เอนไซม์สำคัญอย่างไร?

อ่านข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับเอนไซม์ รู้หรือไม่ว่าเอนไซม์มีความสำคัญต่อร่างกายของคุณ แหล่งของเอนไซม์ที่ดีที่สุด และข้อมูลเกี่ยวกับเอนไซม์ต่างๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เอนไซม์สำคัญอย่างไร?

รู้หรือไม่ว่าเปปซินเป็นเอนไซม์ที่หน้าที่ย่อยโปรตีนในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เรนนินช่วยเสริมความแข็งแกร่งของกระดูกและฟัน ไลเปสสามารถยับยั้งการติดเชื้อไวรัส และเรื่องราวที่น่าสนใจอื่นๆอีกมากมาย 

หน้าที่ของเอนไซม์

เอนไซม์มีความจำเป็นต่อการย่อยอาหาร นำวิตามิน เกลือแร่ และกรดแอมิโนที่ค่าเข้าสู่ร่างกาย ช่วยให้เรามีชีวิตอยู่ได้และมีสุขภาพที่ดี เอนไซม์ยังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา หรือสารที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่างๆ ขึ้นภายในร่างกาย โดยที่ตัวมันเองไม่ถูกเปลี่ยนแปลงหรือทำลายโดยกระบวนการที่เกิดขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เอนไซม์แต่ละชนิดจะทำงานกับอาหารแต่ละประเภท โดยไม่สามารถทำงานแทนกันได้ ภาวะที่ร่างกายขาดแคลนหรือไม่มีเอนไซม์แม้เพียงตัวใดตัวหนึ่ง อาจส่งผลถึงขั้นล้มป่วยได้เลยทีเดียว ตัวอย่างหน้าที่ของเอนไซม์

  • เปปซิน เป็นเอนไซม์ย่อยอาหารที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ตัดแบ่งเส้นสายโปรตีนให้เป็นกรดแอมิโนที่ร่างกายนำไปใช้ได้ หากปราศจากเปปซิน ร่างกายจะไม่สามารถนำโปรตีนมาใช้สร้างผิวพรรณที่มีสุขภาพดี โครงสร้างกระดูกที่แข็งแรง เม็ดเลือดที่คอยหล่อเลี้ยง และกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่ง
  • เรนนิน เป็นเอนไซม์ย่อยอาหารที่ช่วยให้น้ำนมที่ดื่มเข้าไปเกิดการแข็งตัวช่วยเปลี่ยนโปรตีนเคซีนจากนมให้เป็นรูปที่ร่างกายนำไปใช้ได้ เรนนินช่วยให้แร่ธาตุที่มีประโยชน์จากนม เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และเหล็ก ถูกร่างกายนำไปใช้ในการสร้างสมดุลเกลือแร่และน้ำ เพิ่มความแข็งแรงของระบบประสาท และเสริมความแข็งแกร่งของกระดูกและฟัน
  • ไลเปส ช่วยตัดแบ่งไขมัน ซึ่งไขมันที่ได้จะถูกร่างกายนำไปใช้บำรุงเซลล์ผิวหนัง ปกป้องร่างกายจากภาวะฟกช้ำดำเขียว ยับยั้งการติดเชื้อไวรัสและภาวะภูมิแพ้ต่างๆ

เอนไซม์หาได้จากไหน?

แหล่งของเอนไซม์ที่ดีที่สุด มีดังต่อไปนี้ 

  • ผลไม้ 
  • ผักใบเขียวต่างๆ 
  • ไข่ไก่ 
  • เนื้อสัตว์ 
  • ปลา 

อย่างไรก็ตาม เอนไซม์สามารถถูกทำลายได้ด้วยความร้อน ฉะนั้นจึงควรกินผักผลไม้สดเพื่อรับเอนไซม์ให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงอาการแปรรูปให้มากที่สุด

กรดไฮโดรคลอลิกที่ทำงานร่วมกับเอนไซม์คืออะไร?

กรดไฮโดรคลอริก เป็นกรดในกระเพาะอาหารที่ทำปฏิกิริยากับอาหารหนักๆ เช่น เนื้อแดงย่อยยาก ผัก เนื้อสัตว์ปีก เป็นตัวย่อยโปรตีน แคลเซียม และธาตุเหล็ก การขาดกรดไฮโดรคลอริกอาจสัมพันธ์กับโรคต่างๆ อาทิเช่น 

  • ภาวะโลหิตจางแบบเฟอร์นิเชียส (โลหิตจางเพราะขาดวิตามินบี 12) 
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร 
  • ภาวะขาดกรดในกระเพาะแต่กำเนิด 
  • ภูมิแพ้ 

ความเครียด อารมณ์โกรธ และความวิตกกังวลก่อนการรับประทานอาหาร รวมไปถึงภาวะขาดวิตามินบางชนิด (โดยเฉพาะวิตามินบีรวม) และแร่ธาตุ อาจทำให้ร่างกายขาดกรดไฮโดรคลอริกได้ พวกเราหลายคนจึงมีกรดนี้น้อยกว่าที่ควรจะเป็นโดยไม่รู้ตัว 

ถ้าคุณคิดว่าตัวเองมีปัญหากรดมากเกินไปหรือมีอาการเรอเปรี้ยวจึงรับประทานยาลดกรดเข้าไป แสดงว่าคุณอาจไม่ทราบว่า อาการของการมีกรดน้อยเกินไปเหมือนกับการมีกรดมากเกินไปทุกประการ ซึ่งในกรณีนี้ การรับประทานยาลดกรดจึงเป็นสิ่งที่แย่ที่สุดสำหรับคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นายแพทย์อลัน นิตต์เลอร์ ผู้ประพันธ์หนังสือเรื่อง A New Breed of Doctor ได้กล่าวเน้นไว้ว่า ทุกคนที่อายุสี่สิบปีขึ้นไปควรรับประทานกรดไฮโดรคลอริกเสริม

บีเทนไฮโดรคลอริกและกรดกลูตามิกไฮโดรคลอริก เป็นรูปที่ดีที่สุดหากคุณจะหากรดนี้มารับประทานเสริม

ข้อควรระวังของเอนไซม์

หากคุณมีแผลในกระเพาะอาหาร ปรึกษาแพทย์ของคุณก่อนเริ่มรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทนี้

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Physiology, Pepsin. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK537005/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)