งานวิจัยเผย ดนตรีทำให้เราเพลิดเพลินกับการออกกำลังกาย

เผยแพร่ครั้งแรก 8 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
งานวิจัยเผย ดนตรีทำให้เราเพลิดเพลินกับการออกกำลังกาย

หากคุณรู้สึกเบื่อการไปออกกำลังกาย การเปิดเพลงอาจช่วยคุณได้ เพราะมีงานวิจัยชิ้นใหม่พบว่า การฟังเพลงขณะออกกำลังกายไม่ได้ทำให้เราโฟกัสสิ่งที่ทำ ณ ขณะนั้น แต่มันกลับช่วยให้เราเพลิดเพลินกับการออกกำลังกายมากขึ้น ซึ่ง Marcelo Bigliassi หนึ่งในหัวหน้างานวิจัยจาก Brunel University London และทีมงานได้ค้นพบสิ่งที่เรากล่าวไปโดยใช้เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมองเพื่อติดตามการตอบสนองของสมองต่อดนตรีในขณะที่ผู้เข้าร่วมทดลองออกกำลังกาย

ฟังเพลงช่วยอะไรขณะออกกำลังกาย?

ทั้งนี้ดนตรีมีความสามารถในการช่วยให้เราตอบสนองทางอารมณ์ การฟังเพลงสามารถช่วยให้เรารู้สึกมีความสุข เศร้า โกรธ ทำให้มีพลัง หรือมีแรงกระตุ้น อย่างไรก็ดี ด้วยความที่เพลงช่วยกระตุ้นเราได้ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลว่าทำไมหลายคนถึงใส่หูฟังเมื่อออกไปวิ่ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ดี ทีมวิจัยได้ใช้เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมองเพื่อประเมินว่าดนตรีหรือพ็อดคาสท์ส่งผลต่อสมองในระหว่างออกกำลังกายอย่างไรเมื่อเทียบกับการไม่ใช้เสียงเป็นตัวกระตุ้น โดยให้ผู้เข้าร่วมทดลอง 24 คน เดินบนลู่วิ่งเป็นระยะทาง 400 เมตร โดยอยู่ภายใต้หนึ่งในสามเงื่อนไขคือ เดินขณะฟังเพลง Happy ของ Pharrell Williams เป็นเวลา 6 นาที ฟัง Ted talk และไม่ฟังเสียงใดๆ เลย

ในระหว่างที่เดิน นักวิจัยจะวัดคลื่นสมองของผู้เข้าร่วมทดลองโดยใช้เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมอง นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังประเมินว่าเงื่อนไขทั้งสามข้อที่เรากล่าวไปส่งผลต่อความสนใจในขณะเดินของผู้เข้าร่วมทดลองหรือไม่ รวมถึงดูว่ามันส่งผลต่อความรู้สึกตื่นตัวและความอ่อนเพลียหรือไม่

นักวิจัยพบว่า การฟังดนตรีสามารถช่วยเพิ่มความเพลิดเพลินในระหว่างที่เดินได้มากถึง 28% เมื่อเทียบกับการไม่ใช้เสียงดนตรีมาช่วยกระตุ้น นอกจากนี้คนที่ฟังดนตรียังรู้สึกเพลิดเพลินมากกว่าคนที่ฟังพ็อดคาสท์ประมาณ 13% ซึ่งผลที่ได้นั้นมีความเชื่อมโยงกับการเพิ่มของคลื่นเบต้าในสมองใหญ่ส่วนนอก (Cerebral Cortex) บริเวณด้านหน้าและตรงกลาง  ทั้งนี้มีการสรุปว่า ดนตรีมีศักยภาพในการเพิ่มคลื่นเบต้าในสมอง และช่วยดึงอารมณ์ด้านบวกของเราออกมา นอกจากการเดินแล้ว การฟังดนตรียังให้ผลเช่นเดียวกับตอนที่เราออกกำลังกายรูปแบบอื่นๆ รวมถึงทำให้กิจกรรมน่ารื่นรมย์มากขึ้น

ควรออกกำลังกายมากแค่ไหน?

ทั้งนี้ Physical Activity Guidelines for American แนะนำว่า ผู้ใหญ่ทุกคนควรออกกำลังกายระดับหนัก (Vigorous-Intensity) อย่างน้อย 75 นาที หรือออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับปานกลางเป็นเวลาอย่างน้อย 150 นาทีทุกสัปดาห์ หากคุณไม่ชอบออกกำลังกายเพราะมันไม่สนุก การฟังเพลงในขณะที่ออกกำลังกายก็อาจช่วยให้คุณมีแรงกระตุ้นมากขึ้นก็ได้ค่ะ


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?

ทำความรู้จักเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือเครื่องวัดชีพจร และอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายแต่ละโซน

อ่านเพิ่ม
ชีพจรขณะพักคืออะไร
ชีพจรขณะพักคืออะไร

ทำความรู้จักค่าชีพจรที่เหมาะสมในแต่ละวัย และวิธีการวัดชีพจรแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ

อัตราการเต้นของหัวใจคืออะไร สำคัญอย่างไร ค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในช่วงปกติและขณะออกกำลังกายของแต่ละช่วงวัยคือเท่าไร

อ่านเพิ่ม