โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

หากคุณรู้สึกว่าปวดเหมือนโดนเข็มแทง ไฟช็อตหรือปวดแสบปวดร้อนขณะสัมผัสใบหน้าเบา ๆ ขึ้นมาอย่างฉับพลัน คุณอาจเป็นโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ยากและมีอาการที่รุนแรง

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า  (Trigeminal neuralgia) เป็นอาการปวดบริเวณใบหน้าที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและฉับพลัน โดยมักมีลักษณะความรู้สึกปวดเหมือนโดนเข็มแทง ปวดเหมือนไฟช็อต หรืออาจปวดแบบแสบร้อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความเจ็บปวดมักเกิดขึ้นในช่วงกำเริบเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ตั้งแต่ไม่กี่วินาทีจนถึงประมาณสองนาทีแล้วอาการจะหยุดลงในทันทีทันใด เกือบทั้งหมดของผู้ป่วยโรคนี้จะมีส่งผลต่อส่วนหนึ่งของใบหน้าหรือทุกส่วนของใบหน้าเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น โดยเฉพาะส่วนล่างของใบหน้าที่พบอาการปวดได้บ่อย น้อยครั้งที่จะมีผลต่อทั้งสองด้านของใบหน้า แต่ไม่ปกติจะไม่เกิดอาการขึ้นพร้อมกัน ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าว อาจเกิดอาการปวดกำเริบเป็นประจำทุกวัน หลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ในกรณีที่รุนแรง อาการปวดอาจกำเริบขึ้นได้หลายร้อยครั้งต่อวัน

เป็นไปได้ที่ความเจ็บปวดนั้นจะดีขึ้นเองหรือหายไปโดยสิ้นเชิงเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปีในแต่ละครั้ง ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงไม่มีอาการ แม้ว่าช่วงระยะเวลาไม่มีอาการเหล่านี้จะมีแนวโน้มสั้นลงไปเรื่อย ๆ ซึ่งหลังจากนั้น ผู้ป่วยบางคนอาจเริ่มเกิดอาการปวดอย่างต่อเนื่อง ปวดร้าว ปวดแสบปวดร้อนพร้อมไปกับอาจของโรคกำเริบอย่างทันทีทันใด

โดยปกติ แล้วอาการปวดกำเริบจะเกิดขึ้นจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสใบหน้าอย่างเบา ๆ เช่น การล้างหน้า การทานอาหาร และการแปรงฟัน และยังสามารถกระตุ้นด้วยลมเบา ๆ แม้แต่สายลมหรือลมจากเครื่องปรับอากาศ รวมถึงการเคลื่อนไหวของใบหน้าหรือศีรษะ และในบางครั้ง ความเจ็บปวดอาจเกิดขึ้นได้แม้ปราศจากการกระตุ้นใด ๆ

การใช้ชีวิตอยู่กับโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าเป็นเรื่องยากและค่อนข้างทรมาน และอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของคนดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น น้ำหนักลดอย่างรุนแรง การปลีกตัวจากสังคม และเกิดภาวะซึมเศร้า

หากคิดว่ามีอาการปวดเส้นประสาทใบหน้าควรเข้าพบแพทย์เมื่อใด

คุณควรจะไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของคุณหากคุณนั้นพบว่าเกิดอาการปวดบริเวณใบหน้าบ่อยๆ หรือเป็นประจำโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากทานยาแก้ปวดง่าย ๆ เช่นพาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟนแล้วอาการไม่ดีขึ้น และทันตแพทย์ตรวจภายในช่องปากคุณแล้วไม่พบว่าอาการปวดดังกล่าวนั้นมาจากสาเหตุทันตกรรมแต่อย่างใด

แพทย์หรือทันตแพทย์ประจำตัวของคุณจะพยายามระบุปัญหาด้วยการซักถามเกี่ยวกับอาการของคุณ และตัดภาวะอื่น ๆ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดของคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า อาจเป็นเรื่องยากและอาจใช้เวลาเป็นหลายปีสำหรับการยืนยันวินิจฉัย

สาเหตุของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าคืออะไร?

ในส่วนใหญ่ของกรณีโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าเกิดจากการกดทับเส้นประสาทเส้นหนึ่งที่มาเลี้ยงบริเวณใบหน้าและศีรษะชื่อว่า Trigeminal nerve เส้นประสาทนี้คือเส้นประสาทที่ใหญ่ที่สุดภายในกะโหลกศีรษะซึ่งทำหน้าที่ส่งความรู้สึกเจ็บปวด และความรู้สึกสัมผัสจากใบหน้า ฟันและช่องปากของคุณไปยังสมองของคุณ

การกดทับนี้มักเกิดจากเส้นเลือดบริเวณใกล้เคียงภายในกะโหลกศีรษะกดทับเส้นประสาททำให้เกิดอาการขึ้นมา

ในอีกกรณีที่พบได้น้อยกว่านั้น สาเหตุของโรคอาจเกิดขึ้นจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาทใบหน้าซึ่งเกิดจากสภาวะแวดล้อม หรือสภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) หรือเนื้องอก

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าสามารถเกิดขึ้นกับใครได้บ้าง

ไม่มีตัวเลขชัดเจนว่ามีผู้ป่วยกี่คนที่ได้รับผลกระทบจากโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า และจัดว่าเป็นโรคที่พบได้ยากชนิดหนึ่ง

อย่างไรก็ตามจากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า โรคนี้ส่งผลต่อผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชายและพบได้น้อยมากในคนที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ถึงแม้จะสามารถเกิดขึ้นในคนที่อายุน้อยได้ กรณีส่วนใหญ่จะพบอาการปวดเป็นครั้งแรกในช่วงอายุระหว่าง 50 ถึง 60 ปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าถือเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งช่วงระยะเวลาไม่มีอาการมักจะค่อย ๆ สั้นลงเมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตาม กรณีส่วนใหญ่ของโรคสามารถควบคุมอาการได้ระดับหนึ่งด้วยการรักษาทางการแพทย์

การรักษาในครั้งแรกมักจะใช้ตัวยาในกลุ่มยากันชักที่มีชื่อว่า ยา carbamazepine และเพื่อให้ยามีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงจำเป็นต้องทานยาวันละหลายครั้งด้วยปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วง 2-3 วันหรือเป็นสัปดาห์เพื่อให้ระดับยาในกระแสเลือดของคุณนั้นสูงพอสำหรับการควบคุมโรค

แม้อาการปวดของคุณเริ่มลดลงหรือหายไปโดยสิ้นเชิง ยาก็มักต้องทานต่อไปตราบเท่าที่ยังจำเป็นอยู่ ซึ่งบางครั้งกินเป็นเวลาหลายปี ถ้าคุณคิดว่าคุณกำลังเข้าสู่ช่วงระยะไม่มีอาการของโรคและความเจ็บปวดของคุณหายไปทั้งหมด การลดปริมาณยาควรทำอย่างช้า ๆ เป็นเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์เว้นแต่คุณจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์

ยา Carbamazepine นั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรักษาความเจ็บปวดโดยตรง แต่สามารถช่วยลดอาการปวดจากเส้นประสาทโดยการชะลอคลื่นกระตุ้นไฟฟ้าในเส้นประสาท และลดความสามารถในการส่งข้อความเกี่ยวกับความเจ็บปวดของเส้นประสาทดังกล่าวลง

หากยานี้ไม่ได้ผล ไม่เหมาะสม หรือทำให้เกิดผลข้างเคียงมากเกินไป คุณอาจได้รับการส่งต่อให้กับแพทย์หรือทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาเกี่ยวกับยาทางเลือกตัวอื่น ๆ หรือวิธีการผ่าตัดที่อาจช่วยได้

มีวิธีการผ่าตัดจำนวนหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า โดยปกติจะทำลายเส้นประสาทนั้นลงเพื่อหยุดการส่งสัญญาณปวดไปยังสมอง แต่โดยทั่วไปแล้วจะได้ผลเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีหลังจากการผ่าตัดเท่านั้น

หรือในกรณีที่รุนแรงขึ้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของคุณอาจแนะนำให้มีการผ่าตัดเพื่อเปิดหัวกะโหลกของคุณและเคลื่อนย้ายหลอดเลือดใด ๆ ที่บีบอัดเส้นประสาทเลี้ยงใบหน้าเส้นดังกล่าว การวิจัยที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าการผ่าตัดแบบนี้มีผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในแง่ของการบรรเทาอาการปวดในระยะยาว แต่ถือเป็นการผ่าตัดใหญ่และมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งการสูญเสียการได้ยิน ความรู้สึกชาบนใบหน้า หรือมีโอกาสเล็กน้อยที่เกิดโรคหลอดเลือดสมองตามมา

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/trigeminal-neuralgia


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Trigeminal neuralgia: Symptoms, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/160252)
Face Pain: Causes, Diagnosis, Treatment & More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/face-pain)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ระวังโรคปลายประสาทอักเสบ อาการชา ร้อนวูบวาบ หลังตื่นนอน
ระวังโรคปลายประสาทอักเสบ อาการชา ร้อนวูบวาบ หลังตื่นนอน

รวม 5 สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปลายประสาทอักเสบ และวิธีการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่ม
อาการโรคมือเท้าชาแบบต่างๆ สัญญาณเตือนภัยของหลายโรค
อาการโรคมือเท้าชาแบบต่างๆ สัญญาณเตือนภัยของหลายโรค

อาการมือเท้าชา บางครั้งไม่ใช่การขาดวิตามินแต่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้าย

อ่านเพิ่ม