กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

หญิงข้ามเพศ…ใช้ฮอร์โมนเอสโตรอย่างไรจึงไม่เสี่ยง(มาก)?!?

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 4 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
หญิงข้ามเพศ…ใช้ฮอร์โมนเอสโตรอย่างไรจึงไม่เสี่ยง(มาก)?!?

เมื่อลักษณะทางกายภาพไม่สอดคล้องกับสภาพทางจิตใจ นอกจากการศัลยกรรมแล้ว การใช้ยาก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จำเป็นสำหรับสาว ๆ ข้ามเพศ โดยมีวัตถุประสงค์ในการ...

  1. ลดหรือต้านผลจากฮอร์โมน Testosterone (เทสโทสเตอโรน) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศเดิมในร่างกาย เพื่อลดลักษณะอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ การมีหนวดเครา, ขนดก และศีรษะล้าน, ลดมวลกล้ามเนื้อ, ลดขนาดอัณฑะและการผลิตอสุจิ รวมไปถึงลดการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  2. เสริมฮอร์โมน Estrogen (เอสโตรเจน) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศที่ต้องการ เพื่อแสดงลักษณะทางเพศหญิง ได้แก่ เต้านมโต, สะโพกผาย และผิวพรรณเปล่งปลั่ง

ในขณะที่ยาและฮอร์โมนที่มีผลต้านฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชาย ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะมีการใช้ในระยะสั้น ๆ ก่อนผ่าตัดแปลงเพศ แต่สำหรับฮอร์โมนเอสโตรเจน จะต้องมีการใช้ต่อเนื่องในระยะยาวทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด เพื่อให้ลักษณะทางกายภาพของเพศหญิงคงอยู่ต่อไป จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากยาได้นะคะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผ่าตัดแปลงเพศ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 178,200 บาท ลดสูงสุด 32,100 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความเสี่ยงที่พบได้จากการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในหญิงข้ามเพศ ได้แก่...

  • การเกิดลิ่มเลือดอุดตัน (Thromboembolism)
  • เนื้องอกของต่อมใต้สมองที่สร้างโปรแลคติน (Macroprolactinoma)
  • มะเร็งเต้านม (Breast cancer)
  • การทำงานของตับบกพร่องอย่างรุนแรง (Severe liver dysfunction) โดยจะพบค่าเอนไซม์ในตับสูงกว่าระดับปกติมากกว่า 3 เท่า
  • โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease)
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease)
  • ปวดศีรษะไมเกรนรุนแรง (Severe migraine headaches)
  • งดสูบบุหรี่ เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป และสูบบุหรี่จัด
  • งดดื่มแอลกอฮอล์ หรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดตับอักเสบรุนแรงได้
  • ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนที่จะใช้ยาหรือสมุนไพรใด ๆ เพราะอาจมีปัญหายาตีกันกับฮอร์โมนที่ใช้อยู่ และทำให้การรักษาไม่ได้ผลดี หรือเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากยาได้มากขึ้น
  • หากมีอาการปวดศีรษะรุนแรงหรือบ่อยครั้ง, การมองเห็นผิดปกติ, น้ำนมไหล, ตัวเหลืองตาเหลือง หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมนะคะ

แล้วจะป้องกันหรือลดความเสี่ยงนั้นได้อย่างไร?!?

  • ใช้ยาโดยอยู่ในความดูแลของแพทย์
  • ปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม
  • ตรวจติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ

แม้ว่ายาส่วนใหญ่จะสามารถหาซื้อได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบสั่งแพทย์ แต่เรื่องของฮอร์โมนเป็นเรื่องซับซ้อน คงไม่อาจรู้อย่างถ่องแท้เพียงแค่อ่านจากบทความในอินเตอร์เน็ตหรอกนะคะ

ส่วนการใช้ยาเองตามเพื่อน ก็เหมือนกับการซื้อชุดแบบเย็บโหลมาใส่ค่ะ ที่แม้ว่าบางคนจะใส่แล้วพอดีตัว แต่เมื่อเทียบกับการตัดเย็บจากช่างเสื้อฝีมือดี ที่ผ่านการวัดขนาดตัวมาโดยเฉพาะ ก็ย่อมจะดูเหมาะดูแพงกว่าอยู่แล้ว

ซึ่งหากเป็นเพียงเสื้อผ้า ถ้าใส่แล้วไม่สวยก็แค่เสียดายเงินนะคะ แต่การใช้ยานี่สิ ถ้าใช้อย่างไม่เหมาะสม นอกจากจะไม่ได้ผลดีตามที่ต้องการแล้ว ยังอาจจะถึงกับเสียชีวิตได้เลย

ดังนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด ไปพบกุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อหรืออายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อเพื่อรับการตรวจเพิ่มเติม และพิจารณาการใช้ยาที่เหมาะสมดีกว่าค่ะ

 แพทย์จะนัดตรวจติดตามอาการ เพื่อประเมินผลการรักษา และปรับขนาดยา รวมถึงเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขอาการอันไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น ทุก 2 – 3 เดือนในปีแรก แล้วค่อย ๆ นัดห่างขึ้นจนเป็น 1 – 2 ครั้ง/ปีหากไม่พบอาการแทรกซ้อนใด ๆ

เพื่อความปลอดภัย จึงควรไปรับการตรวจติดตามผลอย่างสม่ำเสมอนะคะ


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Gender Affirmation Non-Surgical Services. Johns Hopkins Medicine. (https://www.hopkinsmedicine.org/center-transgender-health/services-appointments/nonsurgical-services.html)
Hormone therapy for transgender patients. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5182227/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป