กลาก เกลื้อน เหมือนกันไหม?

อธิบายรายละเอียด กลาก เกลื้อน โรคผิวหนังที่หลายคนมักสับสน รวมวิธีรักษาและตัวยาที่บรรเทาอาการได้
เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กลาก เกลื้อน เหมือนกันไหม?

กลากกับเกลื้อนนั้นไม่ใช่โรคเดียวกัน สามารถแยกแยะความแตกต่างได้จากลักษณะของผื่นที่พบ และโรคกลากมักจะพบอาการคันได้มากกว่า แต่การรักษาสามารถรักษาด้วยตัวยาชนิดเดียวกัน คือยาต้านเชื้อรากลุ่มเอโซล (Azole) รายละเอียดของกลากกับเกลื้อน เ่ช่น เชื้อก่อโรค ลักษณะผิวหนังบริเวณที่เป็นโรค วิธีรักษา มีดังนี้

กลาก (Dermatophytosis)

กลาก เกิดจากเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโทไฟต์ (Dermatophyte) สามารถติดต่อจากคนสู่คน หรือจากสัตว์สู่คนก็ได้ ลักษณะกลากมักพบเป็นวงกลมหรือวงแหวน เป็นหนึ่งวงหรือหลายวงซ้อนกันก็ได้ ตรงกลางมักเป็นสีอ่อนหรือสีขาว ขอบด้านนอกจะแดงและมีขุย ผู้ป่วยมักมีอาการคัน มากหรือน้อยแล้วแต่คน เมื่อไปพบแพทย์อาจ ถูกขูดผิวหนังบริเวณที่เป็นเพื่อนำไปหาเชื้อ จะพบการติดเชื้อราที่มีสายใยเป็นข้อปล้องในบริเวณที่เป็น สามารถรักษา ด้วยการรับประทานหรือทายาฆ่าเชื้อราจำพวกเอโซล (Azole) เช่น คีโทโคนาโซล (Ketoconazole)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคกลากสามารถพบได้หลายบริเวณทั่วร่างกาย อาจหายเองได้ แต่ใช้เวลานาน มักพบในพื้นที่เขตร้อนชื้น เนื่องจากเชื้อรามักเจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส และประเทศในเขตร้อนชื้อมักมีประชากรอยู่อาศัยรวม กันหนาแน่น สามารถสัมผัสติดโรคต่อกันได้ง่าย

เมื่อพบผิวหนังเป็นโรคกลาก จะมีชื่อเรียกตามเฉพาะที่ขึ้นนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น

  • Tinea capitis เป็นกลากบริเวณหนังศรีษะ
  • Tinea faciei เป็นกลากบริเวณใบหน้า
  • Tinea corporis เป็นกลากบริเวณลำตัว
  • Tinea pedis เป็นกลากบริเวณเท้า

ตำแหน่งที่สามารถพบกลากได้

ตำแหน่งของร่างกายที่สามารถพบกลาก และลักษณะพื้นผิวที่ติดเชื้อกลาก มีดังนี้

  1. ศีรษะ มักพบในเด็กวัยเรียนมากที่สุด
  2. ตามลำตัว แขน ขา มักพบเป็นวงแหวนที่เห็นได้ชัด
  3. ขาหนีบ หรือเรียกอีกอย่างว่า สังคัง
  4. มือ เท้า มักเป็นข้างใดช้างหนึ่ง เกิดจากแช่เท้าในน้ำที่ไม่สะอาดเป็นเวลานาน หรือถุงเท้าที่สกปรก ไม่ระบายอากาศ
  5. ใบหน้าสามารถพบโรคกลากได้เช่นกัน แต่มักพบโรคเกลื้อนมากกว่า
  6. เล็บ จะพบผิวเล็บไม่เรียบ เปราะหักง่าย และเปลี่ยนสี

เกลื้อน (Pityriasis หรือ Tinea versicolor)

เกลื้อน เกิดจากเชื้อรา Malassezia furfur มักพบเป็นผื่นสีขาวหรือสีแดง สามารถลามเป็นปื้นขนาดใหญ่ได้และมีรูปร่างที่ไม่แน่นอน แต่ขอบของผื่นมักจะมองเห็นได้ชัดเจน และอาจพบขุยแบบละเอียดอยู่ด้วย

เกลื้อนมักขึ้นในบริเวณร่างกายส่วนบน ได้แก่ ใบหน้า ลำคอ หลัง หน้าอก และต้นแขน ส่วนบริเวณร่างกายส่วนล่าง เช่น ขาหรือเท้า จะพบได้น้อยกว่า ผู้ป่วยที่เป็นเกลื้อนอาจไม่พบอาการใดๆ เลย หรือคันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อนำเซลล์ผิวหนังบริเวณที่เป็นผื่นไปตรวจจะพบเชื้อราแบบกลมและแบบท่อนผสมกัน การรักษาสามารถรับประทานหรือทาก็ได้ ใช้ยาจำพวกเอโซล (Azole) เช่นเดียวกันกับการรักษาโรคกลาก โรคเกลื้อนเป็นโรคที่มีความร้ายแรงต่ำ แต่เมื่อหายแล้วมักพบเป็นปื้นสีขาว ก่อให้เกิดความไม่สวยงามได้ และมักเป็นโรคเรื้อรังเนื่องจากหากหายแล้วสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

เมื่อเป็นกลากหรือเกลื้อนซ้ำ สามารถไปซื้อยาจากร้านขายยามาทาเพื่อให้หายเองได้โดยไม่ต้องพบแพทย์ แต่หากมีอาการมาก หรือมีโรคแทรกซ้อนร่วม เช่นภูมิคุ้มกันต่ำ มีอาการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมจนเป็นหนอง จำเป็นต้องพบแพทย์ เพื่อรับยาแบบรับประทาน

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคกลากหรือโรคเกลื้อน

เมื่อเป็นโรคผิวหนังชนิดกลากหรือเกลือน ควรดูแลตนเองดังนี้

  1. ชำระล้างร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ
  2. เช็ดร่างกายโดยเฉพาะบริเวณซอกข้อพับต่างๆ ให้แห้งและไม่เปียกชื้น
  3. หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป และเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายเหงื่อได้ดี
  4. เปลี่ยนเสื้อผ้าและถุงเท้าให้สะอาดเป็นประจำ
  5. ใส่รองเท้าที่เปิดนิ้วเท้าเพื่อช่วยระบายเหงื่อ
  6. เลือกใช้สบู่หรือแชมพูที่มีส่วนผสมของซีลีเนียมซัลเฟต (Selenium sulfate)

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ely, JW., Rosenfeld, S., and Stone, MS. Diagnosis and Management of Tinea Infections. Am Fam Physician. 2014: 15;90(10): 702-711.
Dawson AL, Dellavalle RP, Elston DM. Infectious skin diseases: a review and needs assessment. Dermatol Clin. 2012; 30(1):141- 51.
Grumbt M, Monod M, Staib P. Genetic advances in dermatophytes. FEMS Microbiol Lett. 2011; 320(2):79-86

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)