ยาและการรักษาภาวะกระดูกบาง (osteopenia)

ทางเลือกของยาสำหรับภาวะกระดูกบาง
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ยาและการรักษาภาวะกระดูกบาง (osteopenia)

การรักษาภาวะกระดูกบางยังคงเป็นประเด็นร้อนที่ยังถกเถียงกันอยู่ มียาที่ได้รับการรับรองจาก FDA ในเรื่องการป้องกันภาวะกระดูกพรุน (และสำหรับภาวะกระดูกบางด้วย) ยาเหล่านี้มีประสิทธิภาพ แต่บางอย่างก็มีผลข้างเคียงร้ายแรง แพทย์บางรายลังเลที่จะจ่ายยาสำหรับภาวะกระดูกพรุนสำหรับภาวะกระดูกบาง ในขณะที่แพทย์บางรายอาจยื้อเต็มที่เพื่อให้การสูญเสียของกระดูกช้าลง เป้าหมายที่แท้จริงในการรักษาทั้งภาวะกระดูกบางและภาวะกระดูกพรุนคือการป้องกันกระดูกหัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สะโพกและกระดูกสันหลัง

แพทย์สามารถคำนวณความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักที่ 10 ปีของคุณ โดยอ้างอิงจากความหนาแน่นของมวลกระดูกในปัจจุบัน และปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ความเสี่ยงในระยะสิบปีดังกล่าวเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดเมื่อคิดจะรับยาสำหรับภาวะกระดูกบาง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ข้อควรสังเกต (และสำคัญ): บริษัทประกันสุขภาพหลายแห่งไม่ถือว่าภาวะกระดูกบางเป็นภาวะที่ต้องการการรักษา ดังนั้นพวกเขาจึงไม่จ่ายในส่วนของค่ายา (ซึ่งอาจเป็นเงินถึง 1,000 ดอลล่าร์ต่อเดือน)

ยาสำหรับภาวะกระดูกบาง

จากที่ได้กล่าวไปแล้ว ไม่มียาใดที่ผลิตขึ้นสำหรับภาวะกระดูกบางโดยเฉพาะ ยาสำหรับภาวะกระดูกบางอาจได้รับการแนะนำเพื่อเป็นหนทางในการชะลอการสูญเสียกระดูกเมื่อคุณมีอายุมากขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของคุณ ต่อไปนี้ฉันจะพูดคร่าว ๆ พอให้เข้าใจเกี่ยวกับยาบางอย่างที่ใช้กันมากที่สุดในการรักษาภาวะกระดูกพรุน ที่อาจเป็นหนึ่งในตัวเลือกเมื่อพิจารณาว่าจะจัดการกับภาวะกระดูกบางอย่างไร

  • บิสฟอสโฟเนต (bisphosphonate): ขายภายใต้ชื่อทางการค้าคือ Fosamax, Boniva, Reclast และ Actonel ยาเหล่านี้สามารถกินหรือฉีดก็ได้ ซึ่งช่วยชะลออัตราการสูญเสียกระดูก และ (บางครั้ง) เพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกบางส่วนของร่างกาย (เช่น กระดูกสันหลัง และสะโพก) บางครั้งยาเหล่านี้ก็ถูกสั่งให้กับผู้ที่มีภาวะกระดูกบางที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะกระดูกพรุนเนื่องจากการใช้สเตียรอยด์ในระยะยาว (ตัวอย่างเช่น ผู้ที่รักษาหอบหืดหรือข้ออักเสบด้วยสเตียรอยด์) ข่าวร้ายก็คือผลข้างเคียงของบิสฟอสโฟเนตอาจรุนแรง และมีทั้งอาการคลื่นไส้ ปวด แผลอักเสบ และอื่น ๆ บางคนจะรับได้ดีกว่าหากให้บิสฟอสโฟเนตเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน พวกเขายังสามารถรับยาด้วยการฉีด หากไม่สามารถทนยาในรูปการกินได้ ยาตัวหนึ่ง (Reclast) สามารถให้ปีละครั้งโดยการฉีดได้ที่คลินิกแพทย์ของคุณ ยาทั้งหมดเหล่านี้ได้รับการพัฒนามาเพื่อภาวะกระดูกพรุน ดังนั้นจึงบอกได้ยากมากว่าพวกมันดีสำหรับภาวะกระดูกบางหรือไม่
  • Raloxifene: ยานี้ทำงานเหมือนกับเอสโตรเจนในร่างกายของคุณ เพื่อช่วยในการรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก โดยที่ไม่มีความเสี่ยงบางอย่างจากการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน (ดูข้างล่าง) ยานี้ใช้ในผู้หญิงเท่านั้น Raloxifene ยังแสดงให้เห็นว่าเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกได้ และลดความเสี่ยงของกระดูกสันหลังหักด้วย

ยาที่ยังไม่ได้รับการยอมรับจาก FDA ในการป้องกันภาวะกระดูกพรุน

ยาต่อไปนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับจาก FDA ในการรักษาภาวะกระดูกบางและการป้องกันภาวะกระดูกพรุน ถึงแม้ว่าในบางครั้งยาเหล่านี้จะได้รับการใช้ และคุณอาจเห็นพวกมันได้รับการอ้างถึงอยู่

  • การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน: หนึ่งในสาเหตุหลักของการสูญเสียกระดูกในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนคือการลดลงของปริมาณเอสโตรเจนที่ร่างกายสร้างขึ้น มันก็ดูสมเหตุผลดีที่การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน (HRT) จะช่วยลดการสูญเสียของกระดูกได้ การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนถูกใช้เป็นส่วนใหญ่เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนในผู้หญิง การศึกษาและงานวิจัยหลายชิ้นเรื่องผลประโยชน์และอันตรายของการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน แต่ยังคงไม่ได้ข้อสรุป ถึงแม้ว่าจะมีหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของโรคหลอดเลือดสมอง มะเร็งเต้านม โรคหัวใจ และความเสี่ยงอื่น ๆ กุญแจสำคัญคือการสร้างสมดุลของความเสี่ยงทุกอย่าง และการตัดสินใจอย่างดี (ตัวอย่างเช่น หากทุกคนในครอบครัวของคุณมีภาวะกระดูกพรุนเร็ว การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทนอาจสมเหตุสมผลกว่าในกรณีที่คุณไม่เคยมีประวัติครอบครัวเลย)
  • แคลซิโทนิน (calcitonin): นี่เป็นยาพ่นจมูก หรือยาฉีดที่ชะลอการสูญเสียของกระดูกและช่วยบรรเทาอาการปวดกระดูก ที่จริงแล้วแคลซิโทนินเป็นฮอร์โมนที่สร้างในต่อมไทรอยด์ของคุณและช่วยเปลี่ยนแปลงอัตราการสลายกระดูกของร่างกาย โดยทั่วไปแล้ว บิสฟอสโฟเนตใช้ได้ผลดีกว่า และแคลซิโทนินเป็นตัวเลือกสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ยาอื่นได้ (เนื่องจากผลข้างเคียงหรือเหตุผลอื่นใดก็ตาม)
  • เทอริพาราไทด์ (teriparatide): ยาชนิดนี้ (เรียกว่า Forteo) เป็นอาวุธต้านภาวะกระดูกพรุนอย่างสุดท้าย ซึ่งสามารถเลียนแบบร่างกายในการสร้างกระดูกใหม่ สั่งใช้ในผู้ชายและผู้หญิงที่มีความเสี่ยงของการเกิดสะโพกหักสูงมากเนื่องจากภาวะกระดูกพรุน โดยยังไม่ทราบผลข้างเคียงในระยะยาวของยานี้ และการใช้ (ภายใต้แนวทางของ FDA) ก็จำกัดไว้ที่สองปีเท่านั้น
  • ทามอกซิเฟน (tamoxifen): เดิมทียานี้ใช้ในการรักษามะเร็งเต้านม (และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน) ยานี้เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่หยุดยั้งผลจากเอสโตรเจนต่อเนื้อเยื่อเต้านม ในขณะที่เพิ่มผลของเอสโตรเจนต่อเนื้อเยื่ออื่น ๆ (แปลก แต่ก็จริง) นั่นหมายความว่ามันสามารถช่วยป้องกันการสูญเสียของกระดูกได้ ยานี้มีผลข้างเคียง (อาการร้อนวูบวาบ ปัญหาของกระเพาะ และอื่น ๆ )

บทสรุปสำหรับการรักษาด้วยยา

ไม่มียาใดที่ได้รับการพัฒนามาสำหรับภาวะกระดูกบาง และยังมีผู้โต้แย้งว่าภาวะกระดูกบาง (การสูญเสียของกระดูกไปในระดับหนึ่ง) เป็นส่วนหนึ่งของความชราตามธรรมชาติ เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ผู้ที่มีภาวะกระดูกบางอาจอยากชะลอการสูญเสียของกระดูกด้วยการใช้ยาอย่างมาก วิธีการดูว่าคุณควรได้รับยาหรือไม่คือการให้แพทย์ของคุณคำนวณความเสี่ยงในระยะ 10 ปีที่จะเกิดสะโพก (และกระดูกสันหลัง) หัก ทางองค์กรอนามัยโลก (WHO) และสถาบันเพื่อภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis foundation) มีตารางและแผนภูมิในการคำนวณดังกล่าว การคำนวณจะพิจารณาปัจจัย เช่น ประวัติของภาวะกระดูกพรุนในครอบครัว ประวัติการใช้สเตียรอยด์ และอื่น ๆ การคำนวณเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการตัดสินใจว่าควรใช้ยาหรือไม่เมื่อคุณมีภาวะกระดูกบาง


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Catherine Burt Driver, MD, Osteoporosis vs Osteopenia (https://www.medicinenet.com/osteopenia/article.htm).
Osteopenia: When you have weak bones, but not osteoporosis. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/womens-health/osteopenia-when-you-have-weak-bones-but-not-osteoporosis)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การป้องกันและการจัดการภาวะกระดูกบางด้วยวิถีชีวิตและอาหาร
การป้องกันและการจัดการภาวะกระดูกบางด้วยวิถีชีวิตและอาหาร

การออกกำลังกายให้มากขึ้นและวิตามินดีเป็นประโยชน์กับผู้ป่วย

อ่านเพิ่ม