กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

จะรู้ได้ไงว่าลูกร้องเพราะหิวนม

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
จะรู้ได้ไงว่าลูกร้องเพราะหิวนม

ในช่วงสัปดาห์แรกที่ลูกเพิ่งจะออกมาดูโลกนั้น โดยมากลูกมักจะร้องไห้เพราะหิว ถ้าเราเปลี่ยนผ้าอ้อมก็แล้ว อุ้มโยกเบาๆ ก็แล้ว และลูกไม่ได้ร้องแบบเจ็บปวดทรมาน ก็แน่นอนว่าลูกของเรากำลังหิวแล้วนั้นเอง ยิ่งถ้าเราเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยแล้ว ลูกจะหิวและร้องไห้กินนมเฉลี่ยทุก 2 - 3 ชั่วโมง (จะหิวบ่อยกว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยนมวัว) ดังนั้นหากลูกร้องไห้หิวนมเกือบๆ จะทุก 2 - 3 ชั่วโมง ก็แสดงว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะว่านมแม่นั้นลูกสามารถย่อยได้เร็วกว่านมวัว

เด็กทารกแรกเกิดบางคนร้องหิวนมเกือบจะทุกชั่วโมงก็มีนะคะ อาการที่สังเกตได้ง่ายๆ อีกอย่างคือ เมื่อลูกร้องเพราะหิว เขาจะผงกศีรษะขึ้น อ้าปาก หรือบางคนก็ดูดนิ้วหรือดูดปากตัวเอง ทำท่าเหมือนกำลังพยายามจะดูดอะไรก็ตามที่ผ่านเข้ามาในปาก หรือพยายามหันหาหน้าอกของแม่ นั้นก็แปลว่าเขาหิวแล้ว

เมื่อลูกเติบโตขึ้น บางครั้งลูกร้องก็อาจจะไม่ใช่การร้องเพราะหิวเสมอไป บางครั้งลูกอาจจะร้องเพราะผวา ฝันร้าย รวมถึงตกใจเพราะเสียงรอบข้างดังเป็นต้น แต่เราก็ยังสามารถสังเกตได้จากอาการของลูกดังกล่าว รวมถึงดูเวลาว่าห่างจากการกินนมครั้งก่อนแค่ไหนแล้วก็ได้เช่นกัน

จะรู้ได้ไงว่าลูกกินนมอิ่มหรือเปล่า

หากให้ลูกดูดนมจากขวดนมก็สามารถวัดได้ง่ายเพราะมีจำนวนออนซ์แสดงไว้บนขวดนม สำหรับกรณีให้ลูกดูดนมจากอกแม่เอง ก็สามารถสังเกตได้ง่ายๆ โดยสังเกตจากปริมาณปัสสาวะและอุจจาระที่ลูกปล่อยออกมาได้โดยปกติหากลูกได้รับน้ำนมในปริมาณที่พอเพียงก็จะปัสสาวะบ่อยมาก ถ้าใช้เป็นผ้าอ้อมแบบเดิม (ผ้าอ้อมที่มาจากผ้าฝ้ายไม่ใช่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป) ก็จะเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกอย่างน้อยสัก 6-7 ครั้งต่อวันเป็นอย่างน้อย ก็ถือว่าเป็นปกติ ส่วนเรื่องอุจจาระก็จะมีลักษณะเหลืองๆ เหนียวๆ หรืออาจจะถ่ายอุจจาระวันเว้นวันก็เป็นเรื่องปกตินะคะ  แต่ถ้าหากอุจจาระมีสีเข้มขึ้นและมีลักษณะแข็งขึ้น นั่นอาจแปลว่าลูกได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ (กรณีเลี้ยงลูกด้วยนมแม่)

คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยให้ลูกดูดนมจากอกแม่โดยตรง ไม่ควรกังวลมากเกินไปว่าลูกเราวันนี้กินนมไปมากแค่ไหนแล้วในวันนี้ แค่ให้เขาได้กินนมทุกครั้งที่เขาหิว ตัวคุณแม่ก็จะรู้ได้เองว่าลูกได้รับน้ำนมพอหรือไม่ ตราบใดที่เขายังปัสสาวะทุกครั้งเมื่อได้กินนม ปากของเขาไม่แห้ง และเมื่อดวงตาของเขาไม่ดูอิดโรย

นอกจากนั้นโดยปกติแล้วหลังคลอด คุณหมอจะนัดคุณแม่กับคุณลูกให้ไปตรวจร่างกายอีก ซึ่งคุณหมอก็จะวัดความยาวและชั่งน้ำหนักตัวของลูก ซึ่งลูกก็จะมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักและความยาวของตัวมากขึ้น สิ่งสำคัญคือคุณแม่เองห้ามกังวลหรือเครียดว่าลูกจะกินนมไม่พอหรือตัวเองจะมีน้ำนมไม่เพียงพอ เพราะความกังวลเหล่านั้นจะยิ่งทำให้ระบบการสร้างน้ำนมในตัวนั้นทำงานได้น้อยลง

นอกจากนั้นหากเราเลี้ยงลูกโดยให้เขาดูดนมจากอกของเรา คุณแม่สามารถสังเกตลูกน้อยได้จากการฟังเสียงลูกกลืนนมในขณะที่กำลังดูดนม หากมีเสียงกลืนนมแสดงว่าลูกน้อยได้รับน้ำนมแล้วจริงๆ และหากลูกคายหัวนมออกมาแล้วแสดงว่าลูกกินอิ่ม นอกจากนั้นสามารถสังเกตได้จากการที่ลูกจะดูดนมทั้ง 2 ข้างจนหมด และหลังจากที่เขาดูดนมเสร็จแล้ว เขาจะแสดงท่าทีพอใจและอารมณ์ดีขึ้น มีความสุขหลังจากกินนม นั้นก็แปลว่าเขาอิ่มแล้ว


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Donna Murray, RN, BSN , How to Know When Your Baby Is Hungry (https://www.verywellfamily.com...), 11 November 2018
Caroline, Is My Baby Getting Enough to Eat? (https://www.swaddlesnbottles.c...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สิ่งที่ไม่ควรพูดให้ลูกที่เล่นกีฬาของคุณฟัง
สิ่งที่ไม่ควรพูดให้ลูกที่เล่นกีฬาของคุณฟัง

คำติทั่ว ๆ ไปเหล่านี้อาจเป็นการประเมินความสำเร็จลูกของคุณต่ำเกินไป คุณรู้สึกผิดหรือไม่ ?

อ่านเพิ่ม