กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ความปลอดภัยในการใช้ยาแก้แพ้ระหว่างตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 3 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความปลอดภัยในการใช้ยาแก้แพ้ระหว่างตั้งครรภ์

ยาแก้แพ้ (Antihistamines) เป็นยาที่ใช่ทั่วไปสำหรับรักษาโรคภูมิแพ้ (allergic rhinitis) และโรคอื่นๆ เช่น อาการนอนไม่หลับ คลื่นไส้ อาเจียน เมารถ เมาเรือ และเวียนศีรษะ ยาเหล่านี้มักใช้ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์และยาแก้แพ้หลายๆ ชนิดถูกจัดเข้ากลุ่มยาแก้แพ้กลุ่ม B สำหรับสตรีมีครรภ์ (pregnancy category B rating) และยาแก้แพ้ส่วนใหญ่สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ โดยทั่วไปจะคำนึงถึงความปลอดภัยการใช้ยาแก้แพ้ระหว่างการตั้งครรภ์ แต่ในอดีตที่ผ่านมามีผู้หญิงตั้งครรภ์หลายคนที่มีทารกเกิดมาพิการโดยเกี่ยวข้องกับการรับประทานยาแก้แพ้

ความสัมพันธ์ระหว่างยาแก้แพ้และความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด

ความสัมพันธ์กันของยาแก้แพ้ที่ถูกใช้ในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์และความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด มีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ไดเฟนไฮดรามีน(Benadryl) ภาวะหรือโรคปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft lip and cleft palate) ความพิการทางสมอง (neural tube defects) ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (spina bfida) กรณีการเกิดความผิดปกติของแขนขา (limb reduction defects) ความพิการแต่กำเนิดของผนังหน้าท้อง (gastroschisis)
  • ลอราทาดีน (Claritin) ภาวะที่ท่อปัสสาวะเปิดผิดปกติ (Hypospadias)
  • คลอเฟนิรามีน (Chlor-Trimeton) ความผิดปกติทางตา ผิดปกติทางหู ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง และภาวะหรือโรคปากแหว่งเพดานโหว่
  • ดอกซีลามีน (Unisom) ภาวะหรือโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ลำไส้อุดกั้น (pyloric stenosis) โครงสร้างหัวใจผิดปกติหลายตำแหน่งและมีขนาดของหัวใจซีกซ้ายเล็กกว่าปกติ (hypoplastic left heart syndrome) ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง และความพิการทางสมอง

มีรายงานว่าประมาณ 15% ของสตรีมีครรภ์ที่ใช้ยาแก้แพ้ในช่วงระยะสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์จากนักวิจัยจากเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ และประเทศสิงคโปร์กำลังตรวจหาถึงความปลอดภัยของการใช้ยาแก้แพ้ในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ นักวิจัยตรวจสอบข้อมูลที่ถูกเก็บในระหว่างช่วงระยะเวลา 12 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 1998 ถึง ปี ค.ศ. 2010 มีทารกมากกว่า 13,000 คนเกิดพร้อมกับความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด และเทียบเด็กเหล่านี้กับเด็กทารกเกือบ 7,000 คนที่ไม่มีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด ประมาณ 14% ของเด็กทารกทั้งหมดเคยผ่านการใช้ยาแก้แพ้ที่มารดาทานระหว่างช่วงระยะสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ยาแก้แพ้บางตัว เช่น เบนาดริลและคลาริทิน มีอัตราการใช้ยาที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ในหลายปีที่ผ่านมา ในขณะที่การใช้ยาแก้แพ้บางตัว เช่น Chlor-Trimeton และ Unisom กลับลดลง 

ยาแก้แพ้ปลอดภัยสำหรับการใช้ในช่วงตั้งครรภ์หรือไม่?

ข้อมูลจากการศึกษานี้เป็นที่น่าพอใจว่ายาแก้แพ้โดยทั่วไปแล้วถือว่าปลอดภัยสำหรับการใช้ในช่วงตั้งครรภ์ ความสัมพันธ์ก่อนหน้าเกี่ยวกับยาแก้แพ้ที่ใช้ระหว่างระยะสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์และความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดไม่ได้ถูกยืนยันในการศึกษานี้ แต่ถึงกระนั้น ความพยายามที่จะตรวจสอบความเสี่ยงของการพัฒนาความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดโดยทั่วไปนั้น นักวิจัยสามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ คลอเฟนิรามีน (Chlor-Trimeton) และความพิการทางสมองกับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด นอกจากนั้นยังมีความเกี่ยวข้องระหว่างการใช้เบนาดริลและอีกประเภทหนึ่งของโรคหัวใจพิการผิดปกติการสลับของเส้นเลือดแดง (transposition of the great arteries) แต่ผู้เขียนทุกคนตระหนักว่านี่เป็นเพียงสมมุติฐานที่ต้องยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

ด้วยเหตุนี้ เมื่อมันไม่มีอะไรที่ปลอดภัยสมบูรณ์แบบเพื่อเป็นยาให้ใช้ในช่วงตั้งครรภ์ ความสัมพันธ์ก่อนหน้าระหว่างยาแก้แพ้ที่ใช้ในช่วงระยะสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์และความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดจึงไม่ได้ถูกยืนยันในการศึกษาครั้งใหญ่ล่าสุด ถึงแม้ว่ายาแก้แพ้ส่วนมากสามารถหาได้โดยที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ สตรีมีครรภ์ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนรับประทานยาใดๆ โดยเฉพาะระยะสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ยาที่ใช้ช่วงตั้งครรภ์ควรใช้ในระยะเวลาที่สั้นที่สุดและขนาดยาน้อยที่สุดที่พอเพียงในการรักษาอาการต่างๆ ประโยชน์ของการใช้ยาควรถูกนำมาวัดเทียบกับความเสี่ยงที่ไม่ได้ทานยาตัวดังกล่าว


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการน้ำมูกไหล
อาการน้ำมูกไหล

อาการน้ำมูกไหลเกิดจากสาเหตุอะไร ควรรับประทานยาอะไร น้ำมูกแต่ละสีบ่งบอกถึงอาการอะไรได้บ้าง

อ่านเพิ่ม