กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

รวมวิธีศัลยกรรมฉบับสวยได้โดยไม่ต้องใช้มีดหมอ

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
รวมวิธีศัลยกรรมฉบับสวยได้โดยไม่ต้องใช้มีดหมอ



ธรรมชาติของคนเราต่างก็อยากสวยดูดีด้วยกันทั้งนั้น จริงอยู่ว่าการศัลยกรรมจะช่วยให้เราสวยได้ดั่งใจ แต่มันก็ต้องแลกกับความเจ็บปวดและความเสี่ยงใช่เล่น ต้องขอบคุณโลกแห่งนวัตกรรมความงามที่เทคโนโลยีพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง ทุกวันนี้จึงมีการเสริมความงามอีกประเภทหนึ่งที่เจ็บน้อยกว่า จะเรียกว่ากึ่งศัลยกรรมก็คงไม่ผิด เพราะมันให้ผลค่อนข้างถาวร เจ็บตัวน้อยกว่า แถมแก้ไขได้ถ้าหากต้องการ ถ้าหากสาว ๆ อยากสวยแต่กลัวมีดหมอแล้วละก็มาดูกันว่า จะมีวิธีเสริมความงามประเภทใดที่ตอบโจทย์เราได้บ้าง

1. ฟิลเลอร์ (Filler)

ฟิลเลอร์ คำว่า Filler (ฟิลเลอร์) จำง่าย ๆ ว่ามันก็คือรากศัพท์ของคำว่า “Fill หรือ เติม” ในวงการความงามจึงหมายถึง “สารเติมเต็ม” นั่นเอง คุณสมบัติของฟิลเลอร์นั้นคือการเติมเต็มเข้าไปในร่างกายแต่สามารถสลายหายไปได้ในระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี จุดนี้เองที่แตกต่างจากการศัลยกรรมซึ่งข้อดีก็คือสามารถการแก้ไขได้ง่ายกว่าการศัลยกรรม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ศัลยกรรมร่างกาย วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 20,500 บาท ลดสูงสุด 57,050 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ฟิลเลอร์มีประโยชน์หลักๆอยู่ 2 ประการ

ข้อดีก็คือการปรับแต่งรูปหน้าด้วยฟิลเลอร์คือให้ผลลับที่เป็นธรรมชาติมากกว่า สวยเนียนเหมือนไม่ได้ทำศัลยกรรม ใช้เวลารักษาตัวน้อยกว่า ไม่ทำให้เจ็บตัวเหมือนการผ่าตัดศัลยกรรม และที่สำคัญสารเหล่านี้สามารถสลายหายไปได้ในระยะเวลาจึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

  1. ประการแรก คือการนำมาใช้ในการเติมเต็มริ้วรอยลึกต่าง ๆ ทั้ง ร่องแก้ม หน้าผาก ริ้วรอยรอบดวงตา
  2. และอีกประการหนึ่งคือการนำมาใช้ในการปรับแต่งรูปร่างแทนการศัลยกรรม เช่นการฉีดฟิลเลอร์เพื่อเสริมจมูก เติมริมฝีปากให้ดูอวบอิ่ม เสริมคาง เสริมหน้าอก รวมไปถึงเสริมก้นด้วย

2. โบท็อกซ์ (Botox)

ในส่วนชองโบท็อกซ์จริง ๆ แล้วมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่แพทย์นำมารักษาโรคตาเหล่ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการจับกับส่วนปลายของเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาทไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาทได้ กล้ามเนื้อจึงคลายตัว จึงทำให้สายตากลับมาเป็นปกติ แต่ผลพลอยได้ที่แพทย์สังเกตเหตุเห็นก็คือมันทำให้ริ้วรอยรอบดวงตานั้นหายไปด้วย

ในวงการความงามจึงได้มีการนำเอาคุณสมบัตินี้มาใช้ในการแก้ปัญหาริ้วรอยบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณหน้าผาก หว่างคิ้ว และรอบดวงตา ฉีดบริเวณรักแร้หรือฝ่ามือสำหรับผู้ที่มีเหงื่อมาก และที่นิยมที่สุดก็คือการฉีดสลายกรามเพื่อทำให้หน้าเรียวลง การฉีดโบท็อกซ์หนึ่งครั้งจะสามารถอยู่ได้นานประมาณ 6-8 เดือน ขึ้นอยู่กับอาการที่เป็น บริเวณที่ฉีด ปริมาณของตัวยามากน้องเพียงใด

การฉีดโบท็อกซ์เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการปรับรูปหน้าเพียงเล็กน้อยและไม่อยากเจ็บตัวมาก ไม่อยากใช้เวลาพักฟื้นนาน และยังไม่มั่นใจกับผลลับหากต้องทำศัลยกรรมถาวร สามารถฉีดโบท็อกซ์เพื่อสังเกตรูปหน้าที่เปลี่ยนไปหากพึงพอใจแล้วอาจไม่จะเป็นต้องทำศัลยกรรมเลยก็ได้ การฉีดโบท็อกซ์ควรทำซ้ำทุก ๆ 6 เดือนหรือ 1 ปีขึ้นอยู่กับตัวยา

3. ร้อยไหม

การร้อยไหม คือ เทคนิคการใช้ไหมละลายในการปรับรูปหน้าให้ดูเรียวด้วยไหมประเภทที่สามารถละลายได้ เป็นอีกหนึ่งวิธีเสริมความงามโดยไม่ต้องผ่าตัด หลักการของเทคนิคนี้คือ การใช้ไหมเส้นเล็กจำนวนมากมาร้อยเป็นเครือข่ายใต้ผิวหนัง เมื่อเกิดแผลจากที่ร้อยไหมร่างกายจะกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใหม่มาพันรอบแนวเส้นไหม มีผลให้ผิวหน้าดูเต่งตึง กระชับพร้อมทั้งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตมาเลี้ยงชั้นผิวหนังเพิ่มขึ้นด้วย

ไหมละลายทุกวันนี้มีการพัฒนาไปมาก ทั้งในเรื่องของรูปร่างรูปทรงเช่น ไหมเรียบ ไหมเกลียว และวัสดุที่นำมาทำเป็นไหม ไหมชนิดที่นิยมใช้กันอีกประเภทหนึ่งคือ “โพลีไดอ๊อกซาโนน” (polydioxanone หรือ PDO) ซึ่งเป็นไหมที่นำมาใช้ในการทำศัลยกรรมเย็บเส้นเลือดหัวใจ ข้อดีคือไม่มีปฏิกิริยาต่อผิวหนัง โอกาสแพ้น้อยมาก ผ่านการรับรองความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทั้งในและต่างประเทศ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ศัลยกรรมร่างกาย วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 20,500 บาท ลดสูงสุด 57,050 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

4. เมโส (Meso Therapy)

“เมโส” คำเรียกสั้น ๆ ที่คนส่วนใหญ่มักใช้เรียกกัน จริงแล้ว ๆ คำนี้มีชื่อเต็มว่า Meso Therapy คำว่าเมโสหมายถึงสิ่งที่อยู่ใต้ผิวหนัง เช่น ชั้นไขมัน หรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ การเสริมความวามด้วยเมโสจึงเป็นการรักษาและบำรุงผิวที่อยู่ใต้ผิวหนังนั่นเอง เมโสมีประโยชน์ที่หลากหลาย แต่ในส่วนของความงามจะมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

กระบวนการรักษาด้วยเมโส

การรักษาด้วยเมโส ไม่ว่าจะเป็นเมโสหน้าใสหรือเมโสแฟต ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะการฉีด พอพูดถึงคำว่าฉีดหลายคนอาจจะกลัวเพราะภาพที่เคยเห็นเป็นการทิ่มเข็มทั่วหน้ากันเลยทีเดียว แต่แท้จริงแล้วหลักการฉีดเมโสนั้นจะใช้เข็มที่เล็กมาก คลินิกส่วนใหญ่ใช้เข็มเบอร์ 30 ซึ่งเล็กพอ ๆ กับเส้นผมเลยทีเดียว

จริงอยู่ว่าเมโสนั้นจะต้องทำการฉีดหลายจุด แต่โดยส่วนใหญ่แพทย์จะทำการเตรียมผิวให้พร้อมก่อนเสมอด้วยการฉีดยาชา หรือใช้วิธีCoolingเย็นคือการทำให้ผิวชาด้วยน้ำแข็งนั่นเอง หลักการทำงานของเมโสทั้ง 2 ประเภทนี้คือการใช้เข็มสะกิดตัวยาเพียงเล็กน้อย จากนั้นทำการฉีดเข้าไปที่ใต้ผิวหนัง

การฉีดเมโสจะทำเป็นบริเวณใดบริเวณหนึ่ง เช่นหากทำเมโสหน้าใส ก็จะฉีดบริเวณผิวหน้า หากสลายไขมันที่สะโพกต้นขา ก็จะฉีดที่บริเวณต้นขาตามอาณาบริเวณที่ต้องการลด การใช้เข็มจิ้มหลายทีจึงอาจทำให้หลายคนรู้สึกกลัว แต่ด้วยความที่เข็มเล็กมากและทำการเตรียมผิวมาก่อนบวกกับอาศัยความชำนาญของแพทย์จึงทำให้การฉีดเมโสไม่เจ็บอย่างที่คิด ซึ่งถ้าเทียบกับการศัลยกรรมแล้วเจ็บน้อยกว่าหลายเท่าเลยทีเดียว

บทความที่เกี่ยวข้อง

ฉีดเมโสแฟต (Meso Fat) คืออะไร?
การฉีดฟิลเลอร์คืออะไร วิธีการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง เหมาะกับใคร วิธีการดูแลตัวเองก่อนและหลัง

  1. เมโสหน้าใส ซึ่งเป็นกระบวนการที่ช่วยบำรุงในด้านผิวพรรณโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใส ลดฝ้า กระ จุดด่างดำ
  2. เมโสแฟต ซึ่งป็นการรสลายไขมัน สำหรับคนที่มีปัญหาแก้มย้อยเพราะมีการสะสมไขมันที่ใบหน้า รวมถึงการสลายไขมันบริเวณต้นแขนต้นขา

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Healing Childhood Psychological Trauma and Improving Body Image Through Cosmetic Surgery. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6694798/)
Breast Implants: Silicone Vs. Saline, Cost, Problems, Recovery. WebMD. (https://www.webmd.com/beauty/cosmetic-procedures-breast-augmentation)
10 Common Plastic Surgery Complications: Hematoma, Infection, More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/most-common-plastic-surgery-complications)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป