กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.รุจิรา เทียบเทียม
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.รุจิรา เทียบเทียม

10 สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเริ่มตั้งครรภ์

สำรวจ 10 สัญญาณเตือนจากร่างกายเมื่อคุณกำลังเริ่มตั้งครรภ์
เผยแพร่ครั้งแรก 5 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 8 เม.ย. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
10 สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเริ่มตั้งครรภ์

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์จะเกิดความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการมีลูก นอกจากจะใช้ชุดตรวจครรภ์แล้ว การสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยได้
  • ในช่วงแรก ผู้หญิงตั้งครรภ์มักจะปัสสาวะบ่อย เจ็บเต้านม หรือเต้านมคัด ประจำเดือนขาด คลื่นไส้ อาเจียน และอยากรับประทานอาหารแปลกๆ หรืออาหารที่ไม่เคยรับประทานมาก่อน หรืออาจเบื่ออาหารที่ชอบรับประทานมาก่อน
  • สิวเป็นอีกหนึ่งจุดสังเกตของผู้หญิงตั้งครรภ์ เพราะในขณะตั้งครรภ์ฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้สิวขึ้นมากกว่าปกติ นอกจากนี้ ยังส่งผลให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และอารมณ์แปรปรวนอีกด้วย
  • คุณสามารถใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์เพื่อตรวจครรภ์ หรือไปตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อความแน่นอน และควรฝากครรภ์โดยเร็วที่สุด เพื่อที่แพทย์จะได้ดูแลสุขภาพของมารดา และพัฒนาการของทารกได้อย่างเต็มที่ 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร

สาวๆ ที่ฝันอยากจะเป็นคุณแม่ทุกคนทราบกันหรือไม่ว่า นอกจากอุปกรณ์ตรวจการตั้งครรภ์แล้ว ยังมีอาการทางร่างกายที่สามารถบอกถึงสัญญาณของการตั้งครรภ์ได้ ซึ่งผู้หญิงแต่ละคนก็จะมีอาการที่แตกต่างกันไป 

คุณสามารถสังเกต 10 อาการที่อาจบอกว่า คุณกำลังจะได้เป็นคุณแม่มือใหม่ได้ ดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. ปัสสาวะบ่อย

อาการปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติอาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ไตในร่างกายจะต้องทำงานหนักมากขึ้น ประกอบกับมดลูกขยายตัวจนไปเบียดกับกระเพาะปัสสาวะ เป็นผลให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อยๆ นั่นเอง 

อาการนี้จะเกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์และจึงจะกลับสู่ภาวะปกติ จากนั้น คุณแม่ก็จะมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยอีกครั้ง ในช่วงใกล้คลอด

เนื่องจากทารกที่โตแล้วในครรภ์จะมีน้ำหนักมากทำให้กดกระเพาะปัสสาวะ จึงทำให้คุณแม่มีอาการปวดปัสสาวะบ่อย

2. เจ็บเต้านม หรือเต้านมคัด

อาการนี้มักจะพบได้บ่อยอยู่แล้วในช่วงก่อนมีประจำเดือน แต่ในขณะเดียวกัน อาการเจ็บเต้านมก็สามารถเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ในระยะแรกได้เช่นกัน โดยมักจะมีอาการเจ็บอย่างเด่นชัดในช่วง 5-6 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ 

มีสาเหตุมาจากร่างกายเริ่มเตรียมพร้อมสำหรับสร้างน้ำนมให้กับลูกน้อย ทำให้คุณแม่อาจมีอาการเจ็บ หรือคัดตึงเต้านมขึ้นมาได้ พร้อมกับหัวนมที่มีสีคล้ำและขยายใหญ่ขึ้น 

อย่างไรก็ตาม หลังจาก 3 เดือนผ่านไปแล้ว อาการเจ็บเต้านมก็จะค่อยๆ หายไปเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

3. เป็นสิว

ใครจะรู้ว่า สิวก็เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ได้ นั่นก็เพราะสิวเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายเป็นหลัก 

ดังนั้นในช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ คุณแม่จะมีระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนอาจทำให้มีสิวขึ้นได้มากกว่าปกติ

หากคุณพบว่า ตนเองมีสิวขึ้นเยอะกว่าเดิม ประกอบกับมีอาการอื่นๆ ที่เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ร่วมด้วย ก็สงสัยได้เลยว่า คุณอาจกำลังจะมีเจ้าตัวน้อยนั่นเอง

4. อยากรับประทานอาหารแปลกๆ

หญิงตั้งครรภ์บางรายอาจมีพฤติกรรมอยากรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป ซึ่งหากไม่ได้รับประทานดั่งใจ คุณแม่หลายรายก็มักจะเกิดอารมณ์หงุดหงิด และอารมณ์เสียได้ง่ายขึ้นด้วย เช่น

  • อยากรับประทานอาหารแปลกๆ 
  • อยากรับประทานอาหารที่ไม่เคยรับประทานมาก่อน 
  • อยากรับประทานอาหารบางชนิดมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอาหารที่มีรสชาติเปรี้ยว

5. คลื่นไส้ อาเจียน

อาการนี้ถือเป็นสัญญาณเตือนการตั้งครรภ์ที่เด่นชัดและเป็นที่รู้จักมากที่สุด ซึ่งอาการนี้มักจะมาพร้อมกับอาการวิงเวียนศีรษะ และหน้ามืดเสมอ 

มักจะพบได้ในช่วง 6-12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์และจะค่อยๆ หายไปเองเมื่อพ้นเดือนที่ 3 ไปแล้ว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้อาการคลื่นไส้ อาเจียนในหญิงตั้งครรภ์บางราย อาจเป็นหนักจนต้องให้น้ำเกลือเสริมได้ 

ดังนั้นเมื่อคุณมีอาการคลื่นไส้อาเจียนบ่อยๆ จนเริ่มอ่อนเพลีย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจครรภ์และฝากครรภ์ไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการมีเจ้าตัวน้อย

6. ท้องอืด หรือท้องขึ้น

การตั้งครรภ์จะทำให้มดลูกเริ่มขยายตัวขึ้น ซึ่งอาจทำให้คุณแม่มีอาการท้องอืดและท้องขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารรสจัด เพราะมดลูกจะไปเบียดกับกระเพาะอาหารจนทำให้กระเพาะอาหารย่อยได้ไม่เต็มที่นั่นเอง 

ดังนั้นในช่วงนี้ แพทย์จึงมักจะแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานอาหารที่มีรสชาติอ่อนๆ และเป็นอาหารเบาๆ โดยอาจแบ่งเป็นวันละหลายๆ มื้อ เพื่อให้กระเพาะอาหารไม่ทำงานหนักจนเกินไป

7. ประจำเดือนขาด

เป็นอีกสัญญาณของการตั้งครรภ์ที่แสดงได้อย่างชัดเจนว่า คุณกำลังจะมีเจ้าตัวน้อย โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ประจำเดือนมาปกติไม่เคยขาด ะฉะนั้นหากคุณรู้สึกว่า ประจำเดือนขาดไปอย่างผิดปกติ ให้ลองไปซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจดูเพื่อความมั่นใจ

8. ปวดท้อง

ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ คุณอาจมีอาการปวดเกร็งในช่องท้องน้อย ซึ่งจะมีลักษณะการปวดแบบหน่วงๆ เนื่องจากมดลูกกำลังยืดขยายตัวเพื่อรองรับการมีทารกน้อยในครรภ์ 

ดังนั้น หากคุณรู้สึกปวดท้องแบบแปลกๆ หรือปวดหน่วงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจเสียก่อน และอย่าเพิ่งซื้อยามารับประทานเอง เพื่อความปลอดภัยของเด็กในครรภ์

9. อ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่าย

อาการนี้เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ จึงอาจทำให้คุณแม่เกิดอาการอ่อนเพลีย และอยากนอนหลับอยู่ตลอดเวลา 

นอกจากนี้ สาเหตุที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์เกิดอาการอ่อนเพลียนั้น มาจากร่างกายได้มีการดึงเอาพลังงานไปใช้ในการพัฒนาการเติบโตของทารกน้อยเป็นหลัก จึงทำให้คุณแม่มีอาการเหนื่อยล้าง่ายกว่าปกติด้วยนั่นเอง

10. อารมณ์แปรปรวน

อารมณ์ที่แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ขี้น้อยใจ เป็นอีกสัญญาณที่อาจบอกได้ว่า คุณกำลังตั้งครรภ์ นั่นก็เพราะฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงส่งผลกระทบต่อสภาวะอารมณ์ของคุณแม่โดยตรง 

ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์หงุดหงิด เสียใจ น้อยใจ หรือร้องไห้ได้ง่ายกว่าปกติ ทำให้ในช่วงนี้ ว่าที่คุณพ่อมือใหม่อาจจะต้องวางแผนรับมืออารมณ์ที่แปรปรวนง่ายของคุณแม่กันสักหน่อย

หากคุณสงสัยว่า กำลังตั้งครรภ์ ลองสังเกตจาก 10 สัญญาณเตือนเหล่านี้ดู และเพื่อความมั่นใจมากขึ้น การไปตรวจครรภ์กับแพทย์โดยตรงจะช่วยยืนยันได้ว่า คุณกำลังจะมีเจ้าตัวน้อยจริงหรือไม่ 

หากคุณพบว่า ตนเองกำลังตั้งครรภ์อยู่จริงๆ ก็จะได้ฝากครรภ์กับแพทย์ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยที่กำลังจะเกิดมาด้วย

ทั้งนี้อาการดังกล่าวอาจไม่ได้เกิดขึ้นทั้งหมด และอาจมีอาการอื่นแตกต่างกันไปในคุณแม่ที่มีโรคประจำตัว หรือมีการติดเชื้อเกิดขึ้น หรืออาจเป็นโรคอื่นทั้งที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ 

ทั้งนี้ควรสังเกตอาการประจำเดือนขาดเป็นหลัก และตรวจการตั้งครรภ์ด้วยปัสสาวะ และอัลตราซาวน์เพิ่มเติมได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD, Pregnancy Symptoms: 10 Early Signs That You Might Be Pregnant (https://www.webmd.com/baby/guide/pregnancy-am-i-pregnant#1)
Nola Holness, High-Risk Pregnancy, Nurs Clin North Am. 2018 Jun;53(2):241-251.
NHS (National Health Service), Signs and symptoms of pregnancy (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/signs-and-symptoms-pregnancy/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม