อาการปวดสะโพก (Hip pain)

อาการปวดสะโพก มักเกิดจากภาวะเส้นเอ็นอักเสบ หรือโรคข้ออักเสบ หากมีอาการไม่รุนแรงมาก การพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้หายเป็นปกติได้ใน 2-3 วัน
เผยแพร่ครั้งแรก 30 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการปวดสะโพก (Hip pain)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการปวดสะโพก หมายถึงความรู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบายบริเวณสะโพกหรือรอบๆ เช่น ขาหนีบ หรือต้นขา มักมีสาเหตุมาจากเส้นเอ็นอักเสบ (Tendonitis) ที่เกิดจากการออกกำลังกาย หรือออกแรงมากเกินไป อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้สามารถหายได้เองภายในเวลาไม่กี่วันโดยที่ไม่จำเป็นต้องรักษาใดๆ

สาเหตุของอาการปวดสะโพก

นอกจากเส้นเอ็นอักเสบแล้ว อาจพบอาการปวดสะโพกได้จากสาเหตุดังนี้

  • โรคข้ออักเสบ (Arthritis) สามารถทำให้เกิดอาการปวดข้อ อาการกดเจ็บ และทำให้ผู้ป่วยเดินลำบาก โรคข้ออักเสบแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท เช่น
    • โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นผลมาจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนของข้อต่อตามอายุของผู้ป่วย
    • การบาดเจ็บที่ข้อต่อ เช่น กระดูกร้าวหรือแตกหัก อาจทำให้เกิดโรคข้ออักเสบเหตุบาดเจ็บ (Traumatic Arthritis) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับโรคข้อเสื่อม
    • รคข้ออักเสบเหตุติดเชื้อ (Infectious Arthritis) เกิดจากการติดเชื้อในข้อต่อทำให้กระดูกอ่อนถูกทำลาย
    • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) เกิดจากภาวะแพ้ภูมิตนเอง ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายโจมตีเนื้อเยื่อข้อต่อ โรคข้ออักเสบชนิดนี้อาจทำลายกระดูกอ่อนและกระดูกในบริเวณข้อต่อจำนวนมาก
  • ภาวะอักเสบของถุงข้อต่อสะโพก (Trochanteric Bursitis) ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อถุงหุ้มข้อต่อ (Bursae) ซึ่งเป็นถุงที่เต็มไปด้วยของเหลวใกล้กับข้อต่อสะโพกเกิดการอักเสบขึ้น มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้บริเวณนี้เกิดการอักเสบขึ้นได้ เช่น การบาดเจ็บที่สะโพก การใช้สะโพกมากเกินไป การมีทำท่าไม่เหมาะสม การเป็นโรคข้ออักเสบ ภาวะนี้มักพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • กระดูกสะโพกหัก พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ภาวะกระดูกสะโพกหักทำให้เกิดอาการปวดสะโพกอย่างกะทันหัน และจำเป็นต้องเข้าพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น ลิ่มเลือดในขา การแตกหักของสะโพกมักจะต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด และจำเป็นจะต้องทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหวเช่นเดิม
  • ภาวะ Snapping Hip Syndrome มักเกิดขึ้นในนักเต้นหรือนักกีฬา โรคดังกล่าวทำให้เกิดเสียงกร๊อบในสะโพกหรือความรู้สึกเหมือนสะโพกหักเนื่องจากฉีกขาดของกระดูกอ่อน หรือชิ้นส่วนอื่นของเนื้อเยื่อในสะโพก ผู้ที่มีภาวะนี้อาจไม่รู้สึกเจ็บปวด หรือเกิดรู้สึกปวดสะโพกในบางกรณี
  • ภาวะกระดูกตาย (Osteonecrosis) เกิดขึ้นเมื่อเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกระดูกได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาชั่วคราวหรือเป็นถาวร ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุของโรคกระดูกตายจากการขาดเลือด แต่คาดว่าอาการเกิดจากการบาดเจ็บของข้อต่อ การใช้สเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน การติดสุราเรื้อรัง และการรักษาโรคมะเร็ง

เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์

หากมีอาการปวดสะโพกนาน 2-3 วัน ร่วมกับมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • สะโพกมีเลือดออก
  • สังเกตได้อย่างชัดเจนว่ากระดูกหรือกล้ามเนื้อโผล่ออกมานอกผิวหนัง
  • มีเสียงดังกร๊อบเกิดขึ้น
  • ไม่สามารถทิ้งน้ำหนักตัวลงบนสะโพกได้
  • ข้อต่อสะโพกมีรูปร่างผิดปกติ
  • ข้อต่อสะโพกบวม
  • มีอาการปวดสะโพกอย่างรุนแรง

อาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณของภาวะที่ร้ายแรง เช่น โรคข้ออักเสบเหตุติดเชื้อ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้ข้อต่อผิดรูปและเกิดภาวะข้อเสื่อมตามมาได้

การวินิจฉัยอาการปวดสะโพก

ในการวินิจฉัยโรคข้ออักเสบ แพทย์จะตรวจเลือด ปัสสาวะ และส่งตรวจภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์ เช่น การทำ CT Scan หรือการทำ MRI ซึ่งบางครั้งก็อาจต้องเจาะตรวจของเหลวภายในข้อต่อเพื่อทดสอบในห้องปฏิบัติการด้วย โดยภาพรังสีสามารถให้ข้อมูลเรื่องรายละเอียดของกระดูก กระดูกอ่อน และเนื้อเยื่ออื่นๆ โดยรอบบริเวณที่ผิดปกติ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการได้แม่นยำมากขึ้น

การรักษาอาการปวดสะโพก

การรักษาอาการปวดสะโพกจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ หากอาการปวดสัมพันธ์กับการออกกำลังกายอย่างหนัก  เพียงแค่พักผ่อนให้เพียงพอก็จะทำให้อาการดีขึ้น แต่หากอาการปวดสะโพกเกิดจากโรคข้ออักเสบ แพทย์อาจจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการปวดและตึง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สำหรับอาการปวดจากการบาดเจ็บ แพทย์อาจผู้ป่วยนอนพักในโรงพยาบาลและใช้ยาบางชนิด เช่น ยา Naproxen เพื่อบรรเทาอาการบวมและปวด ส่วนผู้ป่วยที่กระดูกสะโพกแตกหัก หรือสะโพกผิดรูป ง อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสะโพก

ที่มาของข้อมูล

Kati Blake, What Causes Hip Pain? (https://www.healthline.com/symptom/hip-pain), March 1, 2016


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
5 Common Causes of Hip Pain in Women. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/hip-pain/five-common-causes-of-hip-pain-in-women.aspx)
Hip Pain: Causes, Treatments, and When to Seek Help. Healthline. (https://www.healthline.com/health/hip-pain)
Hip pain in adults - NHS (https://www.nhs.uk/conditions/hip-pain/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)