กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ผลสำรวจ "HonestDocs" ชี้ คนไทย 99% มีสัญญาณของโรคออฟฟิศซินโดรม

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ผลสำรวจ "HonestDocs" ชี้ คนไทย 99% มีสัญญาณของโรคออฟฟิศซินโดรม

อาการปวดกล้ามเนื้อ ชา และเกร็งตามไหล่ หลัง คอ หรือข้อมือ เป็นสัญญาณสำคัญของ “ออฟฟิศซินโดรม” อาการยอดฮิตของมนุษย์ออฟฟิศที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือนั่งทำงานผิดท่าเป็นเวลานาน กลายเป็นที่มาของชื่อโรคนี้ที่เรียกกันจนติดปาก 

ถึงอย่างนั้นออฟฟิศซินโดรมก็ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับคนที่ทำงานในออฟฟิศอย่างที่เราเข้าใจกัน ผลสำรวจจากผู้ใช้งานเว็บไซต์ Honestdocs จำนวน 3,273 คน พบว่า 99% ของกลุ่มตัวอย่างเคยมีอาการของโรคนี้ และเกิดขึ้นได้จากการทำงานลักษณะใดก็ตามที่ต้องอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน หรือมีพฤติกรรมใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือบ่อยครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดออฟฟิศซินโดรม วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 581 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากกว่าครึ่ง คิดเป็น 56% ของผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม มีลักษณะการทำงานที่ต้องอยู่ในท่าเดิมนานๆ เช่น การทำงานในออฟฟิศ และการขับรถเป็นอาชีพ 

รองลงมาคือ 36% มีพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเป็นประจำ ซึ่งก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง หรือทำให้อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัวระหว่างใช้อุปกรณ์เหล่านั้น เพราะหลายคนมักติดนิสัยนั่งห่อไหล่ หลังค่อม คองุ้ม ในขณะพิมพ์งานหรือใช้โทรศัพท์ เมื่อนานไปจึงทำให้กล้ามเนื้อตึงและเกร็ง จนตามมาด้วยอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมในที่สุด

ส่วนที่เหลืออีก 8% ที่ตอบแบบสอบถามว่ามีอาการออฟฟิศออฟฟิศซินโดรมนั้น มีลักษณะการทำงานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนเดิมบ่อยๆ เช่น ทำอาหาร งานช่าง งานที่ต้องใช้แรงเป็นหลัก แม้ว่างานเหล่านี้จะใช้กล้ามเนื้อส่วนเดิมบ่อย อาจทำให้เกิดการเคล็ดขัดยอกหรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ง่าย

พฤติกรรมยุคดิจิทัลทำคนเสี่ยงออฟฟิศซินโดรมมากขึ้น

เมื่อพิจารณาอายุของผู้ตอบแบบสอบถามร่วมด้วย จะเห็นได้ว่าอาการออฟฟิศซินโดรมเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ โดยในช่วงวัยทำงาน (18-44 ปี) มักมีพฤติกรรมไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือต้องอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ตามมาติดๆ ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์และมือถือเป็นเวลานาน ในขณะที่ลักษณะงานอื่นๆ นั้นพบในสัดส่วนที่น้อยมาก 

นอกจากนี้ ในช่วงอายุ 12-17 ปีและ 65 ปีขึ้นไป มักมีพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเป็นประจำมากที่สุด สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนในยุคดิจิทัลที่แม้จะไม่ได้ทำงานที่ต้องอยู่ในท่าเดิม ก็ยังใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับคอมพิวเตอร์และโลกออนไลน์ ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายในแต่ละวันน้อยลงไปโดยปริยาย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

พฤติกรรมที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ออกกำลังกาย หรือนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานของคนในยุคนี้ ไม่เพียงแต่เป็นตัวการของโรคออฟฟิศซินโดรมเท่านั้น แต่ยังเสี่ยงทำให้โรคอ้วนถามหา และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้อีกมากมาย อ่านเพิ่มเติม: ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากโรคอ้วน

มากกว่า 50% ของผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรม เลือกรักษาด้วยวิธีที่ง่าย แต่ไม่ถูกต้อง

เมื่อสอบถามถึงวิธีการบรรเทาอาการปวดเมื่อยเกร็งกล้ามเนื้อ ผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมกว่า 53% เลือกใช้วิธีที่ง่ายและเห็นผลเร็วอย่างการนวด (39%) ตามด้วยการกินยาบรรเทาอาการปวด ยาแก้อักเสบ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ (13%) ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว ไม่ใช่การรักษาอย่างตรงจุด ตราบใดที่ยังไม่หันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือจัดท่าทางร่างกายใหม่ ไม่นานก็จะกลับไปมีอาการซ้ำ

นอกจากนี้มีผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรมถึง 16% เลือกที่จะไม่ทำอะไรเลย ซึ่งแม้ในระยะสั้นโรคออฟฟิศซินโดรมจะไม่ได้ส่งผลเสียจนเห็นได้ชัด แต่หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา ก็อาจมีอาการสะสมเรื้อรัง ทำให้เสี่ยงเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด และแขนขาอ่อนแรง จนอาจถึงขั้นต้องทำกายภาพบำบัดหรือผ่าตัดเลยทีเดียว

จากคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู กลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมสามารถรักษาได้ด้วยตนเองเป็นอันดับแรก เพียงลุกไปยืดเส้นยืดสายบ่อยๆ และหมั่นทำท่ากายบริหารเพื่อให้กล้ามเนื้อที่เกร็งเกิดการคลายตัว นอกจากนี้การออกกำลังกายก็เป็นอีกวิธีที่จะเพิ่มความแข็งแรงและทนทานให้กล้ามเนื้อ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกร็งตัวหรือการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจากการนั่งผิดท่าหรือใช้กล้ามเนื้อส่วนใดซ้ำๆ เป็นเวลานาน อ่านเพิ่มเติม: ออฟฟิศซินโดรม หายแน่ ถ้าแก้ที่สาเหตุ

สำหรับใครที่ปรับเปลี่ยนท่าทางแล้วยังไม่ค่อยดีขึ้นเท่าไรนัก ให้ลองสังเกตตัวเองดูว่ามีความเครียดและความกดดันจากการทำงานหรือไม่ เพราะความเครียดนั้นถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดออฟฟิศซินโดรมได้ง่ายขึ้น 

ดังนั้นนอกจากการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานและเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงแล้ว ต้องไม่ลืมหาวิธีจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม และพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าหักโหมหรือทำงานหนักเกินไป หากทำได้ตามคำแนะนำที่กล่าวมานี้ ความเสี่ยงของโรคออฟฟิศซินโดรมก็จะลดลงอย่างมาก 


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
นวดออฟฟิศซินโดรม คืออะไร? ทำอย่างไร?, (https://hdmall.co.th/c/massage-for-office-syndrome).
The Sick Building Syndrome (SBS) in office workers. A case-referent study of personal, psychosocial and building-related risk indicators. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7721522)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ออฟฟิศซินโดรม โรคของคนทำงานที่อันตรายไม่ใช่เล่น!
ออฟฟิศซินโดรม โรคของคนทำงานที่อันตรายไม่ใช่เล่น!

ออฟฟิศซินโดรมคืออะไรกันแน่ สังเกตอาการเบื้องต้นด้วยตัวคุณเอง และศึกษาวิธีบรรเทาอาการจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้ในบทความนี้

อ่านเพิ่ม
4 ท่าบริหารฤๅษีดัดตน เพื่อแก้อาการออฟฟิศซินโดรม
4 ท่าบริหารฤๅษีดัดตน เพื่อแก้อาการออฟฟิศซินโดรม

ฤาษีดัดตน ศาสตร์ไทยโบราณซึ่งช่วยคลายความปวดเมื่อย รวมท่าฤาษีดัดตนที่เลือกมาให้เหมาะสำหรับแก้อาการออฟฟิศซินโดรม

อ่านเพิ่ม