที่ถูกกระแทก
- ใบหน้าฟกช้ำ
- เลือดออกจากจมูกหรือหู
ประเภทของภาวะกะโหลกแตกจะขึ้นอยู่กับแรงที่เข้าปะทะศีรษะ ตำแหน่งศีรษะที่โดนกระแทก และรูปร่างของสิ่งที่เข้ามากระแทก วัตถุปลายแหลมจะแทงทะลุเข้ากะโหลกได้ง่ายกว่าวัตถุแข็ง ซึ่งการแตกร้าวแต่ละประเภทจะมีระดับการบาดเจ็บที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- กะโหลกแตกแบบปิด (Closed Fracture) เป็นการแตกร้าวชนิดธรรมดา โดยผิวหนังบริเวณส่วนที่แตกร้าวจะไม่มีความเสียหายหรือแผลเปิดใดๆ
- กะโหลกแตกแบบเปิด (Open Fracture / Compound Fracture) เป็นการแตกร้าวที่เกิดขึ้นพร้อมกับแผลเปิดที่ผิวหนังจนทำให้มองเห็นกระดูกข้างใต้
- กะโหลกแตกยุบ (Depressed Fracture) เป็นการแตกร้าวของกะโหลกที่ทำให้ส่วนของกระดูกยุบหรือแทงเข้าไปในโพรงสมอง
- กะโหลกแตกตามฐาน (Basal Fracture) เป็นการแตกร้าวที่เกิดขึ้นที่ฐานของกะโหลก ซึ่งเป็นบริเวณรอบดวงตา หู จมูก หรือส่วนต้นของลำคอใกล้กับกระดูกสันหลัง
- กะโหลกแตกประเภทอื่น ๆ การแตกร้าวของกะโหลกยังสามารถจำแนกออกเป็นการแตกร้าวเป็นแนวตรง และการแตกร้าวหลายส่วน (มีการแตกหักมากกว่าสามส่วนขึ้นไป) ได้อีกด้วย
อาการจากภาวะกะโหลกแตก
หากการแตกร้าวของกะโหลกเป็นแบบเปิดหรือแบบยุบ อาจทำให้มองเห็นความเสียหายที่กะโหลกได้ง่าย แต่ส่วนมากมักจะสังเกตได้ยาก จึงต้องสังเกตอาการอื่นๆ แทน ดังนี้
- เลือดออกจากบาดแผลที่ถูกกระทบกระแทกในตำแหน่งใกล้กับการบาดเจ็บหรือรอบดวงตา หู และจมูก
- รอยฟกช้ำรอบตำแหน่งที่บาดเจ็บ โดยเฉพาะใต้ดวงตาที่เรียกว่าภาวะรอบตาเขียวคล้ำ (Raccoon Eyes) หรือหลังหู (Battle’s Sign)
- อาการปวดใกล้กับตำแหน่งที่ถูกกระแทก
- อาการบวมในตำแหน่งที่ถูกกระแทก
- อาการผิวแดงหรืออุ่นรอบตำแหน่งที่ถูกกระแทก
บางครั้งอาจพบอาการที่ร้ายแรงน้อยกว่านั้น เช่น
- ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- การมองเห็นไม่ชัดเจน
- กระสับกระส่าย ฉุนเฉียว
- ทรงตัวไม่อยู่
- คอตึง
- ม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสง
- สับสน
- ง่วงนอนรุนแรง
- หมดสติ
สาเหตุที่ทำให้กะโหลกแตก
ภาวะกะโหลกแตก สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อศีรษะได้รับแรงกระแทกที่รุนแรงพอจะทำลายกระดูก โดยแรงทุกประเภทสามารถทำให้เกิดการแตกร้าวของกะโหลกได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการถูกสิ่งของฟาด การล้มหัวฟาด อุบัติเหตุทางรถยนต์ และการกระทบกระแทกอื่นๆ มากมาย
การวินิจฉัยภาวะกะโหลกแตก
แพทย์จะวินิจฉัยการแตกร้าวของกะโหลกได้จากการตรวจร่างกายบริเวณศีรษะ โดยการใช้เครื่องมือในการตรวจเพิ่มเติม แพทย์อาจใช้วิธีถ่ายภาพร่างกายเพื่อให้ได้ภาพของการแตกร้าวที่ชัดเจนและละเอียดยิ่งขึ้น ด้วยการเอกซเรย์ ทำ CT Scan หรือ ทำ MRI ซึ่งก็เป็นวิธีถ่ายภาพภายในร่างกายออกมาทั้งสิ้น
การเอกซเรย์จะทำให้ได้ภาพของกระดูก ส่วนการทำ MRI จะทำให้ได้ภาพของกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนนุ่ม ซึ่งจะทำให้แพทย์มองเห็นการแตกร้าวของกะโหลกและสมองได้
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อย่างไรก็ตาม เครื่องมือที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ CT Scan ที่จะทำให้มองเห็นภาพการแตกร้าวและความเสียหายที่สมองชัดเจนยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการถ่ายภาพแบบ 3D
การรักษาภาวะกะโหลกแตก
ภาวะกะโหลกแตกร้าวอาจไม่สามารถจัดการได้เหมือนกับภาวะกระดูกหักส่วนอื่นๆ เพราะเป็นการรักษาที่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยแพทย์ต้องนำปัจจัยเรื่องของอายุ สุขภาพ และประวัติสุขภาพของผู้ป่วยมาพิจารณาร่วมกับประเภทของการแตกร้าว ความรุนแรง และความเสียหายที่สมอง
แม้ภาวะกะโหลกร้าวจะไม่สร้างความเจ็บปวดใดๆ ให้กับผู้ป่วย และกะโหลกจะรักษาตัวเองได้ แต่ในบางกรณี เช่น กะโหลกแตกตามแนวฐาน อาจสามารถจัดการความเจ็บปวดได้ด้วยการใช้ยาแก้ปวดที่เสพย์ติดได้ (Narcotic) แทน และอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด หากความเสียหายทำให้เกิดการรั่วไหลของน้ำหล่อเลี้ยงไขสันหลังและสมองออกมาทางหูและจมูก
การป้องกันภาวะกะโหลกแตก
ภาวะกะโหลกแตกร้าวสามารถป้องกันได้ ด้วยการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันศีรษะขณะปั่นจักรยานหรือเล่นกีฬาที่เสี่ยงต่อการกระทบกระแทกที่ศีรษะ เช่น ฟุตบอลและปีนหน้าผา
การทำเอกซ์เรย์บ่อยๆมีผลต่อสุขภาพไหม