กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทพญ.สิริพัชร ชำนาญเวช
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทพญ.สิริพัชร ชำนาญเวช

การรักษารากฟัน

รู้จักการรักษาที่ทำให้ฟันแท้ๆ ของคุณ "ยืนระยะ" ไปได้อีกนาน โดยไม่ต้องถอนออก และไม่ต้องใส่ฟันปลอมแทน
เผยแพร่ครั้งแรก 29 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 2 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 30 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การรักษารากฟัน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การรักษารากฟัน (Root canal treatment) คือ การรักษารากฟันซี่ที่เกิดการผุ แตก ร้าว จนมีการอักเสบ ติดเชื้อที่โพรงประสาท หรือคลองรากฟันถูกทำลาย เพื่อไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปก่อให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อได้อีก
  • หากรากฟันเสียหายแต่ไม่รักษาจะเกิดความเสียหายต่อกระดูกบริเวณรอบรากฟัน ทำให้เกิดตุ่มฝีและหนองบริเวณฟัน ในที่สุดอาจติดเชื้อบริเวณใบหน้าและขากรรไกรตามมาซึ่งอาจส่งผลต่อชีวิตได้
  • การรักษารากฟันจะทำต่อเมื่อมีการอักเสบติดเชื้อที่โพรงประสาท หรือฟันตายลงแล้ว ทันตแพทย์จะกรอเนื้อฟันด้านในบริเวณที่ผุออก ทำการรักษาตามกระบวนการ เมื่อแล้วเสร็จจึงตกแต่งรูปร่างโพรงฟันที่เสียหายให้ได้รูปร่างที่ดี แล้วจึงอุดคลองรากฟันและครอบฟัน
  • ฟันที่ผ่านการรักษาฟันจะไม่มีเส้นเลือดเส้นประสาทแล้ว จึงแห้งและเปราะบางต่อการแตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเคี้ยวอาหาร ดังนั้นการครอบฟันจะช่วยปกป้องฟันที่เหลืออยู่ให้ปลอดภัยและยังคงสามารถใช้งานฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษารากฟัน

บางคนไม่เข้าใจความหมาย การรักษารากฟัน (Root canal treatment) มาก่อน ก็ตีความไปก่อนแล้วว่าน่ากลัว ต้องยาก ต้องเจ็บแน่ๆ แล้วก็ต้องรักษาหลายครั้ง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วการรักษารากฟันไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวเลย 

การรักษารากฟัน

หมายถึง การรักษารากฟันซี่ที่เป็นปัญหาไม่ว่าจะเป็นจากการอักเสบติดเชื้อที่โพรงประสาท หรือคลองรากฟันถูกทำลาย เพื่อไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปก่อให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อได้อีก เมื่อรักษาแล้วเสร็จฟันซี่นั้นจะกลับมาใช้งานต่อไปได้อีกยาวนาน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษารากฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 2,940 บาท ลดสูงสุด 84%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการรักษารากฟัน

1. เคยได้ยินมาว่า การรักษารากฟันนั้นเจ็บปวดมาก จริงหรือไม่

ฟันทุกซี่มีรากฟัน มีเส้นประสาท และเส้นเลือดในการหล่อเลี้ยงฟัน เมื่อเกิดฟันผุจากภายนอก รากฟัน เส้นประสาท และเส้นเลือดจะเกิดการติดเชื้อ ไม่นานฟันซี่นั้นจะตายและถูกแทนที่ด้วยหนองและซากที่ติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเจ็บปวดและอาการบวมที่เกิดขึ้น 

หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาจะเกิดความเสียหายต่อกระดูกบริเวณรอบรากฟัน ส่งผลให้เกิดตุ่มฝีและหนองบริเวณฟัน หากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณใบหน้าและขากรรไกรตามมาซึ่งอาจส่งผลต่อชีวิตได้

2. จะไม่เป็นการดีกว่าหรือ หากจะถอนฟันทิ้งไปเลยแทนที่จะรักษารากฟัน

ไม่ควรถอนฟันทิ้งแต่ควรรักษารากฟันมากกว่า เนื่องจากคำถามนี้แสดงให้เห็นว่า เราอาจยังไม่ตระหนักถึงคุณค่าของฟันที่มี แต่อยากให้รู้ว่า ไม่มีฟันเทียมใดๆ ที่จะสามารถทดแทนฟันจริงได้แบบ 100% 

เมื่อฟันถูกถอนออกไป ฟันที่อยู่รอบข้างจะเลื่อนเข้าหาช่องว่างที่เกิดขึ้น และเป็นสาเหตุของโรคเหงือก ปัญหาการเคี้ยว ฯลฯ ตามมาได้

3. ทำไมจึงใช้เวลาในการรักษายาวนาน

ทันตแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่เพื่อใช้เครื่องมือเปิดเข้าไปเพื่อตัดเส้นประสาทฟันที่มีการติดเชื้อ ใส่น้ำยาฆ่าเชื้อ ยาฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดและตกแต่งรูปร่างโพรงฟันที่เสียหายก่อน 

จากนั้นจะปิดโพรงฟันไว้ชั่วคราวเพื่อกำจัดเชื้อโรคที่หลงเหลืออยู่ในคลองรากฟันออกให้หมด ขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลาในการรักษาหลายครั้ง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในที่สุดเมื่อคลองรากฟันสะอาด ปราศจากเชื้อโรคแล้ว ทันตแพทย์จึงใช้วัสดุคล้ายยางแท่งเล็กๆ อุดที่คลองรากฟัน และปิดทับอีกชั้นด้วยซีเมนต์เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ

4. หากไม่มีอาการเจ็บปวดทำไมจึงต้องรักษารากฟัน

ฟันซึ่ที่ต้องการรักษารากฟันอาจไม่เจ็บปวดเสมอไป แต่หากฟันเกิดการติดเชื้อและมีความเสียหายในบริเวณกระดูกที่รองรับฟันก็อาจเป็นสาเหตุของความเจ็บปวดได้ ดังนั้นการดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นวิธีการรักษาที่ดีกว่า

5. ทำไมฉันยังรู้สึกเจ็บ แม้ว่าทันตแพทย์จะบอกว่า ได้ตัดเส้นประสาทฟันซี่นั้นออกไปแล้ว 

แม้ว่าทันตแพทย์จะตัดเส้นประสาทในคลองรากฟันที่ติดเชื้อออกไปแล้ว แต่ยังเหลือเชื้อโรคบริเวณปลายรากฟันอยู่จึงทำให้มีอาการเจ็บปวดในวันแรกๆ นั่นเอง แต่หากทันตแพทย์รักษาคลองรากฟันจนหายแล้ว อาการเจ็บปวดก็จะหายไป

6. ทำไมการรักษารากฟันจึงใช้เวลามากและต้องนัดพบแพทย์บ่อยๆ 

การรักษารากฟันต้องใช้เวลาในการรักษาค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องรอให้การติดเชื้อของฟันหายจึงสามารถบูรณะฟันซี่นั้นกลับมาได้ 

บางครั้งทันตแพทย์อาจสามารถรักษารากฟันเสร็จได้ในครั้งเดียว หากการติดเชื้อยังไม่ลุกลามเข้าสู่กระดูกรอบรากฟันและสามารถกำจัดเชื้อโรคที่อยู่ในคลองรากฟันได้หมด

7. ฟันจะตายในระหว่างการรักษารากฟันหรือไม่

เนื่องจากไม่มีเส้นเลือดเส้นประสาทแล้ว จึงแห้งและเปราะบางต่อการแตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเคี้ยวอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

8. หลังจากรักษารากฟัน หากรู้สึกดีขึ้นแล้วทำไมจึงยังต้องใช้ที่ครอบฟันอีก

เนื่องจากทันตแพทย์ได้ขูด กรอเนื้อฟันด้านในซึ่งมีหน้าที่หล่อเลี้ยงฟันออกไประหว่างการรักษารากฟัน นั่นหมายความว่า การหล่อเลี้ยงเนื้อฟันจะถูกกำจัดออกอย่างสิ้นเชิงจึงทำให้ฟันอยู่ในสภาพพรุน เปราะบางต่อการแตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเคี้ยวอาหาร

ทั้งนี้การครอบฟันจะช่วยปกป้องฟันที่เหลืออยู่ให้ปลอดภัยและยังคงสามารถใช้งานฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ส่วนคนที่ถอนฟันแล้ว รักษาด้วยวิธีใส่รากฟันเทียมก็ต้องครอบฟันด้วยเช่นกัน โดยการครอบฟันจะใส่ได้หลังจากรักษารากฟันไปแล้ว 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับกระดูกฟันของแต่ละบุคคล

9. หากไม่ต้องการครอบฟันแบบโลหะ มีทางเลือกอื่นหรือไม่

ครอบฟันทำมาจากวัสดุหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นโลหะ เซรามิก หรือเซอร์โคเนีย (zirconia) ซึ่งทันตแพทย์จะทำการประเมินก่อนทำการครอบฟันว่า วัสดุไหนมีความเหมาะสมกับสภาพฟันมากที่สุด

10. ทำไมลูกของฉันจึงต้องรักษารากฟันที่เป็นฟันน้ำนมด้วย ทั้งๆ ที่อีกไม่นานฟันแท้ก็จะขึ้นมาแทนอยู่ดี

เนื่องจากฟันน้ำนมมีหน้าที่เป็นตัวจัดช่องว่างของฟันตามธรรมชาติเพื่อรอเวลาที่ฟันแท้จะงอกขึ้น หากถอนฟันน้ำนมก่อนเวลาอันควรจะทำให้ช่องว่างของฟันบริเวณโดยรอบลดลง นำไปสู่การจัดเรียงฟันที่ผิดรูป ท้ายที่สุดจะต้องแก้ไขโดยการจัดฟัน 

ดังนั้นหากทันตแพทย์ประเมินแล้วว่า ต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าที่ฟันแท้จะขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนม ทันตแพทย์อาจแนะนำให้รักษารากฟันน้ำนมได้ 

อย่างไรก็ดี ถ้ากลัวว่าจะเจ็บจากการรักษารากฟัน กลัวต้องไปพบทันตแพทย์บ่อยๆ ก็ต้องรักษาความสะอาดของช่องปาก เหงือก และฟันให้ดีตั้งแต่วันนี้จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษารากฟัน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รากฟันเทียม คืออะไร? ข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไร?, (https://hdmall.co.th/c/dental-implant).
รักษารากฟัน (Root Canal) คือออะไร? ใครควรทำ?, (https://hdmall.co.th/c/root-canal).
Weishi Yan, Contribution of Root Canal Treatment to the Fracture Resistance of Dentin (https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0099239918306812), 26 October 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี

อาหารที่สามารส่งเสริมสุขภาพของช่องปากได้อย่างน่ามหัศจรรย์

อ่านเพิ่ม
รวมราคารากฟันเทียม ทั้งโรงพยาบาลและคลินิก
รวมราคารากฟันเทียม ทั้งโรงพยาบาลและคลินิก

รากฟันเทียมมีราคาสูงแต่เป็นสิ่งจำเป็น หากรู้สิทธิ์ประกันสังคมก็ช่วยแบ่งเบาได้ส่วนหนึ่ง

อ่านเพิ่ม