กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

น้ำมัน และไขมัน สำหรับผู้ที่เป็นโรคไต ที่ควรหลีกเลี่ยง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
น้ำมัน และไขมัน สำหรับผู้ที่เป็นโรคไต ที่ควรหลีกเลี่ยง

ไขมัน เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานเป็นหลัก ไขมันมีทั้งในพืชและสัตว์ ผู้ป่วยไตเรื้อรังควรได้รับไขมันในปริมาณที่พอเหมาะ โดยเฉพาะจากน้ำมันพืช ควรเลือกชนิดของน้ำมันพืชให้เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง

ไขมันในอาหาร ที่ควรจะทราบ

1 ไขมัน “อิ่มตัว” เป็นไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกายมีมากในไขมันสัตว์ เนื่องจากทำให้เพิ่มระดับไขมันในเลือดเช่นโคเลสเตอรอล เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง ชนิดของอาหารที่มีไขมันประเภทนี้ ได้แก่ เนย ครีม ครีมชีส น้ำมันหมู หมูกรอบ หมูหัน หมูสามชั้น ไขมันสัตว์ เนื้อติดหนัง น้ำมันมะพร้าว และกะทิ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2 ไขมัน “ไม่อิ่มตัว” เป็นไขมันที่ให้พลังงานและมีคุณค่าทางสารอาหาร รวมทั้งไม่ทำให้เกิดระดับไขมันในเลือดสูง เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดทานตะวัน และน้ำมันดอกคำฝอย

a17.gif

 น้ำมันและไขมันที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้า เนย ครีม หมูติดมัน หนังเป็ด หนังไก่ ไข่แดง ไข่ปลา ปลาหมึก หอยนางรม มันกุ้ง มันปู เนย ครีม เนยแข็ง ขนมอบต่าง ๆ ครัวซอง เค้ก พัฟ พาย อาหารฟาสต์ฟูด เช่น แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า ฯ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Definitions of Health Terms: Nutrition. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/definitions/nutritiondefinitions.html)
Dietary fat modification in patients with chronic kidney disease: n-3 fatty acids and beyond. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24249210)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป