กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Hypoglycemia (น้ำตาลในเลือดต่ำ)

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 18 เม.ย. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 3 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะที่น้ำตาลในเลือดไม่สมดุล และมีอันตรายไม่แพ้ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเลย
  • หากระดับน้ำตาลในเลือดของคุณต่ำกว่า 70 mg/dL ลงไป แสดงว่าคุณกำลังอยู่ในช่วงภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • หากคุณเคยมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ให้ระมัดระวังโดยอย่าอดอาหาร งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์ อย่าออกกำลังกายมากเกินไป รับยารักษาโรคเบาหวานแต่พอดี
  • อาการจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำร้ายแรงได้ถึงขั้นหมดสติ หรือเป็นอัมพฤกษ์ครึ่งซีกได้ ซึ่งวิธีป้องกันอาการนี้ได้ง่ายๆ คือ พกขนม หรือลูกอมไว้รับประทานเวลาเกิดอาการจากภาวะนี้ หมั่นตรวจวัดน้ำตาลในเลือด และรับประทานอาหารให้ตรงเวลาด้วย
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หรือต่ำมากกว่าคนทั่วไป ทางที่ดีคุณรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเสมอ และหากรู้สึกว่าตนเองมีภาวะน้ำตาลในเลือดผิดปกติ ให้ลองไปตรวจโรคเบาหวานกับแพทย์ดูซักครั้ง(ดูแพ็กเกจตรวจโรคเบาหวานได้ที่นี่)

ระดับน้ำตาลในเลือด เป็นเรื่องที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ต่างก็ส่งผลเสียต่อร่างกายได้ทั้งนั้น โดยคนส่วนมากจะรู้จักเพียงภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง เพราะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน 

แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน มาทำความเข้าใจกับภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำให้มากขึ้น พร้อมกับลองพิจารณาดูว่า คุณกำลังถูกโรคนี้คุกคามอยู่หรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความหมายของค่าน้ำตาลในเลือด

น้ำตาลที่อยู่ในเลือดเรียกว่า "น้ำตาลกลูโคส" เป็นระดับน้ำตาลที่ต้องควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อให้ร่างกายเกิดความสมดุล 

การมีน้ำตาลกลูโคสอยู่ในเลือด ถือเป็นกลไกอย่างหนึ่งของร่างกายที่น่าทึ่งเป็นอย่างมาก เนื่องจากร่างกายจะสามารถนำพลังงานในส่วนนี้ไปใช้งานในเซลล์ต่างๆ จึงทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้เป็นปกติ แต่หากเมื่อไรก็ตามที่ร่างกายขาดน้ำตาล หรือเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ ก็จะส่งผลเสียตามมา

คุณเคยสังเกตหรือไม่ว่า ทำไมถึงรู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงนอน และหิวในช่วงเช้า นั่นก็เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว ร่างกายของเราอยู่ช่วงที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำนั่นเอง เนื่องจากร่างกายได้เผาผลาญน้ำตาลที่เหลืออยู่หมดไปในช่วงกลางคืนที่เราพักผ่อนแล้ว 

และเมื่อใดก็ตามที่เราได้รับประทานอาหารมื้อแรกในวันนั้นๆ เข้าไป ก็จะรู้สึกมีแรง กระปรี้กระเปร่า พร้อมที่จะทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆ อย่างที่ควรจะเป็นได้

ปริมาณระดับค่าน้ำตาลในเลือดที่ถือว่าต่ำ

ปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดมักจะอยู่ที่ 70-100 mg/dL แต่เมื่อใดก็ตามที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 mg/dL ลงไป แสดงว่า ร่างกายกำลังอยู่ในช่วงภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

สาเหตุของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย มักเกิดในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยมีปัจจัยให้เกิดดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ได้รับยารักษาโรคเบาหวานมากเกินไป จนส่งผลให้ร่างกายมีการผลิตอินซูลินในปริมาณที่มากขึ้น จึงทำให้น้ำตาลถูกเผาผลาญไปในปริมาณที่มากกว่าปกติ เป็นเหตุให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง
  • ซื้ออาหารเสริม หรือสมุนไพรต่างๆ มากินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ อาหารเสริมและสมุนไพรบางชนิด มีส่วนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง เช่น ฟ้าทะลายโจร 
  • มีการอดอาหาร หรือรับประทานอาหารน้อยกว่าที่ควรจะเป็น โดยเกิดจากความต้องการลดน้ำหนัก ซึ่งจากการอดอาหารมากเกินไป จึงทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำลงอย่างรวดเร็ว และเป็นปัญหาสุขภาพตามมานั่นเอง
  • ออกกำลังกายมากเกินกว่าปกติ คือ มากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป และไม่ได้ดื่มน้ำ หรือจิบเกลือแร่ระหว่างออกกำลังกาย จนเป็นผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงได้
  • สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งเหล่านี้จะเข้าไปขัดขวางการเผาผลาญน้ำตาล รวมถึงส่งผลให้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ

อาการของผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

เมื่อร่างกายเข้าสู่ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จะเริ่มมีอาการแสดงออกมาให้เห็น คือ

  • รู้สึกร้อน เหงื่อออกง่าย กระวนกระวาย และมือสั่น คล้ายกับหิวอยู่ตลอดเวลา
  • มีความกังวล สับสน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คิดอะไรไม่ออก เนื่องจากขาดน้ำตาลที่จะเปลี่ยนเป็นพลังงานไปเลี้ยงสมอง
  • หัวใจเต้นแรงและเร็ว รู้สึกหวิวๆ คล้ายจะเป็นลม หน้ามืดได้ง่ายกว่าปกติ
  • มีอาการชาตามมือ เท้า และรอบปาก ตาพร่ามัว

และหากร่างกายอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำติดต่อกันเป็นเวลานานจนทำให้สมองขาดกลูโคส จะมีอาการที่รุนแรงขึ้น คือ

  • ตัวเย็นผิดปกติ เพราะอุณหภูมิร่างกายต่ำลง ซึ่งมีความอันตรายเป็นอย่างมาก
  • มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ค่อยตอบสนองต่อการกระทำใดๆ ไม่มีสมาธิ พูดจาไม่รู้เรื่อง หลงลืม ง่วงซึมอยู่ตลอดเวลา
  • หมดสติ ชัก ถ้าหากนำตัวไปรักษาไม่ทัน อาจเป็นอัมพฤกษ์ครึ่งซีก จึงควรรีบไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการรุนแรง

วิธีรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำสามารถรักษาได้ง่ายกว่าภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ถ้าหากไม่มีอาการรุนแรงจนเกินไป โดยวิธีการรักษาที่ควรรู้ไว้ มีดังต่อไปนี้

  • หาลูกอม หรือน้ำหวานติดบ้านไว้ เมื่อไรก็ตามที่ร่างกายส่งสัญญาณว่า คุณกำลังมีระดับน้ำตาลต่ำ ให้คุณอมลูกอมรสหวานๆ หรือดื่มน้ำหวานเข้าไปได้เลย และระหว่างนี้ ให้หยุดรับประทานอาหารที่มีโปรตีน และไขมันไปก่อน จากนั้นรอ 15 นาทีจะเริ่มรู้สึกว่าอาการดีขึ้น

    แต่ถ้าหากอาการยังไม่ดี ให้รับประทานของหวานซ้ำเข้าไปอีกครั้ง และติดตามผลในอีก 15 นาทีต่อมา ถ้ารู้สึกดีขึ้นแล้ว ก็สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ

  • ส่งตัวไปโรงพยาบาลทันที เมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการชัก หรือหมดสติ (ถึงแม้จะไม่ได้เป็นโรคนี้ก็ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงเช่นกัน) ไม่ควรรอช้าอย่างเด็ดขาด

วิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

วิธีป้องกันการเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ได้แก่

  • รับประทานอาหารตรงเวลาและมีปริมาณเหมาะสมตามความต้องการพลังงานของร่างกายแต่ละคนไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง
  • ฉีดอินซูลินหรือกินยาลดระดับน้ำตาลในเลือดตามแพทย์สั่ง ไม่เพิ่ม หรือลดยาเอง 
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำสมอ ไม่หักโหมจนเกินไป ถ้าออกกำลังกายมากกว่าปกติ ควรกินอาหารว่างก่อนออกกำลังกาย ประมาณ 15-30 นาที เช่น 
    • นมพร่องมันเนย 1 แก้ว 
    • ขนมปังแครกเกอร์ 2-3 แผ่นใหญ่ 
    • ผลไม้ขนาดกลาง 1 ผล เช่น ส้ม กล้วยน้ำว้า 
    • ผลไม้ใหญ่ ½ ผล เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล สาลี่ กล้วยหอม
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  • ปรึกษาแพทย์ในกรณีที่ต้องกินยาสำหรับรักษาโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะยาเหล่านั้นอาจมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • บอกให้ญาติ หรือบุคคลใกล้ชิดทราบว่า ตนเองเป็นโรคเบาหวาน และอธิบายการแก้ไขที่ถูกต้องให้ทราบ
  • ควรมีลูกอม น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ 100% หรือขนมปังแครกเกอร์เก็บไว้ใกล้ตัวตลอดเวลา เผื่อยามฉุกเฉิน
  • ช่วงที่เจ็บป่วย หากรับประทานอาหารไม่ได้ ควรพบแพทย์เพื่อขอปรับยา

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิด 

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในทารกแรกเกิด คือ ทารกที่มีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 40 mg/dL โดยหากมารดาเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีโอกาสทำให้ทารกแรกเกิดมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ นอกจากนี้ ยังพบในทารกคลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักต่ำ หรือสูงกว่าเกณฑ์

  • ลักษณะอาการ เช่น กระวนกระวาย หงุดหงิด เฉื่อยชา หายใจเร็ว หยุดหายใจ ตัวเขียว อุณหภูมิร่างกายไม่คงที่ ความตึงตัวของกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการชัก หรือมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของการกิน

    ผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการ แต่หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยง แพทย์จะเจาะเลือดเพื่อตรวจว่า มีอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือเปล่า

  • วิธีการรักษา แพทย์จะเจาะเลือดเพื่อตรวจอาการเบื้องต้น ก่อนจะให้มารดาให้นมภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หากอาการไม่ดีขึ้น จะให้น้ำเกลือควบคู่กับการกินนมแม่ด้วย

อาการน้ำตาลในเลือดต่ำสามารถเกิดขึ้นได้กับคนรอบตัวคุณ ทางที่คุณควรอ่านข้อมูลเหล่านี้เป็นความรู้เบื้องต้นเอาไว้ เพื่อที่เมื่อตนเอง หรือคนใกล้ชิดเกิดอาการที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำขึ้นมา จะได้รู้วิธีปฐมพยาบาลได้อย่างถูกต้อง

ดูแพ็กเกจตรวจโรคเบาหวาน เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
จารุพิมพ์ สูงสว่าง, กวีวรรณ ลิ้มประยูร, โสภาพรรณ เงินฉ่ำ, กลีบสไบ สรรพกิจและ ธราธิป โคละทัต. (บรรณาธิการ). (2551). กุมารเวชศาสตร์ทันยุค
Cryer PE, Axelrod L, Grossman AB, Heller SR, Montori VM, Seaquist ER, et al. Evolution and management of adult hypoglycemic disorders: An Endocrine Society Clinical Practice Guideline. J Clin Endocrinol Metab. 2009
American Diabetes Association Workgroup on Hypoglycemia. Defining and reporting hypoglycemia on diabetes: A report from the American Workgroup on Hypoglycemia. Diabetes Care. 2005

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เวลาหิวจะเหนื่อยไม่มีแรงมือสั่น พอกินข้าวก็ไม่หาย ต้องกินอะไรหวานๆ ถึงจะหาย เป็นอาการเริ่มแรกของโรคอะไรไมค่ะ หรือต้องรีบพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายไม
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการหน้ามือมือชาเกิดจากสาเหตุอะไรค๊ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
น้ำตาลในเลืดต่ำจะมีอาการยังไงครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ไม่ได้กินข้าวตั้งแต่ตื่นนอน มีอาการเหงื่อออกเยอะมาก และมีเวียนหัวเหมือนจะเป็นลม บ้างวันมีอาเจียนร่วมด้วย เป็นเพราะอะไรค่ะ เป็นโรคอะไรร้ายแรงหรือป้าว
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)