การสุขศึกษา เรื่องโรคในช่องปาก ปัญหาที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ปัญหาที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือโรคปวดฟัน แม้จะเป็นตัวหมอฟันเอง สาเหตุของการเกิดโรคปวดฟัน หรือปวดประสาทฟันนั้น เกิดจากโรคของช่องปาก ช่องปากของคนเป็นอวัยวะส่วนเล็ก ๆ อันหนึ่งของร่างกาย แต่เป็นส่วนสำคัญมากที่ทำงานหลายอย่าง เช่น ให้อาหารและน้ำผ่านคือ การรับประทาน ยังใช้พูด (บางคนใช้มาก ใช้แสดงสีหน้า บ้างใช้เป็นอาวุธป้องกันตัว) ช่องปากเป็นที่ผ่านของอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหาร ขณะนั้นก็จะมีเศษอาหารติดตามซอกฟันเกิดการบูดเน่าสกปรกขึ้น ปัญหาตามมาก็คือ การเกิดโรคในช่องปาก โรคที่พบบ่อย ๆ ก็ได้แก่ โรคฟันผุ โรคเหงือก หรือโรคปริทนต์ (รำมานาด) มีลักษณะฟันเป็นรู ปวดฟัน เหงือกบวม หรือมีหนองเกิดขึ้นที่เหงือกตรงรากของฟัน อาการเริ่มแรกจะเป็นทีละน้อย เป็นการเตือน หากไม่ได้รับการปรับปรุงดูแลจะเกิดอักเสบปวดมากขึ้น ที่สุดก็จะต้องถอนทิ้งแล้วใส่ใหม่ จะเป็นเจ็บหลายครั้ง และสิ้นเปลืองเงินมากขึ้น การเป็นเริ่มแรกจะเป็นเล็ก ๆ น้อย ยังไม่มีอาการจากนั้นจะมากขึ้น เมื่อมีอาการปวดมากจึงรู้ว่าฟันผุเป็นรู และเหงือกอักเสบมากเกินไปที่จะป้องกันได้ ดังนั้นการป้องกันโดยการแปรงฟันที่ถูกวิธี และตรวจเช็คทุกปีจะเป็นการป้องกันที่ดี


การป้องกันไม่ให้เกิดฟันผุ

  1. การแปรงฟัน ทำให้ฟันสะอาด เลือกแปรงฟันที่เหมาะกับปาก และแปรงให้ถูกวิธี บางคนแปรงทุกวัน หลังตื่นนอนเช้า และหลังอาหารเย็นหรือก่อนนอน บางคนเพิ่มแปรงฟันหลังอาหารทั้ง 3 มื้อก็ยังมีฟันผุ และกลิ่นปากอยู่บ้าง อาจจะแปรงฟันจากมีฟันผุอยู่แล้วหรือแปรงไม่ถูกวิธีจึงไม่สะอาดมีเศษอาหารติดตามซอกฟัน
  2. ตรวจดูฟันของตนเองบ่อย ๆ หากพบลักษณะผิดปกติที่ฟัน และยังไม่มีอาการก็ควรไปปรึกษาหมอฟันให้ทำการตรวจ
  3. อาหารมีสัดส่วน กินตามเวลา ควรมีอาหาร ผลไม้ และผักสด ก็ช่วยให้มีการชำระล้างฟันเวลาเคี้ยว
  4. อาหารบางอย่างที่เป็นสาเหตุร่วมทำให้ฟันผุควรจะลดลงเช่น อาหารหวานและอาหารเหนียว จะเป็นตัวที่ทำให้เชื้อโรคชอบอาศัยตามซอกฟัน

การรักษาฟันผุ

ระยะที่ 1 : เฉพาะที่เคลือบฟัน ทันตแพทย์จะกรอให้สะอาดแล้วอุด
ระยะที่ 2 : ผุไปจนถึงเนื้อฟัน ก็อุดเช่นเดียวกับระยะที่ 1
ระยะที่ 3 : รักษายาก อุดยาก ต้องถอนทิ้ง แล้วใส่ฟันปลอมแทนที่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคปริทนต์

a13.gif เป็นโรคของเหงือกและเนื้อเยื่อรอบ ๆ รากฟัน เป็นเรื้อรัง ทำให้เหงือกอักเสบฟันก็จะเสื่อมโทรงไปด้วย
ระยะที่ 1 : เป็นการอักเสบของเหงือก เหงือกจะบวม แดง มีอาการเจ็บปวดเวลาเคี้ยวอาหารแข็ง หรือแปรงฟันจะมีเลือดออก
ระยะที่ 2 : โรคเยื่อหุ้มรากฟันอักเสบ การอักเสบจะมีลักษณะเป็นโพรง อาการจะมากกว่าระยะที่ 1 บางทีเรียกโรคนี้เป็นโรครำมะนาด หากไม่รักษาจะเกิดเป็นถุงหนองรอบรากฟัน เหงือกจะแยกออกจากซี่ฟัน เยื่อหุ้มรากฟัน และกระดูกหุ้มรากฟันจะถูกทำลาย ฟันจะโยกคลอน และหลุดได้ง่าย


สาเหตุ

  1. หินปูนเกาะเป็นแผ่นคราบฟัน และพิษของเชื้อจุลินทรีย์ทำให้เหงือกอักเสบ
  2. การใส่ฟันปลอมไม่กระชับ จะทิ่มแทงเหงือกเกิดอักเสบได้
  3. การใช้ไม้จิ้มฟันไม่สะอาด หรือเวลาจิ้มฟันถูกเหงือกเป็นแผลได้
  4. มีโรคประจำตัวบางอย่างทำให้ความต้านทานต่อเชื้อโรคลดน้อยลง ทำให้เหลือกไม่แข็งแรง เช่น โรคของเลือด และโรคเบาหวาน
  5. อาหารที่กินขาดวิตามินซี ทำให้เหงือกไม่แข็งแรงได้ด้วย

ในช่องปากยังมีส่วนอื่นที่เกิดมีการอักเสบ และสาเหตุพบบ่อย เช่น

  1. ลิ้น จากถูกฟันกระทบ หรือกัด ทำให้เกิดแผลหรือกินอาหาร ดื่มน้ำนม หรือเครื่องดื่มที่ร้อนจัด
  2. กระพุ้งแก้ม เกิดอักเสบจากฟันกราบบดกัด หรือใช้แปรงสีฟันแข็ง แปรงแรงไปกระทบกับกระพุ้งแก้มเป็นแผลได้
  3. ต่อมทอนซิน เป็นต่อมทำหน้าที่เป็นด่านกั้นเชื้อโรคได้บ้างบางส่นของเชื้อโรคที่ปนอาหาร

การป้องกันและรักษา

a13.gif การรักษาด้วยตนเองของชุมชนในชนบทที่ไม่มีทันตแพทย์มีวิธี ดังนี้

  1. แปรงฟันถูกวิธี และให้สะอาด นวดเหงือกด้วยนิ้วมือบ่อยทุกวัน
  2. บ้วนปาก กลั้วคอด้วยน้ำเกลือบ่อย ๆ อย่างน้อยควรทำหลังอาหารตอนเช้าและก่อนนอน
  3. ขบเคี้ยวอาหารที่หยุ่นแน่น เป็นการออกกำลังเหงือกเข้มแข็งขึ้น
  4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายพอเพียง อาหารหวานจัดทำให้เกิดเหงือกอักเสบ และฟันผุได้ง่าย
  5. หากมีปัญหาควรไปปรึกษาทันตแพทย์ จะได้รับบริการอย่างถูกต้องในเขตเมืองที่มีทันตแพทย์ หรือผู้ช่วยทันตแพทย์ก่อน

22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Oral health. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/oral-health)
Oral Health Conditions. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/oralhealth/conditions/index.html)
15 Common Dental Problems and Tooth Diseases. WebMD. (https://www.webmd.com/oral-health/ss/slideshow-tooth-problems)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) คืออะไร ?
โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis) คืออะไร ?

เรียนรู้ว่าโรคเหงือกอักเสบคืออะไร และจะรักษาหรือป้องกันได้อย่างไร

อ่านเพิ่ม