หยุดคุมแล้ว... เมื่อไหร่ไข่จะตก (และตั้งครรภ์)

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
หยุดคุมแล้ว... เมื่อไหร่ไข่จะตก (และตั้งครรภ์)

หลาย ๆ คนอาจมีความกังวลเมื่อต้องเลือกวิธีคุมกำเนิด หรือเมื่อต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ว่าจะทำให้มีบุตรยากหรือไม่ เมื่อถึงเวลาที่พร้อมจะมีบุตรและหยุดใช้วิธีคุมกำเนิดเหล่านั้นแล้ว

แนะนำให้ลองพิจารณาข้อมูลในตารางนะคะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


รายการ

ยาเม็ดคุมกำเนิด

แผ่นแปะคุมกำเนิด

ยาฉีดทุก 1 เดือน

ยาฉีดทุก 3 เดือน

ยาฝังคุมกำเนิด

ห่วงอนามัย ฮอร์โมน

ห่วงอนามัย ทองแดง

ถุงยางอนามัย

การกลับมามีไข่ตกหลังหยุดใช้

เร็ว

เร็ว

เร็ว

นาน

เร็ว

เร็ว

-

(ไม่มีผลยับยั้งไข่ตก)

อัตราการตั้งครรภ์ภายใน 1 ปี (%)

80 – 95

80 – 90

73 – 83

70 – 78

77 – 86

79 – 96

71 – 91

91

จะเห็นได้ว่า วิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวเกือบทั้งหมด เมื่อหยุดใช้แล้วก็จะกลับมามีไข่ตกและพร้อมตั้งครรภ์ได้แทบจะทันที ยกเว้นในกรณีที่ฉีดยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวเท่านั้น ที่อาจใช้เวลานานหลายเดือน

โดยผู้ที่ฉีดยาคุมชนิดที่ฉีดทุก 3 เดือน หรือ ตัวยา Medroxyprogesterone acetate (DMPA) จะใช้เวลาเฉลี่ย 10 เดือนนับจากวันที่ฉีดยาคุมเข็มสุดท้าย จึงจะกลับมามีไข่ตกอีกครั้ง

ส่วนผู้ที่ฉีดยาคุมชนิดที่ฉีดทุก 2 เดือน หรือตัวยา Norethisterone enanthate (NET-EN) ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีใช้ในประเทศไทยนะคะ จะใช้เวลาเฉลี่ย 6 เดือนนับจากวันที่ฉีดยาคุมเข็มสุดท้าย ไข่จึงจะตกตามปกติ

อย่างไรก็ตาม แต่ละคนอาจมีไข่ตกได้เร็วหรือช้าต่างกันค่ะ 

ดังนั้นหากยังไม่พร้อมจะมีบุตร เมื่อไม่ได้ฉีดยาคุมต่อตามนัด ก็ควรคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วยเสมอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 มีความเข้าใจผิด ๆ ที่พบได้บ่อย และทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ เช่น

  • เข้าใจผิดว่าหากรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดติดต่อกันมานานแล้วจะไม่ตั้งครรภ์ง่าย ๆ จึงมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันเมื่อหยุดใช้ยาคุม หรือเมื่อลืมรับประทานติดต่อกันหลายวัน ทั้งที่ยังไม่พร้อมจะมีบุตร
  • เข้าใจผิดว่าหลังถอดยาฝังคุมกำเนิดแล้วจะไม่ตั้งครรภ์ง่าย ๆ เพราะเห็นว่าในช่วงที่ฝังยาคุมอยู่มักจะไม่มีประจำเดือนเหมือนกับผู้ที่ฉีดยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว จึงคิดว่าจะต้องใช้เวลานานเช่นเดียวกันกว่าที่จะกลับมามีไข่ตกได้อีกครั้ง
  • เข้าใจผิดว่าเมื่อหยุดฉีดยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมแล้วจะไม่ตั้งครรภ์ง่าย ๆ เพราะเห็นว่าเป็นการคุมกำเนิดด้วยวิธีฉีดเหมือนกันกับยาฉีดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว ที่มักจะใช้เวลานานหลายเดือนกว่าที่จะมีไข่ตกตามปกติ

แต่ความจริงก็คือ ไม่ว่าจะมีการรับประทานยาติดต่อกันมานานแค่ไหน ก็ไม่มียาสะสมตกค้างอยู่ในร่างกายค่ะ เมื่อหยุดใช้ จึงไม่มียาไปยับยั้งการตกไข่ไว้เหมือนเดิมแล้วนะคะ

แต่ความจริงก็คือ การฝังยาคุมกำเนิด จะเป็นการฝัง “หลอดบรรจุยา” ไว้ใต้ผิวหนังตื้น ๆ ซึ่งฮอร์โมนในหลอดบรรจุจะค่อย ๆ ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง เมื่อถอดยาฝังคุมกำเนิดออก ก็คือการนำหลอดบรรจุยาออกมา จึงไม่มีฮอร์โมนไปยับยั้งไข่ตกได้อีกนั่นเอง

ในขณะที่การฉีดยาคุมกำเนิด ตัวยาที่ถูกฉีดเข้าไปในกล้ามเนื้อ (หรือใต้ผิวหนัง ถ้าเป็นการฉีด DMPA วิธีใหม่) จะค่อย ๆ ละลายและดูดซึมอย่างช้า ๆ และเนื่องจากไม่สามารถนำยาเหล่านั้นออกมาจากร่างกายได้เหมือนกับการถอดหลอดยาฝังคุมกำเนิด จึงต้องรอให้ปริมาณยาลดน้อยลงจนหมดฤทธิ์ไปเองค่ะ

แต่ความจริงก็คือ แม้จะมีการฉีดยาเข้าไปในกล้ามเนื้อ และให้ยาค่อย ๆ ละลายและดูดซึมเข้ากระแสเลือดเหมือนกัน แต่ปริมาณยาและส่วนประกอบของตัวยาสำคัญก็แตกต่างกันนะคะ

โดยปกติแล้ว ผู้ใช้ยาคุมชนิดที่ฉีดทุก 1 เดือน จะไม่เกิดภาวะขาดประจำเดือนค่ะ แต่จะมีประจำเดือนมาในสัปดาห์ที่ 4 ของการฉีด เช่นเดียวกับการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดสูตรปกตินั่นเอง

และเมื่อหยุดฉีดยาคุมต่อตามนัด ก็จะมีไข่ตกและพร้อมตั้งครรภ์ได้เร็วค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้น สำหรับผู้ที่ยังไม่พร้อมจะมีบุตร แต่ไม่ได้ใช้ยาคุมกำเนิดต่อตามกำหนด มีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ได้มากนะคะ เพราะอาจมีไข่ตกมาเมื่อไหร่ก็ได้ จึงควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ค่ะ ต่อให้ยาคุมที่เคยใช้จะเป็นยาฉีดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวก็ตาม เพราะแม้ว่าโดยเฉลี่ยจะใช้เวลาหลายเดือน แต่บางคนอาจกลับมามีไข่ตกได้เร็วกว่านั้นมาก

ส่วนผู้ที่วางแผนจะมีบุตรในเวลาอันใกล้ เช่น ไม่เกิน 1 ปี ควรหลีกเลี่ยงการคุมกำเนิดด้วยวิธีฉีดยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวนะคะ เพราะอาจใช้เวลานานกว่าที่จะกลับมามีไข่ตกและตั้งครรภ์ได้ดังใจค่ะ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Return to fertility following discontinuation of oral contraceptives. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19268187)
When Fertility Will Return After Stopping Birth Control. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/when-does-fertility-return-after-stopping-birth-control-4056322)
Getting pregnant right after stopping the pill: All you need to know. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320097)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยาฉีดคุมกำเนิด (Contraceptive Injections)
ยาฉีดคุมกำเนิด (Contraceptive Injections)

ยาฉีดคุมกำเนิด หนึ่งในวิธีคุ้มกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถป้องกันได้นาน 1-3 เดือน ขึ้นกับชนิดของยา

อ่านเพิ่ม