กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยาแก้เมารถแก้อาการแพ้ท้องได้ไหม

เผยแพร่ครั้งแรก 31 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 30 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ใช้ยาแก้เมารถ แก้แพ้ท้องได้ไหม?

กรณีที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรง สามารถใช้ยา Dimenhydrinate หรือที่คุ้นเคยกันว่าเป็นยาแก้เมารถ เพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ค่ะ

เนื่องจากเป็นยาสามัญประจำบ้าน จึงมีข้อดีที่สามารถหาซื้อได้ง่าย อีกทั้งยังมีราคาไม่แพง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม แม้ยา Dimenhydrinate จะมีระดับความปลอดภัยที่สามารถแนะนำให้ใช้ในขณะตั้งครรภ์ได้ (แต่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานในระยะ 2 สัปดาห์ก่อนคลอดนะคะ) แต่ยาเองก็มีผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ง่วงซึม มึนงง ปาก-จมูก-คอแห้ง ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ ฯลฯ

ดังนั้น ก่อนจะเลือกใช้ยานี้ อาจเริ่มต้นด้วยการลองใช้วิธีอื่น ๆ ที่ปลอดภัยหรือมีผลข้างเคียงน้อยกว่า เช่น...

แก้อาการแพ้ท้อง โดยวิธีธรรมชาติ

  1. การปรับเปลี่ยนอาหาร / พฤติกรรมการรับประทาน โดย...
  • รับประทานขนมหรืออาหารว่างในตอนเช้าก่อนลุกจากเตียง และรับประทานอาหารในปริมาณน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง เช่นทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อหลีกเลี่ยงการคลื่นไส้จากท้องว่างหรือจากการรับประทานอาหารอิ่มเกินไป
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นฉุน, รสจัด หรือมีลักษณะที่ชวนให้คลื่นไส้
  • อาหารประเภทแป้งหรือโปรตีนทำให้คลื่นไส้น้อยกว่าอาหารประเภทไขมัน จึงอาจเลือกของว่างเป็นพวกขนมปังกรอบหรือถั่วต่าง ๆ
  • อาหารที่มีรสเค็มหรือเปรี้ยว มักไม่ทำให้คลื่นไส้ ดังนั้น นอกจากขนมปังกรอบหรือถั่วอบที่มีรสเค็ม ก็อาจรับประทานผลไม้รสเปรี้ยวเป็นของว่างได้
  • หากดื่มน้ำเปล่าแล้วคลื่นไส้ สามารถเปลี่ยนเป็นเครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยว, มีกลิ่นหอม, เย็น หรือซ่า เช่น น้ำผลไม้, น้ำส้ม, น้ำมะนาว, น้ำขิง, ชาสะระแหน่, น้ำอัดลม ฯลฯ

 

  1. การใช้สมุนไพร

นั่นก็คือการใช้ ‘ขิง’ เพื่อลดอาการคลื่นไส้

แม้ว่าการศึกษาเรื่องความปลอดภัยในการใช้ขณะตั้งครรภ์ยังมีจำกัด ทำให้ไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าขิงทำให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ได้หรือไม่

แต่จากที่หลากหลายวัฒนธรรมมีการใช้ขิงเพื่อลดอาการคลื่นไส้อาเจียนขณะตั้งครรภ์มานาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ginger

โดยไม่พบรายงานความผิดปกติใด ๆ จึงแนะนำให้ใช้ในปริมาณเดียวกับที่เคยมีการใช้กันมาก่อนได้ค่ะ

ดังนั้น อาจเลือกรับประทานในรูปแบบอาหารที่มีขิงเป็นส่วนผสม, ดื่มน้ำขิง หรือรับประทานในรูปแบบขิงแคปซูลก็ได้นะคะ โดยแนะนำการใช้ในขนาดที่มีปริมาณขิงผงไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

 

  1. การใช้ยาb6

มียาหลายชนิดที่สามารถใช้รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ แต่ยาที่ถือว่ามีความปลอดภัยมาก และแนะนำให้ใช้เป็นทางเลือกแรกในการลดอาการคลื่นไส้ที่ไม่รุนแรงขณะตั้งครรภ์ ก็คือ Pyridoxine (Vitamin B6) ขนาดที่แนะนำคือ รับประทานครั้งละ 10 – 25 มิลลิกรัม ทุก 6 – 8 ชั่วโมง (ขนาดการใช้สูงสุดไม่เกินวันละ 200 มิลลิกรัม)

 

เมื่อลองใช้วิธีที่ 1 – 3 (อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือร่วมกัน) แล้ว ยังมีอาการแพ้ท้องมาก ก็สามารถ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

rx01

นำยา Dimenhydrinate มาใช้ได้ค่ะ ซึ่งหากอาการยังไม่ดีขึ้นอีก คงต้องปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษาอื่น ๆ เพิ่มเติมนะคะ

 

 

 

 

ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูล...

  • ความรู้ / วิชาการ
  1. Treatment and outcome of nausea and vomiting of pregnancy. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2558, จาก http://www.uptodate.com/contents/treatment-and-outcome-of-nausea-and-vomiting-of-pregnancy
  2. Nausea and vomiting of pregnancy. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2558, จาก http://www.aafp.org/afp/2003/0701/ppdf

 

  • ภาพประกอบ
  1. Products; Medico labs. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, จากhttp://www.medico.sy/eng/prodetails10.php?id=39
  2. ขิง. สรรพคุณและประโยชน์ของขิง 65 ข้อ. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557. จากhttp://frynn.com/%E0%B8%82%E0%B8%B4%E0%B8%87/

13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Morning sickness: Treatments, prevention, and when it starts. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/179633)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป