อาการกระตุกรัว คือการกระตุกอย่างรวดเร็วของกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถควบคุมหรือหยุดได้ อาการนี้สามารถเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อชุดเดียวหรือหลายชุดพร้อมกันก็ได้ และการเคลื่อนไหวก็อาจเกิดขึ้นเป็นรูปแบบ (Pattern) หรือแบบสุ่มๆ ก็ได้เช่นกัน
อาการกระตุกรัวมักเป็นอาการของภาวะผิดปกติบางอย่าง การสะอึกก็จัดว่าเป็นอาการกระตุกรัวชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นการกระตุกตามหลังการคลายตัวลงของกล้ามเนื้อ อาการกระตุกรัวประเภทนี้มักไม่เป็นอันตราย แต่ก็อาจเกิดขึ้นซ้ำๆ จนสร้างความไม่สบายตัวได้ และอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันด้วย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการกระตุกรัวมีหลายชนิด ซึ่งถูกจำแนกตามสาเหตุการเกิดดังต่อไปนี้
- Action Myoclonus เป็นการกระตุกรัวที่มีความร้ายแรงที่สุด สามารถเกิดกับแขน ขา ใบหน้า และเสียงได้ การกระตุกของกล้ามเนื้อจะรุนแรงขึ้นหากพยายามควบคุมอาการ และมักเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจนหรือมีการไหลเวียนโลหิตไปยังสมองน้อยลง
- Cortical Reflex Myoclonus เกิดจากชั้นนอกสุดของสมอง เป็นรูปแบบหนึ่งของโรคลมชัก (Epilepsy) การกระตุกอาจเกิดกับกล้ามเนื้อไม่กี่ชุดที่ส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือเกิดกับกล้ามเนื้อหลายๆ ชุดทั่วทั้งร่างกาย และอาจจะทรุดลงได้หากมีการขยับร่างกายบางทิศทาง
- Essential Myoclonus เกิดขึ้นโดยไม่มีภาวะต้นตอและไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เป็นชนิดอาการกระตุกที่คงที่และจะหายไปเองโดยที่อาการไม่ได้รุนแรงขึ้น
- Palatal Myoclonus เกิดกับเพดานปากที่เป็นส่วนอ่อนนุ่ม ทำให้เกิดการบีบรัดตัวเป็นจังหวะซึ่งสามารถเกิดกับข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างของเพดานปากก็ได้ อาการนี้อาจส่งผลกับใบหน้า ลิ้น ลำคอ และกระบังลม การกระตุกจะเกิดขึ้นเร็วมาก (อาจถึง 150 ครั้งต่อนาที) และบางคนอาจได้ยินเสียง คลิ๊ก ในหูจากการบีบรัดตัวของกล้ามเนื้อแต่ละครั้งได้ด้วย
- Physiological Myoclonus ตัวอย่างการกระตุกรัวชนิดนี้มีทั้งการสะอึก นอนกรน การกระตุกที่เกี่ยวกับความกังวลหรือการออกกำลังกาย และการกระตุกของกล้ามเนื้อขณะเด็กทารกนอนหลับ
- Progressive Myoclonus Epilepsy (PME) คือกลุ่มของโรคที่ทรุดลงตามกาลเวลาและสามารถกลายเป็นปัญหาร้ายแรงได้ โดยมากมักจะเกิดในเด็กหรือวัยรุ่น ทำให้เกิดอาการชัก ลมบ้าหมู และอาการรุนแรงต่าง ๆ ที่ส่งผลให้พูดและขยับร่างกายลำบาก ภาวะนี้มีอยู่หลายชนิด ได้แก่
- Lafora Body Disease โรคทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดอาการกระตุกรัว ชัก และสมองเสื่อม
- Cerebralstorage Diseases มักทำให้เกิดอาการกระตุกรัว มีปัญหาการมองเห็นและสมองเสื่อม ผลที่ตามมาคือภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonia) ที่ทำให้มีอิริยาบถไม่ปกติ
- System Degenerations ทำให้เกิดอาการชัก และทรงตัวไม่อยู่ขณะยืนหรือเดิน
- Reticular Reflex Myoclonus คือลมชักประเภทหนึ่งที่เริ่มจากก้านสมอง การกระตุกมักจะเกิดทั่วร่างกายทำให้เกิดปฏิกิริยากับกล้ามเนื้อทั้งสองซีก การกระตุกอย่างรุนแรงอาจเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อทุกส่วนหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้ อาการนี้สามารถเกิดได้จากการถูกสิ่งเร้าภายนอกกระตุ้นอีกด้วย
- Stimulus-sensitive Myoclonus คืออาการกระตุกรัวที่เกิดจากเหตุการณ์ภายนอก เช่นเสียงดัง การเคลื่อนไหว หรือแสง ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้มักจะมีอาการกระตุกรุนแรงจากการตกใจ
- Sleep Myoclonus เกิดขึ้นในช่วงเวลานอนหลับ อาการชนิดนี้ไม่ต้องได้รับการรักษา แต่อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงภาวะนอนหลับผิดปกติที่ร้ายแรงได้ เช่น กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Leg Syndrome) เป็นต้น
อาการของภาวะกระตุกรัว
อาการจากภาวะกระตุกรัวมีอยู่หลายระดับ ตั้งแต่เบามากไปจนถึงรุนแรงมาก อาการกระตุกอาจเกิดขึ้นนานๆ ครั้งหรือเกิดบ่อยครั้ง ทุกส่วนของร่างกายสามารถเกิดอาการกระตุกรัวได้หมด โดยทั่วไปแล้วรูปแบบของอาการกระตุกรัว สามารถสรุปออกมาได้ดังนี้
- คาดเดาไม่ได้ เพราะสามารถเกิดขึ้นได้กะทันหัน
- เกิดเพียงชั่วขณะ
- ควบคุมไม่ได้
- มีความรุนแรงและความถี่ที่ไม่สม่ำเสมอ
- เกิดได้กับทุกส่วนในร่างกาย
- ส่งผลรบกวนการกิน การพูดจา หรือการเคลื่อนไหวตามปกติ
สาเหตุของการเกิดอาการกระตุกรัว
อาการกระตุกรัวอาจเกิดขึ้นได้เอง หรือเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- การติดเชื้อ
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- การกระทบกระแทกที่ไขสันหลังหรือศีรษะ
- เนื้องอกในสมองหรือไขสันหลัง
- ไต หรือตับล้มเหลว
- โรคผิดปกติของการสะสมไขมัน (Lipid Storage Disease)
- ผลเสียจากการใช้ยาหรือสารเคมี
- ภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน (Hypoxia)
- ภาวะอักเสบจากภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune Inflammatory Conditions)
- ภาวะผิดปกติที่ระบบเผาผลาญ
- กลุ่มอาการการดูดซึมอาหารผิดปกติ เช่น โรคแพ้กลูเตน (Celiac Disease)
- ภาวะผิดปกติทางประสาทวิทยา เช่น
- โรคลมชัก
- ไข้สมองอักเสบ (Encephalitis)
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โคม่า (Coma)
- โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis)
- โรคพาร์กินสัน (Parkinson's Disease)
- โรคสมองเสื่อมจากลิววีบอดี (Lewy Body Dementia)
- โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease)
- โรคครอยตส์เฟลดต์-จาคอบ (Creutzfeldt-Jakob Disease)
- กลุ่มอาการพารานีโอพลาสติก (Paraneoplastic Syndromes) (ภาวะที่เกิดกับผู้ป่วยมะเร็งบางราย)
- ภาวะ Corticobasal Degeneration
- โรคสมองส่วนหน้าเสื่อม (Frontotemporal Dementia)
- โรคประสาทเสื่อมหลายที่ (Multiple System Atrophy)
การวินิจฉัยอาการกระตุกรัว
การทดสอบหลายวิธีสามารถช่วยให้แพทย์ตรวจพบและวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกระตุกรัวได้ เมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ และได้มีการตรวจร่างกายขั้นเริ่มต้นแล้ว แพทย์อาจพิจารณาใหผู้ป่วยเข้ารับการทดสอบเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
- การทดสอบกิจกรรมไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography (EEG))
- การถ่ายภาพสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging (MRI)) หรือการสแกนคอมพิวเตอร์ (Computed Tomography (CT)) เพื่อระบุปัญหาด้านโครงสร้างหรือหาเนื้องอก
- การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyogram (EMG)) เพื่อวัดการกระตุ้นของกล้ามเนื้อสำหรับระบุชนิดของอาการกระตุกรัว
- การทดสอบในห้องปฏิบัติการณ์เพื่อมองหาร่องรอยของภาวะที่อาจส่งผลให้เกิดอาการกระตุกรัว เช่น
- โรคเบาหวาน (Diabetes)
- ภาวะดูดซับอาหารผิดปกติ (Metabolic Disorders)
- โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง
- โรคไตหรือโรคตับ
- ยาหรือสารพิษต่าง ๆ
การรักษาอาการกระตุกรัว
หากอาการกระตุกรัวเกิดจากภาวะสุขภาพ แพทย์จะพยายามรักษาภาวะนั้นๆ ให้สำเร็จเสียก่อน แต่หากเป็นโรคที่รักษาไม่หาย การรักษาจะมีเป้าหมายเพื่อลดความรุนแรงกับความถี่ของอาการลงแทน โดยวิธีดังนี้
- การใช้ยา แพทย์อาจจ่ายยาระงับประสาท ยากดประสาท หรือยากันชักเพื่อลดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ
- การผ่าตัด แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดหากอาการกระตุกรัวเกี่ยวข้องกับเนื้องอกหรือรอยโรคในสมองและไขสันหลัง
- การรักษาทางเลือก การฉีด Onabotulinum toxin A (Botox) อาจช่วยรักษาอาการกระตุกรัวที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้ โดยสารตัวนี้จะออกฤทธิ์ยับยั้งการปล่อยสารเคมีส่งสัญญาณที่ทำให้เกิดอาการกระตุกลง
การป้องกันอาการกระตุกรัว
ขณะนี้ยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดอาการกระตุกรัว แต่ทุกคนสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการกระตุกรัวจากสาเหตุต่างๆ ที่ชัดเจนได้ ด้วยป้องกันการบาดเจ็บของศีรษะและสมอง ด้วยการสวมใส่หมวกนิรภัยหรือเครื่องป้องกันศีรษะ ขณะทำกิจกรรมเสี่ยง เช่น การขับขี่จักรยานหรือจักรยานยนต์ เป็นต้น
ที่มาของข้อมูล
Anna Zernone Giorgi, myoclonus (https://www.healthline.com/symptom/myoclonic-jerks), 9 ธันวาคม 201