ปัจจุบันแนวโน้มการบริโภคอาหารของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป มีการยอมรับวัฒนธรรม การบริโภคอาหารตะวันตกมากขึ้น การบริโภคอาหารของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบสังคมเมือง มากขึ้น โดยเน้นความสะดวกสบายและรวดเร็วเป็นหลัก มีการรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น นิยมรับประทานอาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วนหรืออาหารฟาสต์ฟู้ดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีระดับ พลังงานสูง และการขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอ ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดโรคอ้วนได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ ปัจจุบันคนไทยกำลังประสบปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญที่เรียกว่า โรคอ้วนลงพุง หรือเมตาโบลิก ซินโดรม (metabolic syndrome) (กองการแพทย์ทางเลือก, 2551) ภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดผล เสียต่อร่างกายหลายประการ ทั้งทางด้านบุคลิกภาพและสุขภาพ ปัจจุบันยังพบว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีความสัมพันธ์กับภาวะโรคอ้วน ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคปวดข้อเข่า โรคเกาต์และโรคมะเร็ง เป็นต้น (Insel, 2012) เช่นเดียวกับหลายประเทศทั่วโลกที่มีปัญหาภาวะโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้นในขณะที่น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ (underweight) ลดลง ดังแสดงในรูปที่ 6.1 โดยในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า มีการเสียชีวิตประมาณ 300,000 คนต่อปี เนื่องจากภาวะโรคอ้วน นอกจากนี้ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อน้ำหนักตัว เพิ่มขึ้น (Nelms, 2011)
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
รูปที่ การเกิดภาวะน้ำหนักเกิน (BMI 25-29 kg/m) และภาวะโรคอ้วน (BMI ≥ 30 kg/m) ของผู้ใหญ่เพศผู้ชาย (a) และผู้ใหญ่เพศผู้หญิง (b) ในทวีปยุโรปบางประเทศ ที่มา : Nelms, 2011