กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Overactive Thyroid)

ภาวะต่อมไทรอยด์เกินคืออะไร เกิดจากอะไรได้บ้าง หากเป็นแล้วจะมีอันตรายมากหรือไม่ มีวิธีการรักษาอย่างไร ?
เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Overactive Thyroid)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน  คือภาวะความผิดปกติของฮอร์โมนที่มีมากเกินไป ทำให้ร่างกายมีกระบวนการเผาผลาญที่มากขึ้น และทำให้เกิดอาการต่างๆ ขึ้น 
  • อาการของภาวะไทรอยด์ทำงานเกิน เช่น อยู่ไม่สุข ตื่นเต้น คอบวม นอนไม่หลับ เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ อ่อนไหวต่อความร้อน และอาจรวมถึงการมีบุตรยาก 
  • สาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น โรคคอพอกตาโปน อาหารเสริมไอโอดีน โรคปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์ เป็นต้น 
  • การวินิจฉัย แพทย์จะซักประวัติร่วมกับการตรวจเลือด ตรวจฮอร์โมน และมักรักษาด้วยยาเป็นหลัก อาจมีบางกรณีที่ต้องผ่าตัด ขึ้นอยู่กับการแนะนำของแพทย์ 
  • ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่ 

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Overactive thyroid หรือ Hyperthyroidism) คือภาวะความผิดปกติของฮอร์โมนที่มีมากเกินไป ทำให้ร่างกายมีกระบวนการเผาผลาญที่มากขึ้น และทำให้เกิดอาการต่างๆ ขึ้น เช่น ตื่นเต้นและวิตกกังวล อยู่ไม่สุข น้ำหนักลด และต่อมไทรอยด์บวมโต

ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินมากกว่าผู้ชาย 10 เท่า ส่วนมากผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการครั้งแรกในอายุระหว่าง 20-40 ปี แต่ก็อาจพบได้ในทุกช่วงอายุ รวมถึงในเด็กด้วย นอกจากนี้ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ยังถูกพบบ่อยที่สุดในชาวเอเชียและคนผิวขาว แตพบได้น้อยในผู้คนแถบแอฟริกาแคริปเปียน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการมากมาย ดังนี้

  • อยู่ไม่สุข ตื่นเต้น และวิตกกังวลตลอดเวลา
  • นอนไม่หลับ (insomnia)
  • คอบวมจากการโตขึ้นของต่อมไทรอยด์
  • หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ หรือหัวใจเต้นเร็ว
  • รู้สึกเหน็ดเหนื่อยตลอดเวลา และกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ปวดอุจจาระหรือปวดปัสสาวะบ่อยครั้ง
  • มีไขมันในอุจจาระมาก จนทำให้อุจจาระมีความมันเหนียวและไหลทิ้งชักโครกยาก (Steatorrhoea)
  • เล็บหลุดออกจากเนื้อเยื่อใต้เล็บ (Nail Beds)
  • อ่อนไหวต่อความร้อนและเหงื่อออกมาก
  • น้ำหนักลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือนขาด
  • มีบุตรยาก (infertility)
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • ใบหน้าและแขนขากระตุก

หากป่วยเป็นเบาหวาน (Diabetes) ร่วมด้วย อาการบางอย่างจากโรคเบาหวาน เช่น กระหายน้ำรุนแรง และเหน็ดเหนื่อย อาจมีมากขึ้นกว่าเดิม

ส่วนผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะไทรอยด์ทำงานเกิน จะมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตร เช่น แท้งบุตรหรือภาวะพิษครรภ์ (Eclampsia) และยังเสี่ยงต่อการคลอดบุตรก่อนกำหนด รวมถึงทำให้ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำได้อีกด้วย

สาเหตุของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน จะเกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมน Thyroxine หรือ Triiodothyronine ออกมามากเกินไป ซึ่งอาจเกิดจากภาวะหรือโรคต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • โรคคอพอกตาโปน (Graves' disease) : เป็นสาเหตุของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินที่พบได้ทั่วไป จัดอยู่ในกลุ่มโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เพราะเข้าโจมตีต่อมไทรอยด์จนทำให้ต่อมมีการผลิตฮอร์โมนออกมามากเกิน และยังอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่อดวงตา ทำให้เกิดอาการตาแห้ง อ่อนไหวต่อแสง เห็นภาพซ้อน สูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือดวงตาบวมเบ่งออกจากเบ้าตาอย่างเห็นได้ชัด

  • โรคปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์ (Thyroid Nodules) : คือภาวะที่มีปุ่มเนื้อโตขึ้นบนต่อมไทรอยด์ ทำให้เนื้อเยื่อของไทรอยด์ผิดรูปจนส่งผลต่อการผลิต Thyroxine หรือ Triiodothyronine และทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ทำงานเกินในที่สุด

  • อาหารเสริมไอโอดีน : ไอโอดีนมีส่วนช่วยให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมน thyroxine กับ triiodothyronine ออกมา แต่ถ้ารับประทานอาหารเสริมไอโอดีนมากเกินก็สามารถทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากขึ้นจนเกิดปัญหาตามมา ภาวะนี้เรียกว่าภาวะไทรอยด์เกินจากการบริโภคไอโอดีน (Iodine-Induced Hyperthyroidism)

  • Amiodarone : เป็นยารักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Anti-Arrhythmic) ที่ประกอบไปด้วยไอโอดีน สามารถทำให้เกิดภาวะไทรอยด์เกินบางประเภทที่มีความรุนแรงและรักษาได้ยาก เนื่องจากไปสร้างผลเสียต่อเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ โดยภาวะไทรอยด์เกินประเภทนี้เรียกว่า Amiodarone-Induced Hyperthyroidism

  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดฟอลลิคูลา : เกิดจากมะเร็งไทรอยด์ที่เริ่มใน Thyroid Follicles ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ หากเซลล์มะเร็งในต่อมไทรอยด์เริ่มผลิต Thyroxine หรือ Triiodothyronine ออกมา

การวินิจฉัยภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน

หากแพทย์คาดว่าคุณอาจมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน จะมีการวินิจฉัยโดยการตรวจเลือดเพื่อประเมินว่าต่อมไทรอยด์ทำงานได้ดีเพียงไหน โดยการตรวจประเภทนี้เรียกว่าการทดสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Function Tests) ซึ่งแพทย์จะนำตัวอย่างเลือดไปทดสอบหาระดับของ Thyroid-Stimulating Hormone (TSH) และ Thyroxine and Triiodothyronine (the Thyroid hormones)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากมีภาวะไทรอยด์ทำงานเกินจริง ระดับของ TSH ในเลือดจะมีค่าที่ต่ำกว่าปกติ แต่จะพบระดับของ Thyroxine กับ Triiodothyronine ที่สูงกว่าปกติ

แต่ในบางกรณี ผลการตรวจอาจแสดงให้เห็นระดับของฮอร์โมนไทรอยด์ที่เป็นปกติ แต่มีค่า TSH ที่ต่ำหรือลดลง ภาวะเช่นนี้เรียกว่าภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินแบบไม่แสดงอาการ (Subclinical Overactive Thyroid Gland) ที่ไม่จำเป็นต้องมีการรักษาใดๆ เนื่องจากอาการจะกลับสู่ปกติภายในเวลา 2-3 เดือนได้เอง

หากผลการทดสอบยืนยันว่าคุณมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน อาจต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมด้วยการสแกนไอโซโทปไทรอยด์ (Isotope Thyroid Scan) โดยให้คนไข้กลืนสารแผ่รังสีปริมาณน้อยเข้าไป ซึ่งมักจะเป็น Technetium ในรูปของแคปซูลหรือของเหลว จากนั้นจะมีการสแกนเพื่อวัดว่ามีไอโซโทปถูกไทรอยด์ดูดซับไปมากน้อยเพียงไหน หากต่อมไทรอยด์ดูดไอโซโทปในปริมาณมาก จะหมายความว่าสาเหตุของภาวะนี้ เกิดจากโรคคอพอกตาโปนหรือปุ่มเนื้อบนไทรอยด์

แต่ถ้าหากมีปริมาณที่ถูกดูดซับน้อย สาเหตุของภาวะนี้อาจเกิดจากอาการบวมของต่อมไทรอยด์ (Thyroiditis) การรับประทานไอโอดีนมากเกินไป หรือเกิดจากมะเร็งไทรอยด์

การรักษาภาวะต่อมไทรอยด์เกิน

การรักษาภาวะไทรอยด์ทำงานเกินที่นิยมดำเนินการกันอย่างแพร่หลาย มีดังนี้

  • Thionamides : เช่น Carbimazole หรือ Propylthiouracil เป็นกลุ่มยาที่ยับยั้งการผลิตฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ แต่อาจต้องใช้ยาเป็นเวลานาน 4-8 สัปดาห์จึงจะเห็นผล เมื่อกระบวนการผลิตฮอร์โมนอยู่ภายใต้การควบคุมแล้ว แพทย์จะค่อย ๆ ปรับขนาดยาที่ใช้ลง อาจพบผลข้างเคียง เช่น ผื่นคัน หรือปวดข้อต่อได้บ้าง แต่จะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อร่างกายปรับตัวได้ แต่ถ้าหากใช้ยาแล้วพบแผลในปาก มีไข้ เลือดออกตามเหงือก และหายใจไม่ออก ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
  • Beta-blockers : เช่น Propranolol หรือ Atenolol สามารถบรรเทาอาการของภาวะไทรอยด์ทำงานเกินได้ และยังช่วยบรรเทาอาการตัวสั่น หัวใจเต้นเร็ว และอยู่ไม่สุข อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อยคือ คลื่นไส้ เหนื่อยง่าย มือเท้าเย็น และนอนไม่หลับ
  • การรักษาด้วยการแผ่รังสีไอโอดีน (Radioiodine treatment) : การรักษาด้วยรังสีจะเป็นทั้งการดื่มหรือกลืนแคปซูลสารแผ่รังสีเข้าไป โดยปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจะมีอยู่ต่ำมากจนไม่เป็นอันตรายใดๆ ต่อร่างกาย ซึ่งรังสีจากไอโอดีนสามารถลดขนาดของต่อมไทรอยด์ลงและช่วยลดปริมาณการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ลง วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรือผู้ให้นมบุตร บางครั้งแพทย์อาจให้รักษาด้วย Thionamides ในระยะสั้นก่อนรักษาด้วยรังสีไอโอดีน เพราะจะช่วยให้การรักษารังสีลดความรุนแรงของอาการได้เร็วขึ้น
  • การผ่าตัด : การผ่าตัดกำจัดต่อมไทรอยด์บางส่วนหรือทั้งหมด เป็นวิธีการรักษาหากว่าต่อมไทรอยด์มีอาการบวมรุนแรง รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาด้วยรังสีได้เพราะกำลังตั้งครรภ์และไม่สมัครใจรับประทานยา Thionamides และผู้ป่วยมีอาการจากภาวะไทรอยด์กลับมาหลังสิ้นสุดการรักษาด้วยยา thionamides จนสำเร็จไปแล้ว แม้การรักษาแบบนี้จะช่วยลดปัญหาการกลับมาเป็นซ้ำ แต่ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาชดเชยฮอร์โมนไปตลอดชีวิต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

Thionamides หรือการรักษาด้วยการแผ่รังสีไอโอดีน แบบไหนดีกว่ากัน?

การเลือกวิธีการรักษาระหว่าง Thionamides กับการรักษาด้วยรังสีไอโอดีน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ อาการ และปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์ส่วนเกินที่พบในเลือด แต่บางครั้งคนที่ต้องตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาก็คือคนไข้ จึงได้มีการเปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ ดังนี้

วิธีการรักษา

ข้อดี

ข้อเสีย

Thionamides

  • เป็นยาที่สามารถใช้ได้ง่าย สามารถรับประทานเองที่บ้านได้
  • ความเสี่ยงต่อภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยจากการรักษาต่ำ
  • การรักษาอาจไม่ให้ผลสำเร็จเทียบเท่ากับการรักษาด้วยรังสีไอโอดีน
  • มีความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงสูง

การรักษาด้วยรังสีไอโอดีน

  • การรักษามักจะประสบผลสำเร็จ
  • มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกิน
  • ไม่เหมาะสมกับคนบางกลุ่มที่มีอาการเพิ่มเติมที่ดวงตา
  • ผู้หญิงต้องเลี่ยงมีครรภ์เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Overactive thyroid (hyperthyroidism). NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/overactive-thyroid-hyperthyroidism/)
Hyperthyroidism. (2017, March 11) (https://medlineplus.gov/hyperthyroidism.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
นักแสดง Sofia Vergara รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้อย่างไร
นักแสดง Sofia Vergara รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้อย่างไร

รู้หรือไม่ว่า Sofia Vergara นักแสดงสาวที่มีชื่อเสียงจากเรื่อง Modern Family เคยป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มาก่อน

อ่านเพิ่ม
ฉันสามารถรับประทานอะไรได้บ้างหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์
ฉันสามารถรับประทานอะไรได้บ้างหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

ควรรับประทานหรือระวังอะไรหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

อ่านเพิ่ม