อาหารธรรมชาติต้านมะเร็ง

เผยแพร่ครั้งแรก 14 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
อาหารธรรมชาติต้านมะเร็ง

ปัจจุบันมีข้อมูลชัดเจนว่าสารในผักผลไม้ช่วยป้องกันมะเร็ง สารพฤกษเคมีในพืช ได้แก่ สารฟีนอล อินโดล (Indole) อะโรแมติก (Aromatic) ไอโซไธโอไซยาเนต (Isothiocyanate) ไอโซฟลาโวนส์ และ โปรติเอสอินฮิบิเตอร์ (Protease Inhibitor) ที่มีในผักผลไม้ต่างก็มีฤทธิ์ในการป้องกันมะเร็ง

อาหารธรรมชาติที่เราบริโภคในชีวิตประจำวันนั้นมีสารต้านมะเร็งมากมาย หากเลือกให้ถูกจะช่วยป้องกันมะเร็งได้ นักวิจัยรายงานว่า อาหารอันดับต้นๆ ที่มีข้อมูลการวิจัยสนับสนุนว่าช่วยในการป้องกันมะเร็งได้มีดังต่อไปนี้

ตารางเปรียบเทียบอาหารต้านมะเร็ง

ชนิดอาหาร

สารพฤกษเคมี/ประโยชน์

วิธีการเลือกซื้อ

ความบ่อยในการบริโภค

เบอร์รี่

สารฟลาโวนอยด์ แอนโทไซยานิน และพฤกษเคมีอื่นๆ

ยับยั้งสารก่อมะเร็ง

 จับกับดีเอ็นเอ

บลูเบอร์รี่หรือบิลเบอร์รี่สด หรือแช่แข็ง(มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงสุด) แครนเบอร์รี่ ราสป์เบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่

ทุกวัน

ถั่ว (Brazil Nuts)

สารซีลีเนียมสูง ช่วยยับยั้งการแพร่เซลล์มะเร็ง

ไม่จำเป็นต้องซื้อตุนมากๆ ควรซื้อทีละน้อย เพราะปริมาณที่ควรกินนั้นน้อย

วันละ 1 เม็ดใหญ่ หรือ 2 เม็ดขนาดกลาง จำกัดการบริโภควันละ 2 เม็ด

ผลไม้ตระกูลส้ม

สารลิโมนอยด์ (Limonoids)

ยับยั้งฤทธิ์เซลล์มะเร็ง

ส้มชนิดต่างๆ น้ำส้มคั้น เกรปฟรุต

ทุกวัน

ผักตระกูล

ครูซิเฟอรัส

สารประกอบหลายชนิดช่วยเพิ่มฤทธิ์เอนไซม์ที่ต่อต้านการเกิดสารก่อมะเร็ง

บรอกโคลี แขนงผัก กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ คะน้า

สัปดาห์ละ 2-3 ถ้วยตวง

ถั่วเมล็ดแห้ง

สารโฟเลตมาก ช่วยป้องกันอันตรายต่อดีเอ็นเอ

ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ หรือถั่วเมล็ดแห้งที่บรรจุกระป๋องเช่น เมล็ดถั่วลันเตา

สัปดาห์ละ 1.5-2 ถ้วยตวง(สุก)

เมล็ดแฟลกซ์

มีสารลิกแนน (Lignan) และ โอเมก้า-3 ช่วยลดระดับฮอร์โมนที่เร่งการเกิดมะเร็ง และชะลอการเจริญของเซลล์มะเร็ง

-  เมล็ดแฟลกซ์ที่บดแล้ว

-  เมล็ดแฟลกซ์ในรูปน้ำมันจะไม่ มีสารลิกแนน

-  ควรเก็บไว้ในช่องแข็งของตู้เย็น เพื่อให้สดอยู่เสมอ

วันละ 2 ช้อนโต๊ะ

ถั่วเหลือง

มีสารไอโซฟลาโวนส์ซึ่งเชื่อว่าช่วยยับยั้งฤทธิ์ฮอร์โมนเอสโทรเจนในคน มีผลในการลดการเจริญของเซลล์มะเร็ง

เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีถั่วเหลืองเป็นองค์ประกอบในอันดับที่ 1-3 ของฉลากโภชนาการ น้ำมันถั่วเหลืองหรือซีอิ๊วไม่มีสารไอโซฟลาโวนส์

วันละ ½-1 ถ้วยตวง หรือถ้ามีมะเร็งเต้านมจำกัดไว้ที่ สัปดาห์ละ 1.5-2 ถ้วยตวง

มะเขือเทศ

สารไลโคปีน ป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดซันต่อเยื่อหุ้มเซลล์ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก

เลือกผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศที่ผ่านการทำให้สุกด้วยความร้อนจะทำให้ร่างกายดูดซึมสารไลโคปีนได้ดีขึ้น

สัปดาห์ละ 4 ครั้ง ขึ้นไป

ธัญพืชไม่ขัดสี

มีสารต้านมะเร็งมากมาย เช่น ซาโปนิน (Saponins) ฟลาโวนอยด์และลิกแนน

เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี หรือมีธัญพืชไม่ขัดสีเป็นองค์ประกอบหลักของอาหารนั้น

วันละ 1.5 ถ้วยตวง

ชา

สารฟลาโวนอยด์ ช่วยขจัดอนุมูลอิสระ

- ชาเขียว ชาดำ ชาอูหลง

 -  ชาประเภทพร้อมดื่มบรรจุขวดหรือประเภทสกัดกาเฟอีนมีสารฟลาโยนอยด์น้อยมาก

วันละ 500-750 มล.

ปลา

กรดโอเมก้า-3 ซึ่งอาจช่วยชะลอการเจริญของเซลล์มะเร็งได้

เลือกปลาทะเล เช่น แซลมอน ซาร์ดีส ทูน่า แมคเคอเรล ปลาทู เป็นต้น

สัปดาห์ละ 12-24 ช้อนโต๊ะ

โยเกิร์ต

มีแคลเซียม ซึ่งจับตัวกรดน้ำดีป้องกันการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติ มีเชื้อจุลินทรีย์ที่ดี ช่วยเพิ่มระบบภูมิต้านทาน

เลือกโยเกิร์ตไขมันต่ำ และมีจุลินทรีย์ที่มีชีวิต

วันละครั้ง

 (1 ถ้วยตวง)

อาหาร 5 อันดับแรกป้องกันมะเร็งเต้านม

เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2009 เป็นเดือนที่มีการรณรงค์สร้างความตระหนักในการป้องกันมะเร็งเต้านม อาหาร 5 อันดับแรกที่นักวิจัยพบว่ามีผลในการป้องกันมะเร็งเต้านมที่แนะนำให้บริโภคคือ

1. ผักตระกูลครูซิเฟอรัส (Cruciferous) หรือ บราสซิกา (Brassica) ได้แก่ บรอกโคลี กะหล่ำปลี เคล (Kale) คะน้าฝรั่ง (Collard Green) และดอกกะหล่ำ ผักเหล่านี้มีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งประเภทวิตามินเอ ซี และอีสูง รวมทั้งใยอาหาร ช่วยป้องกันมะเร็ง และยังอุดมไปด้วยสารพฤกษเคมี อินโดลและซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) ช่วยป้องกันมะเร็ง โดยเพิ่มความสามารถของร่างกายที่ลดฤทธิ์สารพิษและสารก่อมะเร็ง วิธีปรุงอาหารที่ดีเพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียสารอาหารมาก คือการลวกหรือผัดเร็วๆหรือกินดิบ ถ้าไม่ชอบกินดิบก็นำไปลวกในน้ำเดือนประมาณ 1 นาที แล้วนำไปแช่น้ำแข็ง จะได้ผักที่มีรสหวานกรอบ

2. ผลไม้ประเภทเบอร์รี่ทั้งหลาย เช่น สตรอว์เบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ ซึ่งมีวิตามินและใยอาหารสูง เป็นแหล่งที่ดีเยี่ยมของสารฟีนอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง สามารถกินได้ทั้งสดหรือใส่ในสลัด ซีเรียล โยเกิร์ต หรือนำมาแช่แข็งเก็บไว้ทำสมู้ตทีก็ได้

3. โปรตีนถั่วเหลือง คนที่ชอบกินเนื้อสัตว์อาจใช้โปรตีนพืชแทนบ้าง เช่น ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ ถั่วเหลือง (ในรูปเต้าหู้ เทมเป้ ซุปมิโซะ หรือถั่วแระญี่ปุ่น) ซึ่งมีสารฟลาโวนส์ป้องกันมะเร็ง ควรพิจารณาอาหารธรรมชาติก่อนที่เสริมสารสกัดไอโซฟลาโวนส์เพียงชนิดเดียว ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ อุดมไปด้วยใยอาหารและกรดโฟลิกสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ถั่วดำ มีสารต้านอนุมูลอิสระชนิดแอนโทไซยานินสูงเช่นเดียวกับแครนเบอร์รี่ สารชนิดนี้ช่วยป้องกันมะเร็ง

4. ส้มและผลไม้ในตระกูลส้ม มีสารต้านอนุมูลอิสระชนิดวิตามินซีสูง ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน และมีสารที่ยังยั้งสารก่อมะเร็งการกินส้มทั้งผลจะดีกว่าน้ำส้มคั้น เพราะจะทำให้ได้ใยอาหารทั้งชนิดละลายน้ำและไม่ละลายน้ำเป็นของแถม แถมยังได้กลิ่นหอมจากเปลือกส้มขณะที่ปอกอีกด้วย

5. เมล็ดแฟลกซ์  คนไทยเรียนกว่าเมล็ดป่าน มีกรดโอเมก้า-3 สูง จึงเป็นแหล่งโอเมก้าสำหรับนักมังสวิรัติ มีงานวิจัยรายงานไว้ว่าเมล็ดแฟลกซ์ให้ประโยชน์ในการป้องกันโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังมีใยอาหารและสารลิกแนน ซึ่งมีสารไฟโทเอสโทรเจนที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง

งานวิจัยหลายแห่งยกย่องเมล็ดแฟลกซ์ว่าเป็นความหลังในการป้องกันโรค โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม

ยังมีอาหารอีกมากมากที่มีสารป้องกันมะเร็ง แต่ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นอาหารที่ข้อมูลการวิจัยแนะนำว่าเป็นอาหารที่ดีที่สุดในการป้องกันมะเร็งในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าอาหารธรรมชาติมีฤทธิ์เป็นยาในการป้องกันมะเร็งที่ดีที่สุด อยู่ที่ว่าเราจะรู้จักเลือกกินเลือกใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดแก่ร่างกายมากน้อยเพียงใด

ไลโคปีน (Lycopene) ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก

ปัจจุบันมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคที่มีอัตราการเกิดเพิ่มขึ้น จากการศึกษาพบว่าโรคนี้มีการกระจายตัวของมะเร็งทั้งช้าและเร็วต่างกันไปในแต่ละบุคคล อย่างไรก็ดี การศึกษา ถึงสารพฤกษเคมีในอาหารในการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก พบว่า มะเขือเทศมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ไลโคปีน (Lycopene) ในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งอาจช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้

ไลโคปีนเป็นสารในตระกูลแคโรทีนอยด์ ซึ่งพบในมะเขือเทศ แตงโม มะละกอ ฝรั่งเนื้อสีชมพู และเกรปฟรุตสีชมพู มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยการป้องกันเซลล์จากการทำลายของสารอนุมูลอิสระ การที่เซลล์ถูกทำลายเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็ง

ไลโคปีนทำงานร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ ในการป้องกันมะเร็ง

ฤทธิ์ในการป้องกันมะเร็งของไลโคปีนอาจมาจากประสิทธิภาพในการต้านอนุมุลอิสระในตัวมันเอง หรือมาจากความสามารถในการเสริมฤทธิ์สารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่น เช่น วิตามินอี ซี และเอนไซม์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

มะเขือเทศที่ปรุงผ่านความร้อนจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมไลโคปีนได้ดีขึ้น ซอสมะเขือเทศและน้ำมะเขือเทศจึงมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศสดซึ่งไม่ผ่านความร้อน ร่างกายจะสามารถดูดซึมไลโคปีนและแคโรทีนอยด์อื่นๆ ได้ทีที่สุดเมื่อรับประทานพร้อมอาหารที่มีไขมันเล็กน้อย

การวิจัยในห้องทดลองพบว่าไลโคปีนยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งโดยตรง ทำให้เซลล์ที่ผิดปกติทำลายตัวเองมากขึ้น และปรับฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก อย่างไรก็ตาม นักวิจัยชี้ว่า การศึกษาในคนทั้งในเรื่องการป้องกันและรักษามะเร็งต่อมลูกหมากยังให้ผลไม่ชัดเจน

งานวิจัยที่ศึกษาในคนพบว่าการรับประทานมะเขือเทศมากๆ ช่วยลดอุบัติการณ์เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ถึงร้อยละ 10-20 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มีระดับไลโคปีนในเลือดสูงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากลดลงถึงร้อยละ 25 งานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ยังเปิดเยผยว่าชายที่กินไลโคปีนมากที่สุดมีแนวโน้มการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากระดับรุนแรงเหลือเพียงครึ่งเดียวของชายที่กินไลโคปีนน้อยที่สุด

แต่การวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า สารไลโคปีนอย่างเดียวแม้จะมีผลป้องกันมะเร็ง แต่การกินมะเขือเทศให้ผลมากกว่าซึ่งอาจเนื่องมาจากสารอาหารชนิดอื่นๆ ที่มีในผลมะเขือเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของไลโคปีนนั่นเอง และยังพบว่า เมื่อกินมะเขือเทศร่วมกับอาหารพืชอื่นๆ เช่น ถั่วเหลือง หรือบรอกโคลี ให้ผลที่ดีกว่าการมะเขือเทศอย่างเดียว


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Anti-Cancer Diet: Foods to Fight Cancer. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/cancer-photos/top-foods-to-fight-cancer.aspx)
Eating organic food linked with lower cancer risk. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/news/cancer/eating-organic-food-linked-lower-cancer-risk/)
The 7 best cancer-fighting foods to add to your diet. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324193)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
10 อาหารสุขภาพที่มีวิตามิน E สูง
10 อาหารสุขภาพที่มีวิตามิน E สูง

รวบรวมอาหารเพื่อสุขภาพที่อุดมด้วยวิตามิน E เพื่อจะได้เติมประโยชน์ได้ร่างกายกันได้ง่ายขึ้น

อ่านเพิ่ม