ปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 13 นาที
ปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การมีอาการเจ็บหน้าอกในขณะที่ให้นมลูก

มีหลายเหตุผลที่ทำให้คุณมีอาการเจ็บหน้าอกในขณะที่ให้นมลูก ซึ่ง Bridget Halnan หัวหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการให้นมทารก ณ Cambridgeshire and Fellow of the Institute of Health ให้ความเห็นว่าโดยทั่วไปแล้วเราสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วหากคุณได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม

ทั้งนี้คุณไม่ควรผัดผ่อนการช่วยเหลือนับตั้งแต่ที่ตัวเองมีอาการในช่วงแรกๆ การคิดว่าอาการจะดีขึ้นโดยไม่หาทางแก้ไขอาจทำให้อาการแย่ลง สำหรับวิธีรับมือกับตัวการที่ทำให้ผู้หญิงมีอาการเจ็บหน้าอกในขณะที่ให้นมลูกมีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะเต้านมคัด

ภาวะเต้านมคัดเกิดขึ้นเมื่อเต้านมของคุณเต็มไปด้วยน้ำนม คุณอาจรู้สึกว่าเต้านมแข็ง ตึง และเจ็บ อย่างไรก็ดี Bridget Halnan ให้ความเห็นว่าในช่วงแรกนั้นภาวะเต้านมคัดสามารถเกิดจากการที่ร่างกายผลิตน้ำนมและทารกแรกเกิดไม่ได้กินนมมากอย่างที่ควรจะเป็น

ทารกแรกเกิดจำเป็นต้องกินนมทีละน้อยและบ่อยครั้ง ซึ่งมันสามารถใช้เวลา 3-4 วันที่นมจากเต้าจะสัมพันธ์กับความต้องการของทารก หากใบหน้าของทารกแนบกับหน้าอกไม่ถูกวิธี มันก็อาจทำให้ยากต่อการกินนมเมื่อเต้านมของคุณคัดตึง นอกจากนี้หัวนมของคุณก็จะยืดออกเล็กน้อย ยุบตัว และคุณอาจรู้สึกเจ็บ

อย่างไรก็ตาม ให้คุณปรึกษาสูติแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมลูกเพื่อขอความช่วยเหลือในการทำให้ทารกช่วยระบายน้ำนมออกจากเต้านมได้อย่างมีประสิทธิผล ภาวะเต้านมคัดสามารถเกิดขึ้นแม้ว่าคุณเรียนรู้หรือเข้าใจเกี่ยวกับท่าให้นมลูกแล้วก็ตาม ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่สักพัก

โดยปกติแล้ว ทารกจะรู้ว่าเมื่อไรที่เขาต้องการกินนม ระยะเวลาให้นม และเต้านมที่เขาต้องดูดนม สำหรับสัญญาณเบื้องต้นที่บอกว่าทารกพร้อมสำหรับการกินนมประกอบไปด้วย

  • การเคลื่อนไหวดวงตาอย่างรวดเร็ว
  • นำนิ้วใส่เข้าไปในปาก
  • ตะแคงข้างโดยอ้าปากค้างราวกับมองหาเต้านม
  • กระสับกระส่าย

การร้องไห้เป็นสัญญาณท้ายๆ ที่บอกว่าทารกต้องการกินนม ทั้งนี้การให้ทารกกินนมก่อนที่เขาจะร้องไห้นั้นมักทำให้ทารกทำตัวสงบเสงี่ยมในขณะที่เขากินนม การให้ทารกแนบชิดกับลำตัวเพื่อให้คุณสามารถมองเขาและการเรียนรู้เกี่ยวกับสัญญาณของการหิวนมช่วงแรกๆ ก็จะช่วยได้

วิธีบรรเทาอาการเต้านมคัด

นอกจากการให้ทารกกินนมจะช่วยบรรเทาความรู้สึกเจ็บปวดได้แล้ว คุณสามารถใช้มือบีบเต้านมเพื่อระบายน้ำนม แต่ไม่ต้องทำมากเกินไป เพราะมันจะยิ่งกระตุ้นให้น้ำนมไหลออกมามากขึ้น การได้ระบายน้ำนมออกเพียงเล็กน้อยก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวด อย่างไรก็ตาม คุณอาจให้สูติแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมลูกทำให้คุณดูเป็นตัวอย่าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การใช้วิธีดังต่อไปนี้อาจช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้เช่นกัน

  • สวมบราสำหรับให้นมลูกที่กระชับและไม่รัดหน้าอกจนเกินไป
  • หากมีน้ำนมไหลซึมออกมา ให้คุณใช้ผ้าสักหลาดอุ่นๆ  ประคบที่เต้านมก่อนที่จะใช้มือเค้นเต้านม
  •  นำใบกะหล่ำปลีที่แช่เย็นแล้วมาประคบที่เต้านมหลังจากให้นมลูก หรือนำมาใช้บีบเต้านมเพื่อลดอาการปวดหรือบวม

กรณีที่มีน้ำนมมากเกินไป

ในบางครั้งร่างกายของผู้หญิงอาจผลิตน้ำนมออกมามากเกินไป ทั้งนี้ให้คุณไปพบสูติแพทย์หรือแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้คุณมีน้ำนมมากผิดปกติ ซึ่งพวกเขาสามารถแนะนำวิธีที่ช่วยลดน้ำนมได้

ท่อน้ำนมอุดตัน

ต่อมที่ผลิตน้ำนมในเต้านมนั้นถูกแบ่งออกเป็นกระเปาะ โดยมีท่อแคบๆ ที่ลำเลียงน้ำนมจากแต่ละกระเปาะมายังหัวนม หากหนึ่งในกระเปาะเหล่านี้ไม่ได้ระบายน้ำนมออกมาอย่างเหมาะสมในระหว่างที่คุณให้นมลูก ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพราะทารกดูดนมไม่ถูกวิธี มันก็สามารถทำให้ท่อน้ำนมอุดตัน คุณอาจรู้สึกว่ามีก้อนนุ่มๆ ภายในหน้าอก

อย่างไรก็ตาม คุณจำเป็นต้องบรรเทาปัญหาดังกล่าวให้เร็วมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และลูกของคุณก็อาจมีส่วนช่วยเช่นกัน หากเป็นไปได้ ให้คุณจับลูกมาไว้ตรงหน้าอกโดยให้คางชี้ไปทางก้อนที่อยู่ภายในหน้าอกเพื่อที่เขาจะได้ดูดน้ำนมจากส่วนดังกล่าว

นอกจากนี้ให้คุณหลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าหรือบราที่คับแน่นเพื่อให้น้ำนมสามารถไหลได้อย่างอิสระจากทุกส่วนของเต้านม สำหรับวิธีอื่นๆ ที่อาจช่วยบรรเทาอาการประกอบไปด้วย

  • การให้ลูกกินนมฝั่งที่มีปัญหาถี่ขึ้น
  • ใช้ผ้าสักหลาดอ่อนหรือผ้าขนหนูอุ่นๆ ประคบที่เต้านมเพื่อให้น้ำนมไหลดีขึ้น
  • นวดบริเวณก้อนเนื้อไปยังหัวนมอย่างอ่อนโยนในขณะที่ทารกกำลังกินนม
  • การแก้ปัญหาท่อน้ำนมอุดตันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ มันก็สามารถทำให้เกิดการอักเสบ

ภาวะเต้านมอักเสบ

ภาวะเต้านมอักเสบเกิดขึ้นเมื่อท่อน้ำนมที่อุดตันไม่ได้รับการรักษา ทำให้คุณรู้สึกเจ็บเต้านม และทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้คุณสามารถรู้สึกไม่สบายตัวเป็นอย่างมาก โดยมีอาการเหมือนกับตอนเป็นโรคไข้หวัดใหญ่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะนี้ยังไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อในช่วงเริ่มต้น แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา มันก็สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อตามมา และคุณจำเป็นต้องทานยาปฏิชีวนะ

หากเต้านมอักเสบ คุณอาจมีอย่างน้อย 2 อาการจากอาการดังนี้

  • รู้สึกว่าเต้านมร้อน ไวต่อการกระตุ้น และรู้สึกเจ็บ
  • มีปื้นสีแดงบนผิวที่รู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส
  • มีอาการเหมือนกับตอนเป็นโรคไข้หวัดใหญ่
  • รู้สึกปวดตัว เหนื่อย และมีน้ำตาไหล
  • มีไข้สูง

ภาวะดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นในทันทีทันใด และสามารถมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้คุณจำเป็นต้องให้นมลูกต่อไป เพราะมันจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น หากคุณคิดว่าท่อน้ำนมอุดตันหรือเต้านมอักเสบ ให้คุณลองทำตามวิธีดังนี้

  • ตรวจสอบท่ากินนมและท่าแนบลำตัวของลูก โดยให้สูติแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมแม่เป็นผู้ตรวจสอบ
  • ให้ลูกกินนมจากเต้าต่อไป
  • ให้ลูกกินนมจากเต้านมฝั่งที่ไวต่อการกระตุ้น
  • หากคุณยังรู้สึกว่าเต้านมฝั่งที่อักเสบมีลักษณะแน่นหรือตึงหลังจากให้ลูกกินนม หรือลูกไม่กินนมต่อ ให้คุณใช้มือเค้นเต้านม
  • การใช้ผ้าสักหลาดอุ่นๆ ประคบที่เต้านม หรือการแช่หรืออาบน้ำอุ่นสามารถช่วยให้อาการดีขึ้น
  • พักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากนี้คุณอาจทานยาพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนเพื่อบรรเทาอาการปวด
  • หากอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 12-24 ชั่วโมง หรือคุณรู้สึกแย่ลง ให้คุณไปพบแพทย์ คุณอาจต้องทานยาปฏิชีวนะ ซึ่งคุณสามารถทานได้ในระหว่างที่ให้นมลูก
  • การหยุดให้นมจะทำให้อาการแย่ลง และอาจทำให้เกิดฝีเต้านม

ฝีเต้านม

หากไม่ทำการรักษาภาวะเต้านมอักเสบ มันก็สามารถทำให้เกิดฝีเต้านม ซึ่งคุณอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อให้หนองไหลออกมา ซึ่งฝีสามารถเกิดขึ้นหากการให้ลูกกินนมแม่ต่อหรือการทานยาปฏิชีวนะไม่ช่วยบรรเทาปัญหาเต้านมอักเสบ  อย่างไรก็ตาม คุณสามารถให้นมลูกหลังจากที่มีการระบายหนอง

เชื้อรา

หากคุณมีอาการเจ็บที่เต้านมทั้งสองข้างที่มักเกิดขึ้นหลังจากช่วงให้นมลูกที่ไม่มีอาการเจ็บ และหากอาการเจ็บเต้านมเกิดขึ้นนานถึง 1 ชั่วโมงหลังจากให้นมลูก คุณอาจติดเชื้อรา

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และเชื้อรา

ในบางครั้งผู้หญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจมีอาการเจ็บเต้านมและหัวนม ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อราแคนดิดาในเต้านม นอกจากนี้ทารกที่กินนมแม่ก็สามารถมีเชื้อราในปากเช่นกัน

การติดเชื้อรายังสามารถเกิดขึ้นหลังจากที่คุณหรือลูกทานยาปฏิชีวนะ เพราะยาปฏิชีวนะอาจลดจำนวนของแบคทีเรียชนิดดีในร่างกาย และทำให้เชื้อราแคนดิดาแพร่พันธุ์

สัญญาณของการติดเชื้อราในผู้หญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

คุณอาจติดเชื้อราที่เต้านมหาก

  • คุณเริ่มรู้สึกเจ็บที่หัวนมหรือเต้านมทั้งสองข้างหลังจากให้นมลูกทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้คุณไม่มีอาการดังกล่าว
  • อาการเจ็บอยู่ในระดับรุนแรง และคงอยู่นานเป็นชั่วโมงหลังจากให้นมลูกทุกครั้ง

คุณมีแนวโน้มที่จะไม่ติดเชื้อราหาก

  • คุณมีอาการเจ็บเต้านมในขณะที่ให้นมลูกอยู่เสมอ
  • อาการเจ็บเกิดขึ้นกับหัวนมหรือเต้านมเพียงข้างเดียว
  • มีไข้
  • มีรอยปื้นสีแดงบนเต้านมข้างเดียว

อาการของโรคเชื้อราในปากในทารกที่กินนมแม่

สำหรับสัญญาณที่คุณควรระวังมีดังนี้

  • มีจุดหรือปื้นสีขาวที่มีลักษณะเหมือนเนื้อครีมบนลิ้น เหงือก เพดานปาก หรือภายในกระพุ้งแก้ม หากคุณเช็ดปื้นเหล่านี้อย่างอ่อนโยนโดยใช้ผ้าที่สะอาด มันก็จะไม่หลุดออกมา
  • ทารกมีอาการกระสับกระส่ายในขณะที่กินนม
  • มีเนื้อฟิล์มสีขาวบนริมฝีปาก
  • ทารกบางคนมีผื่นผ้าอ้อมที่ไม่จางหาย

หากสงสัยว่าคุณหรือทารกติดเชื้อรา ให้คุณไปพบแพทย์ ซึ่งเขาสามารถตรวจว่าหัวนมและในปากของทารกมีเชื้อราหรือไม่ แต่แพทย์ก็จะตัดสาเหตุอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการเจ็บเต้านมก่อนที่จะเริ่มทำการรักษาเชื้อรา

หากไม่พบเชื้อรา อาการเจ็บก็อาจเกิดขึ้นจากเหตุผลอื่นๆ เช่น ท่ากินนมและท่าซบลำตัวที่ไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม สูติแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรเข้าร่วมสังเกตการณ์ในขณะที่คุณให้นมลูกเพื่อที่จะได้พบปัญหา

ในกรณีที่คุณหรือไม่ก็ลูกติดเชื้อรา คุณจำเป็นต้องได้รับการรักษาพร้อมๆ กัน เพราะการติดเชื้อสามารถแพร่กระจายได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้มันยังแพร่กระจายไปยังสมาชิกคนอื่นๆ ในบ้านได้อีกด้วย

การล้างมือจนทั่วหลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อม และการใช้ผ้าขนหนูแยกกันจะช่วยป้องกันไม่ให้การติดเชื้อแพร่กระจาย นอกจากนี้คุณจำเป็นต้องล้างและฆ่าเชื้อโรคบรรดาจุกนมหลอก จุกนม หรือของเล่นที่ทารกนำเข้าปาก

คุณจำเป็นต้องซักบราที่ใส่ในช่วงที่ให้นมลูกด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิสูง และเปลี่ยนแผ่นซับน้ำนม (Breast pads) บ่อยครั้งในขณะที่คุณทั้งคู่รักษาโรคดังกล่าว

ถ้าคุณบีบเต้านมเพื่อระบายน้ำนมออกมาในระหว่างที่คุณติดเชื้อรา คุณจำเป็นต้องให้นมแก่ทารกในระหว่างที่คุณรักษาตัว การนำน้ำนมไปแช่เย็น และนำมาให้ทารกกินอาจทำให้เชื้อรากลับมาในภายหลัง

การรักษาเชื้อราในระหว่างที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

คุณสามารถให้นมลูกต่อไปในขณะที่คุณและลูกอยู่ในช่วงรักษาเชื้อรา ทั้งนี้โรคเชื้อราในปากที่พบในทารกมักรักษาโดยใช้ยาต้านเชื้อราในรูปแบบของเจลหรือของเหลวซึ่งปลอดภัยสำหรับทารก อย่างไรก็ตาม คุณควรล้างมือให้สะอาดหมดจดหลังจากทายาให้ลูก

สำหรับโรคเชื้อราที่พบในผู้หญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เราสามารถรักษาโดยใช้ครีมทากระจายและรอบๆ หัวนมหลังจากให้นมลูก คุณจำเป็นต้องล้างมือให้ทั่วหลังจากทายาให้ตัวเอง อย่างไรก็ดี ผู้หญิงบางคนอาจจำเป็นต้องทานยาต้านเชื้อราเพื่อลดการติดเชื้อ

เมื่อคุณและลูกเริ่มรักษาตัวเอง อาการของพวกคุณควรจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ซึ่งจะใช้เวลานานเล็กน้อยในการรักษาการติดเชื้อจนหายขาด หากคุณพบว่าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 7 วัน ให้คุณลองปรึกษาแพทย์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และภาวะลิ้นติด

มีทารก 4-11% ที่มีเนื้อเยื่อส่วนที่ยึดลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากสั้นกว่าปกติ ภาวะที่ว่านี้เรียกว่า ภาวะลิ้นติด หรือ Ankyloglossia อย่างไรก็ตาม ทารกบางคนที่มีปัญหาลิ้นติดก็ไม่ได้รู้สึกรำคาญ ในขณะที่ทารกบางคนกลับรู้สึกว่าการกินนมเป็นเรื่องที่ยากลำบากมากขึ้น เพราะภาวะลิ้นติดทำให้ลิ้นเคลื่อนไหวไม่ได้อย่างอิสระ

สัญญาณของภาวะลิ้นติดในทารกที่กินนมแม่

หากลูกของคุณกินนมจากเต้า และตกอยู่ในภาวะลิ้นติด คุณอาจสังเกตว่า

  • ทารกเข้าเต้าอย่างยากลำบาก หรือดูดนมได้ไม่เต็มที่
  • ทารกมีอาการกระสับกระส่าย และดูเหมือนหิวตลอดเวลา
  • น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้นเร็วอย่างที่ควรจะเป็น
  • ส่งเสียงกระดิกลิ้นในขณะที่กินนม ซึ่งสามารถเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณจำเป็นต้องช่วยทารกจัดท่าและช่วยให้เขาเข้าเต้าอย่างเหมาะสม

ภาวะลิ้นติดของทารกสามารถทำให้เกิดปัญหาสำหรับคุณแม่เช่นกัน โดยประกอบไปด้วย

  • รู้สึกเจ็บหัวนม หรือหัวนมแตก
  • มีน้ำนมน้อย
  • ภาวะเต้านมอักเสบ ซึ่งอาจกลับมาเป็นซ้ำ

อย่างไรก็ดี ให้คุณปรึกษาสูติแพทย์ หรือแพทย์หากคุณกังวลเกี่ยวกับการกินนมของทารก หรือสงสัยว่าเขากำลังตกอยู่ในภาวะลิ้นติด

วิธีรักษาภาวะลิ้นติด

เราสามารถรักษาภาวะลิ้นติดโดยใช้กรรไกรที่คมและผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ซึ่งแพทย์ พยาบาล หรือสูติแพทย์จะอธิบายวิธีรักษาล่วงหน้า ซึ่งวิธีรักษานั้นก็ไม่ได้ซับซ้อนและใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที

อย่างไรก็ดี โดยทั่วไปแล้วทารกที่อายุน้อยไม่จำเป็นต้องใช้ยาสลบในการรักษา แต่ทารกที่อายุมากขึ้นอาจจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าว เพราะพวกเขามีแนวโน้มที่จะอยู่ไม่นิ่ง

กระบวนการในการรักษานั้นไม่ทำให้ทารกเจ็บปวด และทารกบางคนนอนหลับในช่วงที่รักษาด้วยซ้ำ เพราะว่าบริเวณเนื้อเยื่อที่ยึดเกาะใต้ลิ้นกับพื้นด้านล่างของช่องปาก หรือที่เรียกว่า Frenulum มีเส้นประสาทเล็กน้อย อย่างไรก็ดี ผิวในปากสามารถหายได้อย่างรวดเร็ว และทารกสามารถกินนมแม่ต่อได้ทันทีหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ ซึ่งนักวิจัยพบว่าทารกส่วนมากที่เข้ารับการรักษาสามารถกินนมแม่ได้ง่ายขึ้นหลังจากนั้น

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมอิ่มแล้ว?

ในช่วงแรกของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณอาจกังวลว่าลูกกินนมไม่อิ่ม ซึ่งคุณไม่สามารถรู้ได้เลยว่าทารกจะกินนมเท่าไร อย่างไรก็ดี โดยทั่วไปแล้วทารกจะส่งสัญญาณให้คุณทราบ แต่การที่ผ้าอ้อมเปียกและสกปรก และการได้ยินเสียงทารกกลืนนมก็นับว่าเป็นข้อบ่งชี้ที่ดี

หากคุณต้องการมั่นใจว่าทารกกินนมอย่างเพียงพอ การให้สูติแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมร่วมสังเกตการณ์ในขณะที่คุณให้นมลูกนั้นก็เป็นความคิดที่ดี เพราะพวกเขาสามารถให้คำแนะนำเพื่อให้มั่นใจว่าทารกกินนมในท่าที่ถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม ให้คุณพยายามให้นมลูกต่อไป การให้ลูกกินนมจากขวดสามารถช่วยให้ทารกรู้สึกอิ่มเช่นกันและทำให้เขาไม่ร้องกินนมจากเต้าบ่อยเกินไป ส่งผลให้มีการกระตุ้นร่างกายเพื่อผลิตนมลดลง

สัญญาณที่บอกว่าลูกเข้าเต้าถูกวิธี

  • ทารกอ้าปากกว้างขณะดูดนม
  • คางของทารกสัมผัสกับเต้านม ในขณะที่ริมฝีปากล่างแบะลง และจมูกไม่ได้เบียดเต้านม
  • คุณไม่รู้สึกเจ็บภายในเต้านมหรือหัวนมในขณะที่ลูกดูดนม แม้คุณรู้สึกว่าทารกดูดนมแรงในช่วงแรกๆ
  • คุณเห็นปานนมอยู่เหนือริมฝีปากบนของทารกมากกว่าริมฝีปากล่างของเขา

สัญญาณที่บอกว่าทารกกินนมอิ่มแล้ว

  • ในตอนแรกทารกจะดูดนมช้าลง จากนั้นก็จะดูดนมเป็นจังหวะที่ยาว และกลืนพร้อมกับหยุดเป็นครั้งคราว
  • คุณสามารถได้ยินและเห็นทารกกลืนนม
  • แก้มของทารกเป็นทรงกลมในระหว่างที่ดูดนม
  • ทารกดูสงบและผ่อนคลายในระหว่างที่กินนม
  • ทารกผละออกจากเต้านมด้วยตัวเองหลังจากกินนม
  • ปากของทารกดูชุ่มชื้นหลังกินนม
  • ทารกดูมีความสุขและพอใจหลังจากกินนม
  • เต้านมของคุณนุ่มลงหลังจากให้นมลูก
  • หัวนมของคุณดูเหมือนเดิมไม่มากหรือน้อยเกินไปหลังจากให้นม คือ ไม่แบน ไม่เหี่ยว หรือไม่เป็นสีขาว
  • คุณอาจรู้สึกง่วงนอนและผ่อนคลายหลังจากให้นมลูก

สัญญาณอื่นๆ ที่บอกว่าทารกกินอิ่ม

  • น้ำหนักของทารกเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอหลังจากช่วง 2 สัปดาห์แรก ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับทารกที่จะมีน้ำหนักแรกเกิดลดลงในช่วง 2 สัปดาห์แรก
  • ทารกมีสุขภาพดีและดูตื่นตัวเมื่อเขาตื่นนอน
  • นับตั้งแต่วันที่ 4  ทารกควรถ่ายอุจจาระอย่างน้อย 2 ครั้ง ซึ่งอุจจาระต้องมีลักษณะนุ่มและเป็นสีเหลือง โดยมีขนาดประมาณเหรียญ 2 ปอนด์ทุกวันในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก
  • นับตั้งแต่วันที่ 5 เป็นต้นไป ผ้าอ้อมของทารกจะต้องเริ่มเปียกถี่ขึ้น โดยต้องใช้ผ้าอ้อมอย่างน้อย 6 แผ่นซึ่งมีปัสสาวะเต็มแผ่นทุก 24 ชั่วโมง ในช่วง 48 ชั่วโมงแรก ทารกมีแนวโน้มที่จะใช้ผ้าอ้อม 2-3 แผ่นซึ่งมีปัสสาวะเต็มแผ่น
  • การที่เราจะรู้ว่าผ้าอ้อมชนิดที่ทิ้งได้เปียกแล้วหรือไม่นั้นสามารถเป็นเรื่องยาก ให้คุณเติมน้ำ 2-4 ช้อนโต๊ะลงไปในผ้าอ้อม ซึ่งคุณจะได้ไอเดียว่าผ้าอ้อมที่เปียกแล้วมีลักษณะและให้ความรู้สึกอย่างไร

วิธีกระตุ้นน้ำนม

  • ให้คุณลองบอกสูติแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เข้าร่วมสังเกตการณ์ขณะที่คุณให้นมลูก พวกเขาสามารถให้คำแนะนำและช่วยจัดท่าทางของทารกในขณะที่ดูดนมให้ถูกต้อง
  • หลีกเลี่ยงการให้ลูกกินนมชงหรือจุกนมหลอกจนกว่าการให้นมจากเต้าดำเนินไปได้ด้วยดี โดยทั่วไปแล้วต้องใช้เวลา 2-3 สัปดาห์
  • ให้นมลูกบ่อยตามที่คุณและทารกต้องการ
  • การเค้นน้ำนมจากเต้าหลังจากให้นมลูกจะช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนม
  • ให้ลูกกินนมจากเต้าทั้งสองข้างในแต่ละครั้งที่ให้นม โดยให้สลับฝั่ง
  • จับทารกมานอนชิดกับลำตัวของคุณ และอุ้มเขาแบบเนื้อแนบเนื้อ การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณรู้สัญญาณว่าทารกพร้อมที่จะกินนมตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่เขาจะเริ่มร้องไห้
  • ในบางกรณีที่พบได้ไม่บ่อย ผู้หญิงอาจจำเป็นต้องทานยาเพื่อช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำนมออกมามากขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้วไม่จำเป็นต้องทำเช่นนี้

เมล็ดลูกซัดและการกระตุ้นน้ำนม

ผู้หญิงบางคนใช้สมุนไพรเพื่อกระตุ้นน้ำนม ซึ่งเมล็ดลูกซัดเป็นสมุนไพรที่คุณแม่ที่ให้ลูกกินนมจากเต้าใช้มากที่สุด โดยนิยมทานในรูปแบบของแคปซูล แม้ไม่มีหลักฐานยืนยันว่ามันสามารถช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำนมออกมามากขึ้น แต่มีผู้หญิงบางคนพบว่าสมุนไพรดังกล่าวสามารถช่วยได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่คุณจะทานหรือใช้สมุนไพรชนิดใดๆ ก็ตามในขณะที่ให้นมลูก คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

สิ่งที่สามารถส่งผลต่อปริมาณน้ำนม

  • การเข้าเต้าและการจัดท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
  • ไม่ให้ลูกกินนมบ่อยเท่าที่ควร
  • ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ในช่วงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งมันสามารถขัดขวางกระบวนการผลิตน้ำนม
  • มีการผ่าตัดเต้านมก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะหากมีการผ่าตัดเอาหัวนมออกไป
  • จำเป็นต้องอยู่ห่างจากทารกหลังจากที่เขาเกิด ตัวอย่างเช่น ทารกคลอดก่อนกำหนด
  • คุณหรือทารกป่วย
  • ให้ทารกกินนมจากขวดหรือจุกนมหลอกก่อนที่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดำเนินไปได้ด้วยดี
  • ใช้แผ่นป้องกันหัวนม
  • ยาบางชนิด เช่น โดพามีน ยาเออร์โกตามีน และไพริดอกซีน
  • วิตกกังวล เครียด หรือซึมเศร้า
  • ทารกตกอยู่ในภาวะลิ้นติด ซึ่งทำให้ลิ้นถูกจำกัดการเคลื่อนไหว

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านี้สามารถคลี่คลายหากได้รับการช่วยเหลือจากผู้ที่มีทักษะ หากคุณกังวลเกี่ยวกับปริมาณของนมที่ทารกได้รับ ให้คุณขอความช่วยเหลือตั้งแต่เนิ่นๆ โดยให้คุณปรึกษาสูติแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการให้นม พวกเขาสามารถแนะนำได้ว่าคุณควรทำอย่างไรต่อไป

ทำอย่างไรเมื่อเจ็บหัวนม?

การมีอาการเจ็บหัวนมนับว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงยอมแพ้ที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่หากได้รับการช่วยเหลือและการสนับสนุนที่เหมาะสม ปัญหานี้ก็มักคลี่คลาย

การมีอาการเจ็บหัวนมประมาณ 3-7 วันนับว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งมักเกิดขึ้นเพราะท่าที่ทารกใช้ดูดนมหรือวิธีเข้าเต้าไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้หญิงและทารกเรียนรู้ทักษะเกี่ยวกับการกินนมแม่ และมีความมั่นใจมากขึ้น อาการปวดก็จะค่อยๆ บรรเทาลง

หลังจากที่คุณคลอดลูก พยาบาลก็จะช่วยสอนท่าให้นมและการเข้าเต้า รวมถึงสอนเกี่ยวกับสัญญาณที่บอกว่าทารกกินนมถูกต้อง

รีบขอความช่วยเหลือเมื่อมีอาการเจ็บหัวนม

คุณอาจเริ่มรู้สึกเจ็บเมื่อทารกเริ่มดูดนม แต่ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นขณะให้นมลูกกลับเป็นเรื่องที่ไม่ปกติ ซึ่งการปล่อยให้ตัวเองมีอาการที่ว่าต่อไปสามารถทำให้สถานการณ์แย่ลง และอาจส่งผลต่อความรู้สึกที่คุณมีต่อการให้ลูกกินนมแม่

หากคุณรู้สึกเจ็บหัวนมข้างหนึ่งหรือสองข้างทุกครั้งที่ลูกกินนม หรือหัวนมของคุณเริ่มแตกหรือมีเลือดออก คุณควรรีบไปพบแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้เร็วที่สุดเท่าที่คุณสามารถทำได้ พวกเขาสามารถช่วยสังเกตในขณะที่คุณให้นมทารก และช่วยจัดท่าให้นมลูกและการเข้าเต้าอย่างถูกต้อง

เมื่อทารกเข้าเต้าได้ถูกวิธี หัวนมของคุณก็จะไปพักอยู่ที่เพดานอ่อนที่ด้านหลังปากของทารก หากทารกเข้าเต้าไม่ถูกวิธี หัวนมก็จะอยู่ใกล้กับด้านหน้าของปาก และสามารถเสียดสีกับเพดานแข็ง ทำให้คุณรู้สึกเจ็บได้นั่นเอง

การที่หัวนมมีลักษณะแบน แตก หรือเป็นสีขาวหลังจากให้นมลูกนั้นเป็นสัญญาณที่บอกว่าทารกอาจเข้าเต้าไม่ถูกวิธี นอกจากนี้ทารกอาจมีอาการกระสับกระส่ายหลังจากกินนม อย่างไรก็ตาม การมีอาการเจ็บหัวนมขณะที่คุณพยายามให้นมลูกสามารถทำให้คุณเครียดหรือหงุดหงิด แต่ให้คุณพยายามฝืนให้นมลูกต่อไป และใช้มือบีบเต้านมหากคุณสามารถทำได้ และรีบขอความช่วยเหลือตั้งแต่เนิ่นๆ

วิธีรับมือปัญหาเจ็บหัวนมด้วยตัวเอง  

ให้คุณระลึกไว้เสมอว่าการรับมือกับปัญหาเจ็บหัวนมด้วยตัวเองจะไม่มีประสิทธิผลหากทารกเข้าเต้าไม่ถูกวิธีในระหว่างที่ให้นม อย่างไรก็ตาม การใช้วิธีดังต่อไปนี้อาจช่วยบรรเทาความเจ็บปวด

  • หลังจากที่ลูกกินนมจากเต้า ให้คุณใช้มือบีบเต้านมเพื่อให้น้ำนมไหลออกมาสัก 1 หรือ 2 หยด เพื่อที่คุณจะได้ใช้น้ำนมนวดที่หัวนมอย่างอ่อนโยน
  • ปล่อยให้หัวนมแห้งก่อนแต่งตัว
  • หากคุณใช้แผ่นซับน้ำนม ให้คุณเปลี่ยนเป็นชิ้นใหม่เมื่อมีการให้นมแต่ละครั้ง หากเป็นไปได้ ให้คุณใช้แผ่นซับน้ำนมที่ไม่มีแผ่นพลาสติกด้านหลัง
  • ไม่ใช้สบู่ เพราะมันสามารถทำให้ผิวแห้ง
  • สวมบราที่ทำมาจากผ้าฝ้ายเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • สวมบราแบบไร้โครง ถ้าเป็นไปได้ ให้คุณเลือกซื้อบราที่ออกแบบมาเพื่อผู้หญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ผู้หญิงบางคนรักษาหัวนมที่แตกและมีเลือดออกโดยใช้วาสลีน แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามันสามารถช่วยได้จริงหรือไม่ และผู้หญิงบางคนสามารถมีปฏิกิริยาต่อผลิตภัณฑ์ที่ใช้

อย่างไรก็ตาม หัวนมของคุณจะไม่หายดีหากท่ากินนมของทารกหรือวิธีเข้าเต้าไม่ถูกต้อง ดังนั้นการขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น

การทำสิ่งที่เรากำลังจะกล่าวหลังจากนี้อาจไม่ได้ช่วยให้อาการดีขึ้น

  • ให้นมลูกเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพื่อพักหัวนม ซึ่งความจริงแล้วมันไม่ได้ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหัวนม และสามารถส่งผลต่อปริมาณน้ำนม และทำให้ทารกรู้สึกไม่พอใจหลังกินนม
  • การใช้แผ่นป้องกันหัวนม หรือปทุมแก้วไม่ได้ช่วยให้ทารกเข้าเต้าได้ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หากคุณได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม คุณก็จะกลับมาให้นมลูกได้อย่างสบายใจอีกครั้ง

ในกรณีที่อาการเจ็บหัวนมไม่ดีขึ้น

หากลูกของคุณเข้าเต้าและกินนมท่าที่ถูกต้อง แต่คุณก็ยังคงเจ็บหัวนม ให้คุณปรึกษาสูติแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อช่วยสังเกตขณะที่คุณให้นมลูก อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งการที่อาการเจ็บหัวนมไม่บรรเทาลงนั้นอาจเป็นเพราะว่าคุณติดเชื้อรา


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
10 Common Breastfeeding Problems & How to Solve Them. TheBump.com. (https://www.thebump.com/a/top-10-breastfeeding-problems-solved)
How to Solve Common Latch Problems With Breastfeeding. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/common-latching-problems-and-how-to-solve-them-4128929)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป