กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

วิธีสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่ได้

บอกดีไม่บอกดี?
เผยแพร่ครั้งแรก 7 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วิธีสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่ได้

1) จริงหรือไม่ที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ อยากรู้ความจริงถ้าเกิดตัวเองเป็น มะเร็งขึ้นมาจริงๆ?

2) จริงหรือไม่ที่ผู้ป่วยจะยิ่งเจ็บ ป่วยหนักขึ้นมีอารมณ์ซึมเศร้าจนหมดกำลังใจที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปหากรู้ความจริงว่าตัวเอง เป็นมะเร็ง?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เราพบว่าความรู้สึกทั้งสอง อย่างข้างต้น เป็นความจริงที่เกิด ขึ้นได้ แต่มักเป็นเพียงช่วงเวลาไม่ นานและไม่ได้เป็นตลอดไป  
ทุกๆ คนคงไม่มีใครอยากเป็น โรคร้ายที่รักษาไม่หาย แต่หากมัน ต้องเกิดขึ้นกับเราจริงๆ
ลองถามตัวเองดูสิคะว่า เราอยากรู้ความจริงเกี่ยวกับตัวเองไหม?

กระบวนการบอกและกระบวนการหลังการบอกที่ดีที่มีคนช่วยรับฟังและเข้าใจผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถผ่านช่วงเวลาลำบากนี้ไปได้ การสำรวจพบว่าผู้ป่วยร้อยทั้งร้อยอยากรู้ความจริงว่าตัวเองเป็นโรคอะไร แม้จะต้องเผชิญกับความรู้สึกหลายอย่างที่ประดังเข้า มาทั้งความกลัว ความกังวล และอารมณ์ซึมเศร้าก็ตาม บางครั้งผู้ป่วยอาจจะพูดว่า“ถ้าเป็นมะเร็งขอตายดีกว่า”แต่ความหมายที่แท้จริงในประโยคไม่ได้แปลว่าผู้ป่วยไม่อยากรู้ความจริง แต่แปลว่าผู้ป่วยไม่อยากทรมานจากอาการที่อาจจะเกิดจากโรคมะเร็งมากกว่า
สิ่งที่สำคัญกว่าการรู้หรือไม่รู้ว่าเป็นมะเร็งหรือโรคร้ายอื่นๆ คงจะเป็นเรื่องของ การวางแผนชีวิต ทั้งวางแผนการรักษาว่าจะเลือก การรักษาแบบใด และการวางแผนทำสิ่งที่อยากทำแล้วยังไม่ได้ทำ หากผู้ป่วยไม่รู้ว่าตัวเองเจ็บป่วยร้ายแรง มีเวลาเหลืออยู่จำกัด ผู้ป่วยอาจไม่ได้วางแผนชีวิต และหากต้องเสียชีวิตไปอย่างติดค้างที่ไม่ได้ทำสิ่งที่ต้องการทำ อาจจะทำให้ญาตรู้สึกผิดตามมาภายหลังได้

ห้ามบอกนะคะ!

ผู้ป่วยหลายๆ คนอาจบอกไว้กับญาติล่วงหน้าว่ากลัวเป็นโรคมะเร็ง หรือโรครา้ยแรง เพราะคนสว่นใหญ่เชื่อมโยงโรคมะเร็งกับความเจ็บปวดทรมาน และภาพที่น่ากลัวจากประสบการณ์ที่อาจจะเคยเห็นมาในอดีต เมื่อญาติได้รับข้อมูลว่าผู้ป่วย มีทัศนคติที่ไม่ดีกับโรคมะเร็ง มักทำให้เกิดความรู้สึกเป็นห่วงว่า ผู้ป่วยอาจจะทำใจไม่ได้หากรู้ความจริง จึงมีญาติของผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่มักขอร้องแพทย์ไม่ให้บอกความจริงกับผู้ป่วย ในความเป็นจริงโรคมะเร็งแต่ละชนิดทำให้เกิดอาการไม่เหมือนกัน และถึงแม้จะเกิดอาการต่างๆ เช่น อาการปวด หอบเหนื่อย คลื่นไส้ อาเจียน จากโรคมะเร็งก็ สามารถทำการรักษาได้ มีญาติของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับรายหนึ่งกำชับหมอหนักหนาว่า “คุณหมออย่าเผลอพูดไปเชียวนะคะ ว่าแม่เป็นมะเร็ง ถ้าเค้ารู้แล้วเค้าอาจจะตรอมใจจนอาการแย่ลงได้” หมอจึงพยายามระมัดระวังเรื่องนี้เต็มที่ เมื่อเข้าไปคุยกับผู้ป่วย ประโยคแรกที่ผู้ป่วยถามคือ “หมอ ฉันเตรียมพินัยกรรมอะไรเรียบร้อยหมดแล้วล่ะ แต่สงสัยแค่ว่าฉันจะอยู่ได้ทันงานบวชหลานไหมจ๊ะนี่” จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยรู้ว่าตัวเองไม่สบายมาก มีสิ่งสำคัญในชีวิตที่ยังอยากทำอยู่และรู้ว่าต้องรีบทำให้สำเร็จ โดยไม่ได้สนใจว่าตัวเองป่วยเป็นโรคอะไร เมื่อถามผู้ป่วยว่ารู้ไหมว่าตัวเองเป็นอะไร ผู้ป่วยบอกว่าตนเองเป็นโรคตับและยังบอกหมออีกด้วยว่า “โชคดีนะ ที่ฉันไม่ได้เป็นมะเร็ง ไม่งั้นคงจะทรมานแย่เลย” ผู้ป่วยรายนี้เชื่อมโยงโรคมะเร็งกับความเจ็บปวด ทรมาน เนื่องจากเคยมีญาติพี่น้องป่วยเป็นมะเร็งหลายคน และทุกคนเสียชีวิตแบบทรมาน ในกรณีแบบนี้แพทย์ไม่จำเป็นต้องยัดเยียดให้ผู้ป่วยทราบ การวินิจฉัย เนื่องจากผู้ป่วยทราบว่าตัวเองไม่สบายมาก และได้วางแผนชีวิตที่เหลือของตัวเองเอาไว้หมดแล้ว

ต้องบอกนะคะ

เอาล่ะสิคะ! เมื่อผู้ป่วยกับญาติมี ความเห็นไม่ตรงกัน คราวนี้เราจะ ทำอย่างไรดี? ถ้าบอกผู้ป่วยไปญาติก็อาจจะเคืองได้ แต่ถ้าไม่บอกผู้ป่วยจะผิดจรรยาบรรณแพทย์ไหมคะ?

กลับมาที่ความรู้สึกพื้นฐานอีกทีนะคะ  

ที่ญาติไม่ให้บอกความจริงส่วนใหญ่เป็นเพราะห่วงความรู้สึกของผู้ป่วย กลัวว่าผู้ป่วยจะซึมเศร้าจนกระทั่งไม่มีกำลังใจจะมีชีวิตอยู่ต่อไป

ความจริง

เมื่อต้องรับรู้ข่าวไม่ดี แน่นอนว่าทุกคนคงไม่สามารถทำใจยอมรับได้ทันที บางคนอาจจะรู้สึกว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องไม่จริง หมอน่าจะต้องวินิจฉัยผิดพลาด บางคนอาจจะรู้สึกโกรธที่ตัวเองต้องมาเป็นโรคร้าย ทั้งๆ ที่เป็นคนที่ดูแลสุขภาพตัวเองอย่างดีมาตลอด บางคนรู้สึกว่าจะต้องพยายามทำทุกอย่างให้สามารถรักษาโรคให้หายได้ และบางคนอาจจะรู้สึกซึมเศร้า หดหู่ ความรู้สึกหลากหลายดังกล่าวอาจจะเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นสลับไปมา ผู้ป่วยและครอบครัวอาจมีคำถามเกิดขึ้นมากมายพร้อมๆ กับความรู้สึกที่เกิดขึ้น แต่คงไม่มีใครที่จะรู้สึกโกรธ ไม่พอใจ หรือซึมเศร้าตลอดชีวิตที่เหลืออยู่ วงจรความรู้สึกของผู้ป่วยอาจจะสลับไปมาจนกระทั่งค่อยๆ เปลี่ยนเป็นการยอมรับ ความรู้สึกไม่ดีดังกล่าว อาจจะเปลี่ยนแปลงด้วยการได้พูดคุยซักถามกับคนในครอบครัวเพื่อน หรือแพทย์ผู้ดูแล หรืออาจจะเกิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์การรักษาโรคของผู้ป่วยแต่ละคน

ที่มา: ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก หมอเป้ พญ.ดาริน จตุรภัทรพร
ผู้แต่งหนังสือ  สุข รัก เข้าใจ ในช่วงสุดท้ายของชีวิต | Facebook Page: รักก่อนกำเนิด เกิดก่อนกำหนด | @Lynlanara


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Conveying hope in consultations with patients with life-threatening diseases: the balance between supporting and challenging the patient. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5499314/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 สถานที่ที่คุณสามารถหาวิกผมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการรักษามะเร็ง
5 สถานที่ที่คุณสามารถหาวิกผมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการรักษามะเร็ง

เคมีบำบัดนั้นต่อสู้กับมะเร็งแต่สามารถทำให้เกิดผมร่วงได้เช่นกัน

อ่านเพิ่ม
การต่อต้านภัยมะเร็ง มีสีอะไรบ้าง และแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง
การต่อต้านภัยมะเร็ง มีสีอะไรบ้าง และแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการซื้อสินค้าเพื่อการต่อต้านภัยมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
ฉันจะจ่ายค่าวิกผมระหว่างทำเคมีบำบัดอย่างไร
ฉันจะจ่ายค่าวิกผมระหว่างทำเคมีบำบัดอย่างไร

ประกันสุขภาพอาจคลอบคลุมค่าใช้จ่ายการซื้อวิกผม

อ่านเพิ่ม