กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โภชนบำบัด โรคที่ต้องควบคุม และระวังเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โภชนบำบัด โรคที่ต้องควบคุม และระวังเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ

พฤติกรรมการกินของปัจจุบันมักเน้นไปที่หน้าตาและความอร่อย ซึ่งเป็นการกินที่ไม่ถูกวิธีนัก เพราะร่างกายของคนเราไม่ได้ต้องการอาหารอร่อย อาหารหน้าตาดี แต่ต้องการเพียงอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วนในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้น ซึ่งหากยังกินแบบไม่เลือก ตามใจปาก อีกหน่อยอาจเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมาได้ แต่หากห้ามไม่ทันเป็นโรคแล้ว ก็ยังมีวิธีการกินแบบ "วิธีโภชนบำบัด" (diet therapy) ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย เพื่อให้การรักษาได้ผลเต็มที่ ร่วมไปกับการรักษาทางการแพทย์ ดังนี้

วิธีโภชนบำบัด

โรคเบาหวาน - ควบคุมน้ำตาล

โรคเบาหวานคือภาวะร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ทำงานได้ลดลง จึงเกิดเกิดความผิดปกติในการเผาผลาญสารอาหาร สำหรับการรับประทานอาหาร ควรงดเว้นอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลทุกชนิด จำกัดปริมาณของผลไม้ รวมทั้งข้าว เพราะจะมีผลถึงระดับน้ำตาลในเลือด และควรรับประทานผักใบที่มีกากใยสูงให้มากขึ้น เช่น ผักบุ้ง ผักกาดขาว สำหรับอาหารโปรตีนยังสามารถกินได้ปกติ และที่สำคัญควรระวังเรื่องน้ำหนักตัวด้วย เพราะจะส่งผลกับอาการของเบาหวาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคหลอดเลือดแข็งตัว - คุมไขมันอิ่มตัว

ไขมันในเลือดสูงจะมีผลให้ไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือดจนขาดความยืดหยุ่นและอาจอุดตันได้ โดยเฉพาะเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ หากเกิดอุดตันจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย และจะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว สำหรับไขมันที่พบว่ามีการสะสม ก็คือ คอเลสเตอรอล จึงควรควบคุมปริมาณในเลือดให้ต่ำกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร

สำหรับอาหาร ควรลดการกินไขมันอิ่มตัว เช่น ไข่แดง นม ไขมันจากสัตว์ น้ำมันพืชบางชนิด แล้ว เพิ่มปริมาณอาหารที่มีใยอาหารให้มากขึ้น ได้แก่ ผัก ผลไม้ ธัญพืช เพราะใยอาหารจะจับคอเลสเตอรอลในลำไส้เล็กทำให้ดูดซึมได้น้อย และขับออกมาทางอุจจาระ สำหรับไขมันที่ควรได้รับควรมาจากไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด อย่างน้อย 10-12% ของพลังงานทั้งหมด

โรคอ้วน - ควบคุมอาหาร

โรคอ้วนเกิดจากร่างกายได้รับพลังงานมากเกินความจำเป็น จึงเกิดการสะสมในรูปไขมัน จนทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติ เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น เบาหวาน ความดันข้ออักเสบ และระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

สำหรับการแก้ไขโรคอ้วนต้องเริ่มจากสาเหตุ โดยควบคุมปริมาณการกินอาหารให้ได้สัดส่วน และออกกำลังกายให้มากขึ้นสำหรับอาหารนั้นต้องกินอาหารให้ครบทุกมื้อ แต่ลดพลังงานลงวันละ 500 แคลอรี่ ก็จะสามารถลดน้ำหนักได้สัปดาห์ละ 1/2 กิโลกรัม เลยทีเดียว

โรคไต - เน้นโปรตีนต่ำ

ไต มีหน้าที่ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย และอาหารที่ทำให้ไตต้องทำงานหนักในการขับถ่ายของเสีย คือ โปรตีน ดังนั้นการรักษาด้วยอาหารคือช่วยให้ไตทำงานเบาลง ได้มีโอกาสพักหรือฟื้นตัว และช่วยลดการคั่งของของเสีย อาหารที่รับประทานจึงควรมีปริมาณโปรตีนน้อย แต่เป็นโปรตีนคุณภาพสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม เพื่อนำไปทดแทนเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่สูญเสียไป
สำหรับผู้ที่เป็นไตวายเรื้อรังมักจะมีระดับฟอสเฟตในเลือดสูง จึงต้องงดโปรตีนที่ทำมาจากนม ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ และไข่ เพราะมีปริมาณฟอสเฟตสูง

โรคความดันโลหิตสูง - ระวังเกลือ

โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากแรงดันภายในหลอดเลือดแดงสูงตลอดเวลา โดย มีค่าความดันสูงกว่า 160/95 ซึ่งและมักมีมีภาวะแทรกซ้อน ตามมามากมาย เช่น หลอดเลือดแดงไม่แข็งแรง เลือดไปเลี้ยงไม่สะดวก และหากไปเกิดที่อวัยวะสำคัญ ก็จะส่งผลให้เกิดอันตรายหรือถึงแก่ชีวิตได้ สำหรับอาหารควรจำกัดอาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมอยู่มากๆ เช่น น้ำปลา ซอสปรุงรสต่าง ๆ และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันมาก ซึ่งจะทำให้การควบคุมน้ำหนักเป็นไปได้ยาก ทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Low-carb diet for diabetes: A guide and meal plan. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325195)
Nutrition Therapy Recommendations for the Management of Adults With Diabetes. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3816916/)
Diabetes and Kidney Disease: What to Eat?. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/diabetes/managing/eat-well/what-to-eat.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง (Cerebral Vascular Accidents)
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง (Cerebral Vascular Accidents)

ปัญหาสุขภาพรุนแรงและเป็นที่น่ากังวลที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดสมอง

อ่านเพิ่ม