โรคดึงผม (Trichotillomania)

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคดึงผม (Trichotillomania)

Daria มักจะหาข้ออ้างมาตอบคำถามเกี่ยวกับการที่เธอมีหัวล้านเป็นกระจุกๆ เสมอ เธอรู้ว่าหลายๆ คนนั้นสงสัยเรื่องที่เธอเล่าแต่เธอไม่กล้าบอกความจริงว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะเธอเริ่มดึงผมของเธอตั้งแต่อายุ 12

เธอไม่รู้ว่าทำไมตัวเองถึงดึงผม และก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมถึงหยุดไม่ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคดึงผมคืออะไร?

โรคดึงผม (Trichotillomania) นั้นเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกอย่างรุนแรงที่จะต้องดึงผมของตัวเอง โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ

ผู้ป่วยโรคนี้จะมีการดึงผมทั้งหมดออกจากบริเวณต่างๆ เช่นหนังศีรษะ ขนคิ้ว ขนตา หรือบริเวณหัวหน่าว

บางคนที่เป็นโรคนี้มีการดึงผมออกมามากจนทำให้บริเวณดังกล่าวนั้นล้าน บางคนอาจจะดึงทีละเส้น พวกเขาอาจมีการนำผมหรือขนที่ดึงออกมามาดู และประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคนี้มีการนำผมเข้าปากหลังจากที่ดึง

ผู้ป่วยบางคนนั้นรู้ตัวเวลาที่ตัวเองดึงผม ในขณะที่บางคนก็ไม่รู้ตัวและไม่ได้สังเกตว่าตัวเองกำลังทำอะไร

สำหรับผู้ป่วยโรคนี้แล้วนั้น การต่อต้านความอยากที่จะดึงผมนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเหมือนกับการพยายามหยุดเกาบริเวณที่คัน

บางคนกล่าวว่าความอยากดึงผมนั้นเริ่มจากรู้สึกคันที่หนังศีรษะหรือผิวหนัง และการดึงผมหรือขนบริเวณนั้นออกมานั้นดูเหมือนว่าเป็นวิธีเดียวที่ทำให้บรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ หลายคนอาจจะรู้สึกพึงพอใจในระยะสั้นๆ หลังจากที่ดึงผมเสร็จ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้ป่วยโรคนี้อาจรู้สึกอับอาย หงุดหงิดหรือเศร้าเกี่ยวกับอาการที่ตัวเองเป็น และอาจจะกังวลถึงสิ่งที่คนอื่นพูดเกี่ยวกับตัวเอง รู้สึกแย่เวลาที่คนอื่นไม่เข้าใจว่าพวกเขาไม่ได้ทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ

ผู้ป่วยมักจะพยายามซ่อนพฤติกรรมเหล่านี้ออกจากคนรอบข้างแม้แต่สมาชิกในครอบครัว ซึ่งอาจจะทำให้ยากต่อการขอความช่วยเหลือ

การเป็นโรคนี้สามารถส่งผลต่อความรู้สึกที่พวกเขามีต่อตัวเอง บางคนรู้ว่าการดึงผมนั้นส่งผลต่อภาพลักษณ์ของตัวเอง และอาจจะรู้สึกว่ามีความมั่นใจลดลงในการพบเพื่อนใหม่หรือเวลาออกเดท บางคนอาจรู้สึกว่าไม่มีอำนาจในการควบคุมความอยากดึงผมหรือโทษตัวเองที่ไม่สามารถหยุดได้

โรคนี้เกิดจากอะไร?

ไม่มีใครรู้ว่าทำไมผู้ป่วยจึงเกิดโรคนี้ ความเครียดและพันธุกรรมนั้นอาจจะเป็นส่วนหนึ่ง โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคในกลุ่มย้ำคิดย้ำทำนั้นจะมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญคิดว่าความอยากดึงผมนั้นเกิดจากสารสื่อประสาทในสมองที่ทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดความอยากดึงผมที่ต้านทานได้ยาก

การดึงผมนั้นจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกพึงพอใจในระยะสั้นๆ ยิ่งพวกเขาทำและรู้สึกดี พวกเขาก็จะยิ่งทำต่อไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นนิสัย และเมื่อเป็นไปนานเรื่อยๆ ก็จะยิ่งต่อต้านความรู้สึกดังกล่าวได้ยากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เราจะก้าวข้ามความอยากนี้ได้อย่างไร?

ผู้ป่วยโรคนี้มักจะต้องการการรักษาด้วยยาและการปรับพฤติกรรมเพื่อให้สามารถหยุดอาการดังกล่าว หากได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม ส่วนมากผู้ป่วยสามารถหยุดอาการดังกล่าวได้ และเมื่อหยุดดึงแล้ว ผมก็จะขึ้นกลับมาตามปกติ

การรักษานั้นอาจจะรวมถึงการปรับพฤติกรรม การใช้ยา หรือเป็นการรักษาร่วมกันระหว่างการบำบัดและการใช้ยา

ในระหว่างที่เข้ารับการบำบัด ผู้ป่วยจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความอยาก รู้ว่าความอยากเหล่านี้สามารถหายไปได้เองหากไม่สนใจ และหากพ่ายแพ้ต่อความอยากนั้นก็จะยิ่งทำให้เกิดอาการดังกล่าวบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้น พวกเขาจะเรียนรู้วิธีการระบุสถานการณ์ สถานที่ หรือเวลาที่พวกเขามักจะมีอาการอยากดึงผม

นักบำบัดจะสอนให้ทำการวางแผนหาพฤติกรรมอย่างอื่นมาทดแทนเวลาที่เกิดอาการอยากดึงผม เช่นการบีบลูกบอลลดความเครียด หรือการวาดรูป ก่อนที่จะแนะนำการใช้พฤติกรรมใหม่เหล่านี้ในการต้านความอยากดึงผม หากได้รับการฝึกฝน ผู้ป่วยก็จะมีอาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ และความอยากนั้นก็จะลดลงและง่ายขึ้นที่จะต่อต้าน

เนื่องจากความอยากที่จะดึงและนิสัยที่สะสมมานั้นรุนแรง ทำให้การพยายามต่อต้านนั้นอาจจะยากในช่วงแรก ผู้ป่วยมักรู้สึกกังวลหรือเครียดเมื่อเริ่มพยายามต่อต้านอาการอยากดึงผม นักบำบัดจะคอยให้คำแนะนำในส่วนที่ยากเหล่านี้และคอยให้การสนับสนุนและคำแนะนำในการฝึก

บางครั้งการใช้ยานั้นก็จะช่วยให้สมองจัดการกับความอยากได้ดีขึ้น ทำให้ต่อต้านได้ง่ายขึ้น นักบำบัดอาจจะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้การจัดการกับความเครียด การจัดการกับความต้องการความสมบูรณ์แบบ หรือแก้ไขอาการย้ำคิดย้ำทำอื่นๆ เช่นการกัดเล็บ หากคุณกำลังกังวลเกี่ยวกับโรคดึงผมของคุณ ปรึกษาผู้ปกครอง ครู หรือคนที่คุณไว้ใจเพื่อขอรับความช่วยเหลือ


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Trichotillomania: Symptoms, causes, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/326833)
Trichotillomania (hair pulling disorder) - NHS (https://www.nhs.uk/conditions/trichotillomania/)
Trichotillomania (hair-pulling disorder) - Symptoms and causes - Mayo Clinic (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/trichotillomania/symptoms-causes/syc-20355188)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป