เติมพลังให้ชีวิตด้วย 8 วิธีช่วยให้หายเศร้า

เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เติมพลังให้ชีวิตด้วย 8 วิธีช่วยให้หายเศร้า

ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของชีวิต เราทุกคนต่างก็ต้องพบเจอกับความเศร้า แม้ว่ามันจะเป็นประสบการณ์ที่เราไม่ชอบหรือไม่อยากให้เกิดขึ้นก็ตาม แต่เราก็ไม่สามารถหนีความเศร้าได้พ้น อย่างไรก็ตาม ความเศร้าอาจช่วยให้เรากลายเป็นคนที่มีเหตุผลมากขึ้น และหาจุดสมดุลของชีวิตได้ แต่หากเราปล่อยให้ความเศร้ากัดกินในใจนานเกินไป มันก็สามารถทำเกิดปัญหา หากตอนนี้คุณกำลังจมอยู่กับความเศร้า วันนี้เราจะพาคุณไปดูหลากวิธีที่จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1. หยุดกังวลสิ่งที่รบกวนคุณ

สิ่งแรกที่คุณควรทำเพื่อให้หลุดพ้นจากการเป็นคนเศร้าคือ การเข้าใจว่าการมัวแต่จมอยู่กับความคิดเดิมๆ ตลอดเวลาเป็นเรื่องที่อันตรายและไม่มีประโยชน์ การหมกมุ่นอยู่กับความเศร้าไม่เพียงแต่ทำให้คุณเศร้ามากขึ้นเท่านั้น แต่มันยังทำให้คุณท้อแท้ ทั้งนี้คุณสามารถหยุดวงจรดังกล่าวโดยเปลี่ยนเรื่องคิด คุณอาจเข้าร่วมกิจกรรมสนุกๆ และทำให้ตัวเองยุ่งเข้าไว้ แม้ว่ามันอาจเป็นเรื่องยากสักเล็กน้อยในช่วงเริ่มต้น แต่มันจะค่อยๆ ง่ายขึ้นสำหรับคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. ออกกำลังกาย

ในขณะที่คุณออกกำลังกาย สมองจะหลั่งสารที่ช่วยทำให้เรามีความสุขมากขึ้น ดังนั้นถ้าคุณอยากหลุดพ้นจากภาวะซึมเศร้า การออกกำลังกายสามารถช่วยคุณได้ค่ะ ซึ่งมีหลากวิธีออกกำลังกายให้คุณได้เลือกสรร ให้คุณลองหาชนิดที่เหมาะกับคุณมากที่สุด เมื่อคุณเริ่มออกกำลังกาย คุณจะรู้สึกดีขึ้น เพราะคุณจะได้เลิกจมอยู่กับความคิดที่ทำให้เศร้าได้ชั่วขณะหนึ่ง แถมยังทำให้ร่างกายแข็งแรง

3. นอนให้เพียงพอ

การมีใจที่ผ่อนคลายจะช่วยให้คุณเลิกเป็นคนที่จมอยู่กับความเศร้าได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้คุณควรจำไว้ว่าเราจำเป็นต้องนอนให้ได้อย่างน้อย 6-9 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ร่างกายและจิตใจทำงานได้ตามปกติ คุณจะพบว่าตัวเองรู้สึกดีขึ้นหลังจากได้นอนเต็มอิ่มหลายชั่วโมง หากคุณมีปัญหากับการนอนหลับ การดื่มชาที่มีสรรพคุณช่วยให้ผ่อนคลาย หรือการดื่มนมร้อนๆ ที่ใส่น้ำผึ้งสักแก้วก็อาจช่วยได้ค่ะ

4. พาตัวเองไปอยู่ใกล้กับคนที่มีพลังบวก

คนที่อยู่รอบตัวของเรามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตมากทีเดียว ซึ่งพวกเขาสามารถมีผลต่อความคิดและความรู้สึก หากคนใกล้ตัวของคุณเป็นคนที่ชอบมองโลกในแง่ร้าย คุณก็ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมตัวเองถึงกลายเป็นคนเช่นนี้ด้วย การที่คุณจะเป็นคนใหม่ที่ปราศจากความเศร้านั้น คุณจำเป็นต้องพาตัวเองไปอยู่ใกล้กับคนที่มีความสุขหรือปล่อยแต่พลังบวกออกมา เพื่อที่คุณจะได้เห็นด้านดีๆ ของชีวิต เพียงแต่คุณต้องยอมเปิดใจรับเพื่อนใหม่เหล่านี้ก็เท่านั้นเอง

5. เตรียมรับมือกับความเศร้า

ความสุขและความทุกข์เป็นของคู่กัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรเตรียมตัวให้พร้อมกับความเศร้าหรือช่วงเวลาแย่ๆ ซึ่งคุณสามารถทำได้โดยสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับคนที่มีพลังบวก เก็บรักษาความทรงจำที่ดี และมองเห็นด้านดีของความเศร้า

6. เปลี่ยนกิจวัตร

การทำสิ่งเดิมทุกวัน หรือการใช้ชีวิตร่วมกับคนเดิมๆ สามารถทำให้เราเศร้าได้ ทั้งนี้การพาตัวเองออกจากความจำเจ เหล่านี้ และลองทำสิ่งใหม่ๆ เมื่อคุณสามารถทำได้ หรือลาหยุดจากงานเพื่อพักผ่อนสักวันก็อาจทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณไม่จำเป็นต้องถึงขั้นเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพียงแค่ได้หลุดจากอะไรเดิมๆ สักเล็กน้อยก็พอจะช่วยเพิ่มความตื่นเต้นและทำให้คุณรู้สึกสดชื่นมากขึ้น

7. เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม

หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยต่อสู้กับความเศร้าคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม หากคุณเศร้ามาก การอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมๆ ก็อาจตอกย้ำให้คุณคิดถึงเรื่องราวที่ไม่อยากลืม อย่างไรก็ตาม คุณอาจไม่ต้องถึงขั้นย้ายบ้านหรือเมืองที่อาศัย การทำความสะอาดห้อง จัดบ้าน หรือเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ใหม่ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว นอกจากนี้คุณอาจเพิ่มไฟ หรือตกแต่งห้องใหม่ การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ เหล่านี้จะช่วยทำให้คุณอารมณ์ดีขึ้น

8. ทำบางสิ่งที่ช่วยให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น

การที่คุณจะกลายเป็นคนที่ไม่จมอยู่กับความเศร้าได้นั้น คุณจำเป็นต้องหาเหตุผลที่ทำให้คุณเศร้าค่ะ เมื่อคุณเจอแล้ว ให้คุณคิดกลยุทธ์ที่ใช้สำหรับรับมือกับมัน การมีเป้าหมายในใจจะช่วยให้คุณไม่วอกแวก และมันเป็นไปได้ว่าเมื่อเวลาผ่านไป คุณจะสามารถแก้ไขปัญหาได้

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่หากคุณลองทำตามวิธีที่เราแนะนำข้างต้นแล้วแต่ก็ยังไม่ได้ผล และความเศร้าที่เกาะกินในใจของคุณนั้นเริ่มส่งผลต่อชีวิตของคุณเป็นอย่างมาก การไปพบจิตแพทย์ก็อาจช่วยคุณได้ค่ะ

ที่มา: https://steptohealth.com/8-ste...


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
8 Ways to Regain Love in a Relationship. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/healthy-living/8-ways-regain-love-relationship/)
How to Recharge Your Mind and Body When You Feel Drained. Healthline. (https://www.healthline.com/health/how-to-recharge)
Weir K. (2016). The science of naps. (https://www.apa.org/monitor/2016/07-08/naps.aspx)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป