มะเร็งชนิดใดบ้างที่เกิดจากแป๊ปปิโลมาไวรัส (papillomavirus, HPV)

เผยแพร่ครั้งแรก 3 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
มะเร็งชนิดใดบ้างที่เกิดจากแป๊ปปิโลมาไวรัส (papillomavirus, HPV)

ไม่ใช่แค่มะเร็งปากมดลูกเท่านั้น ไวรัส HPV สามารถก่อให้เกิดมะเร็งชนิดอื่นได้อีกด้วย

แป๊ปปิโลมาไวรัส หรือ ไวรัส HPV เกิดจากติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิง เชื้อ HPV คือกลุ่มเชื้อไวรัสที่ประกอบไปด้วยไวรัสกว่า 200 สายพันธุ์ และอย่างน้อย 40 สายพันธุ์ที่สามารแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสทางผิวหนัง เชื้อสามารถแพร่กระจายผ่านทางเพศสัมพันธ์หรือผ่านผิวหนังและเยื่อเมือกของผู้ที่ติดเชื้อ โดยเชื้อนั้นไม่เพียงแต่เกิดในเพศหญิงเท่านั้น เชื้อสามารถแพร่ไปสู่เซลล์อื่นได้เช่นกัน ไม่เพียงแค่เซลล์ปากมดลูก ดังนั้นเพศชายจึงสามารถติดเชื้อ HPV ได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากโรคมะเร็งปากมดลูกแล้ว เชื้อ HPV ยังสามารถก่อให้เกิดมะเร็งชนิดอื่นได้เช่นกัน ดังนี้. 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • มะเร็งปากมดลูก การติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ไม่ได้ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเสมอไป แต่อาจเกิดเป็นหูด หรือรอยโรคอื่นได้ แต่หากติดเชื้อไวรัสชนิด  HPV-16 และ  HPV-18 มากกว่า 70% จะก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกขึ้น การสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อผู้ที่ติดเชื้อ  HPV อยู่แล้วให้เกิดเป็นมะเร็งได้
  • โรคมะเร็งอวัยวะเพศหญิง เกิดจากเชื้อ HPV ได้เช่นกัน 65% ของโรคมะเร็งชนิดนี้เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ HPV-16 และเนื่องจากเป็นเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์กลุ่มเสี่ยงจึงเป็นผู้หญิงที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • โรคมะเร็งทวารหนัก (Anal cancer) ในเพศชาย ประมาณ 65%เป็นโรคมะเร็งทวารหนักที่เกิดจากเชื้อ HPV โดยสายพันธุ์ก่อโรคหลักคือ HPV-16 และเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
  • โรคมะเร็งอวัยวะเพศชาย (Penile cancer) ประมาณ 35 % ของเพศชายเกิดมะเร็งชนิดนี้ผ่านการติดเชื้อ HPV และเชื้อสายพันธุ์ก่อนโรคคือ HPV-16 และเช่นเดิมเกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • มะเร็งของ หู คอ จมูก (Head and Neck Cancer) หลายคนอาจคิดว่าเชื้อ HPV ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ดังนั้นมะเร็งที่อาจเกิดขึ้นได้จะต้องอยู่ในบริเวณระบบสืบพันธุ์ แต่จริงๆแล้ว เชื้อ HPV สามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งหู คอ จมูกได้เช่นกัน โดยเฉพาะบริเวณช่องปากและลำคอ เพดานอ่อน โคนลิ้น หรือ ต่อมทอนซิลก็ได้ ซึ่ง 70% ของผู้ป่วยมีสาเหตุจากการทำกิจกรรมทางเพศโดยใช้ปาก

แป๊ปสเมียร์เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่เหมาะสมหรือไม่

แป๊ปเทสต์ โดยมากเกิดความผิดพลาดในการตรวจหามะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าวิธีการตรวจหาเชื้อ HPV

มะเร็งปากมูดลูกสามารถเกิดได้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ นอกเหนือจากนั้นคือการสูบบุหรี่ มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน มีบุตรหลายคน การใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน เป็นผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี และมีเชื้อ HPV ในร่างกาย ก็เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ โดยหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีเพศสัมพันธ์แล้วทุกคนควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แป๊ปสเมียร์เป็นวิธีแนะนำ ในการตรวจคัดกรองหามะเร็งปากมดลูก แต่อย่างไรก็ตามแปปสเมียร์แท้จริงแล้วเหมาะสมหรือไม่

แป๊ปสเมียร์เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมาก แต่แป๊ปสเมียร์แท้จริงแล้วเกิดความผิดพลาดในการตรวจหามะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าวิธีการตรวจหาเชื้อ HPV โดยมีข้อมูลว่าวิธีการตรวจหาเชื้อ HPV นั้นมีความไวต่อการตรวจหาเชื้อในบริเวณจำกัดและจำเพาะเจาะจง แต่จะไม่ไวต่อการตรวจเชื้อในบริเวณกว้าง ด้วยข้อจำกัดนี้จึงควรตรวจด้วยวิธีการทั้ง 2 วิธีร่วมกัน และควรตรวจคัดกรองทุก 5 ปี

วิธีการใดเป็นวิธีที่เหมาะสมในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยข้อสำคัญคือถ้าตรวจพบโรคมะเร็งได้เร็วก็จะทำให้มีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นถึง 91% งานวิจัยพบว่าประมาณ 80% ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกนั้นไม่เคยผ่านการตรวจคัดกรองมาก่อน การตรวจคัดกรองนั้นมีได้หลายวิธี วิธีที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละคนแต่หากตรวจพบเชื้อ HPV ได้เร็วจะทำให้ได้รับการรักษาเร็ว เช่นหูดที่เกิดจากเชื้อ HPV ก็จะหายได้ ยังไม่มีวิธีการรักษาที่หายขาดดังนั้นการพบเชื้อเร็วก็ลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้มาก

มะเร็งปากมดลูก แป๊ปสเมียร์ และวิธีการตรวจอื่นๆ 

เพราะโรคมะเร็งปากมดลูกนั้นไม่มีอาการ การตรวจคัดกรองและวินิจฉัยนั้นจึงทำได้ยาก วิธีที่จะทำให้เกิดโรคน้อยลงคือวิธีการหมั่นสังเกตและตรวจคัดกรอง โดยวิธี แป๊ปสเมียร์ และตรวจหาเชื้อ HPV

การตรวจโดยวิธีแป๊ปสเมียร์คืออะไร

แป๊ปสเมียร์ หรือ Papanicolaou (Pap) Smear คือการทดสอบคัดกรองหาเซลล์มะเร็งในบริเวณปากมดลูกก่อนที่จะเกิดมะเร็งขึ้น และจะช่วยตรวจหาอาการต่างๆที่อาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้ ซึ่งการตรวจแป๊ปสเมียร์จะทำร่วมกับการตรวจภายใน โดยจะเก็บตัวอย่างจากปากมดลูกแล้วนำมาส่องใต้กล้องจุลทรรศน์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ควรรับการตรวจคัดกรองครั้งแรกเมื่อใด

แนะนำให้ตรวจแป๊ปสเมียร์ทุกๆ 2 ปี โดยเริ่มตรวจเมื่อมีอายุ 21 ปี โดยหากพบความผิดปกติต่างๆหลังจากการตรวจ ไม่จำเป็นต้องหมายถึงการเป็นโรคมะเร็ง แจ่อาจเป็นการอักเสบ หรือเป็นโรคติดต่าทางเพศสัมพันธ์ก็ได้

ความถี่ในการตรวจแป๊ปสเมียร์

ควรไปพบแพทย์เพื่อรับฟังคำแนะนำจากแพทย์ว่าควรเริ่มตรวจเมื่ออายุเท่าใด และความถี่ที่เหมาะสมกับเรา และควรหยุดตรวจคัดกรองเมื่อใด โดยมีข้อแนะนำดังนี้

  • หากมีอายุน้อยกว่า 21 ปี ควรรับการตรวจคัดกรองครั้งแรกเมื่ออายุครบ 21 ปี และตรวจซ้ำทุก 2 ปี และเมื่อมีอายุครบ 30 ปีโดยมีผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ครั้ง จึงสามารถเว้นการตรวจคัดกรองเป็นตรวจซ้ำทุก 3 ปีแทน
  • หากมีอายุมากกว่า 65 ปี และมีผลการตรวจแป๊ปสเมียร์ปกติ อาจไม่จำเป็นต้องตรวจซ้ำในอนาคต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์
  • หากเคยได้รับการตัดมดลูกออก และการตัดออกนั้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากมะเร็ง ก็ไม่จำเป็นต้องมีการตรวจคัดกรอง

การตรวจคัดกรองโดยวิธีตรวจหาเชื้อ HPV ใช้ตรวจติดตามการผิดปกติของเซลล์โดยร่วมกับวิธีแป๊ปสเมียร์ โดยควรแนะนำให้หญิงอายุ 21-30 ปีทุกคนรับการตรวจนี้

วิธีการตรวจคัดกรองอื่นๆ ได้แก่

  • การส่องกล้องตรวจปากมดลูกด้วยคอลโปสโคป (Colposcopy) ซึ่งเป็นกล้องที่มีแสงและกำลังขยายเพื่อส่องมองเซลล์ภายในอวัยวะเพศและเซลล์ปากมดลูกโดยไม่ได้ส่องกล้องเข้าไปในอวัยวะเพศ
  • การตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) เป็นการตัดชิ้นเนื้อบริเวณมดลูก โดยมีการให้ยาชา และนำชื้นเนื้อมาตรวจหาและส่องดูภายใต้กล้องจุลทรรศ์เพื่อหาเซลล์ที่ผิดปกติ โดยวิธีการตรวจนี้อาจทำให้เลือดออกหรือปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน แต่หายได้อย่างรวดเร็ว
  • การเอ็กซ์เรย์ช่องอก, ตรวจซีทีสแกน , เอ็มอาร์ไอ และการตรวจแพ็ท (Chest X-rays, CT scan, MRI, PET) การสแกนด้วยวิธีเหล่านี้สามารถนำมาช่วยหาระยะของการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ และทราบว่ามีการลุกลามไปที่บริเวณอื่นหรือไม่

 

 

 


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Human papillomavirus (HPV) and cervical cancer. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/human-papillomavirus-(hpv)-and-cervical-cancer)
Human Papillomavirus (HPV) and Cancer. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/cancer/hpv/index.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การตั้งครรภ์หลังจากเคยได้ทำหัตถการ LEEP
การตั้งครรภ์หลังจากเคยได้ทำหัตถการ LEEP

การทำหัตถการ LEEP จะเป็นสาเหตุของการแท้งหรือไม่? และฉันจะยังสามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากเคยได้ทำหัตถการ LEEP จริง ๆ หรือ?

อ่านเพิ่ม
มะเร็งปากมดลูก: สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา และ วัคซีนป้องกัน
มะเร็งปากมดลูก: สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา และ วัคซีนป้องกัน

รู้จักสาเหตุของมะเร็งปาดมดลูก วิธีรักษา และข้อควรรู้อื่นๆ เพื่อป้องกันโรคดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม
ThinPrep Pap Test นวัตกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ThinPrep Pap Test นวัตกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี ThinPrep Pap Test ซึ่งให้ผลแม่นยำกว่าการตรวจแปปสเมียร์ดั้งเดิม

อ่านเพิ่ม