ใครที่กำลังป่วยเป็นโรคงูสวัด หรือมีคนใกล้ชิดป่วยเป็นงูสวัดอยู่ อาจกำลังกังวลว่าจะต้องรักษาอย่างไรจึงเหมาะสม เราได้รวบรวมยาทั้งแผนปัจจุบันและยาสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการโรคงูสวัดได้ มาไว้ในบทความนี้แล้ว
ยาแผนปัจจุบัน รักษางูสวัด
กรณีเป็นงูสวัดไม่ซับซ้อน (Uncomplicated zoster) คือป่วยเป็นงูสวัดแต่ไม่ได้มีอาการรุนแรง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ อาการจะหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์เพื่อให้วินิจฉัยอาการ พร้อมรับประทานยาต้านไวรัส เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามหรือเกิดการติดเชื้อเพิ่มเติม โดยการรักษาหลักคือการให้ยาต้านไวรัส อะไซโคเวียร์ (Acyclovir)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ทั้งนี้ยาจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อรับประทานภายใน 48 - 72 ชั่วโมงหลังมีตุ่มหรือผื่นขึ้น โดยจะช่วยลดความรุนแรงและช่วยให้หายเร็วขึ้น รวมทั้งช่วยลดอาการปวดปลายประสาทหลังเป็นงูสวัด (Postherpetic Neuralgia) ได้อีกด้วย
เนื่องจากยาอะไซโคลเวียร์ต้องรับประทานบ่อยครั้ง ผู้ป่วยบางรายอาจไม่สะดวก จึงมียาอีก 2 ชนิด คือ วาลาซิโคลเวียร์ (Valaciclovir) และแฟมซิโคลเวียร์ (Famciclovir) ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์เหมือนยาอะไซโคลเวียร์ แต่มีข้อดีกว่าตรงรับประทานวันละ 3 ครั้ง แต่ยาทั้ง 2 ชนิดนี้มีราคาค่อนข้างสูง
นอกเหนือจากยาต้านไวรัสแล้ว แพทย์จะรักษาตามอาการ เช่น หากปวดแผลจะจ่ายยาแก้ปวด และอาจจ่ายยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย เช่น ไดคล็อกซาซิลลิน (Dicloxacillin) อิริโทรมัยซิน (Erythromycin) เพื่อป้องกันผื่นตุ่มน้ำติดเชื้อ และเป็นหนอง
กรณีมีภาวะซับซ้อน งูสวัดสามารถเกิดในผู้ป่วยที่มีสภาวะร่างกายเดิมที่ผิดปกติได้ เรียกว่า ภาวะงูสวัดซับซ้อน (Complicated zoster) ซึ่งมีได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งแพทย์จะจ่ายยาตามภาวะนั้นๆ ดังนี้
- ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว แพทย์จะให้พักที่โรงพยาบาลและจ่ายยาอะไซโคลเวียร์ เข้าทางหลอดเลือด ขนาด 10 - 12.5 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมง ติดต่อกัน 7 วัน
- ผู้ป่วยที่มีอาการงูสวัดขึ้นตา ต้องปรึกษาจักษุแพทย์ และรับประทานยาอะไซโคลเวียร์ ครั้งละ 800 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง วันละ 5 ครั้ง นาน 10 วัน ควบคู่ไปกับการใช้ขี้ผึงป้ายตาอะไซโคลเวียร์ 3% ป้ายตาวันละ 5 ครั้งร่วมด้วย สำหรับผู้ม่านตาอักเสบ อาจจะต้องยาหยอดตาสเตียรอยด์ และยาหยอดตาอะโทรปีน 1%
- ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตใบหน้าครึ่งซัก แพทย์จะให้รับประทานยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone) เป็นยาในกลุ่ม คอติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid) ช่วยลดการอักเสบ โดยรับประทานวันละ 45 – 60 มิลลิกรัม ติดต่อกันประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ จนกว่าผื่นจะหายไป
- ผู้ป่วยมีอาการปวดประสาทหลังเป็นงูสวัด แพทย์จะจ่ายยาบรรเทาอาการปวด เช่น พาราเซตามอล รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง หรือจ่ายยาอะมิทริปไทลีน (Amitriptyline) ขนาดวันละ 20-25 มิลลิกรัม แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นทุกๆ สัปดาห์จนได้ผล แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรงมาก แพทย์อาจจะต้องให้ยาฉีด ยาทา หรือยาพ่น หรือใช้แคปไซซิน (Capsacin) ซึ่งเป็นสารสะกัดจากพริก ซึ่งสามารถบรรเทาอาการปวดได้ บางรายแพทย์อาจจ่ายยารักษาโรคลมชัก เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดประสาทร่วมด้วย เช่น คาร์บามาซีปีน (Carbamazepine) กาบาเพนติน (Gabapentin)
ยาสมุนไพร
จริงๆ แล้วมีสมุนไพรหลายชนิดที่ระบุว่ามีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการงูสวัดได้ แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันที่แน่ชัด แต่มียาสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีงานวิจัยยืนยันว่าช่วยรักษาโรคงูสวัด คือ สมุนไพรพญายอ ซึ่งเป็นสารสกัดจากใบพญายอ หรือที่รู้จักกันในชื่อเสลดพังพอนตัวเมีย
เมื่อนำไปทารักษาแผลงูสวัด พบว่าช่วยให้แผลแห้ง ตกสะเก็ดภายใน 3 วัน และแผลหายภายใน 7 -10 วัน ช่วยลดความเจ็บปวดจากอาการงูสวัดได้ และไม่พบผลข้างเคียงใดๆ ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรมได้ผลิตเป็นครีมสำเร็จรูป มีชื่อว่า "ครีมพญายอ"
ฉีดวัคซีนงูสวัดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 4292 บาท ลดสูงสุดถึง 655 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อย่างไรก็ตามวิธีข้างต้นเหมาะกับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง อายุต่ำกว่า 50 ปี ไม่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่มีงูสวัดขึ้นที่ใบหน้า ที่สำคัญควรใช้ควบคู่ไปกับยาแผนปัจจุบัน และปรึกษาแพทย์ถึงรายละเอียดการใช้อย่างเคร่งครัด
วัคซีนป้องกันโรค
หากไม่อยากป่วยเป็นงูสวัด ต้องเริ่มจากรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพราะเชื้อไวรัสจะออกมาทำร้ายเราได้ก็ต่อเมื่อร่างกายเราอ่อนแอหรือมีภูมิคุ้มกันลดลง นอกจากนี้อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้คือ การฉีดวัคซีนป้องกันงูสวัด ซึ่งช่วยลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค รวมทั้งช่วยลดความรุนแรงของอาการได้อีกด้วย โดยเราสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนงูสวัดได้ที่โรงพยาบาลชั้นนำทั่วไป
ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนงูสวัด เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android