ผิวชื้นโดยปกติจะเกิดจากภาวะที่เหงื่อออกจนผิวชื้นชุ่มน้ำไปทั่ว ซึ่งเหงื่อจะหลั่งเพื่อตอบสนองต่อความร้อนสูงในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายเย็นลงจากความชื้นที่ค่อยๆ ระบายออกจากผิวหนัง
การเปลี่ยนแปลงการเผาผลาญในร่างกายของคุณจากการออกกำลัง กระบวนการที่ก่อให้เกิดความร้อนสูงสามารถกระตุ้นการทำงานของต่อมเหงื่อ ทำให้ผิวของชุ่มเหงื่อได้ แต่ถ้าผิวหนังชื้นชุ่มเหงื่อเองโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน ก็อาจเป็นสัญญาณของอาการเจ็บป่วยร้ายแรงบางชนิด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สาเหตุของผิวชื้นชุ่มเหงื่อที่พบได้บ่อย
ความผิดปกติทางร่างกายหลายชนิด ส่งผลให้เกิดผิวชื้นชุ่มเหงื่อ เช่น
- โรคไข้หวัดใหญ่
- ภาวะตื่นตระหนก
- ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- การติดเชื้อในไต
- ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน
- ภาวะเลือดออกภายในร่างกาย
- ภาวะช็อก (Shock)
- ความอ่อนเพลียจากความร้อน (Heat exhaustion)
- ภาวะเหงื่อออกมากเกิน (Hyperhidrosis)
- วัยหมดประจำเดือน
- กลุ่มอาการถอนแอลกอฮอล์
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์?
ควรรีบไปพบแพทย์ทันที หากพบอาการผิวชื้นชุ่มเหงื่อร่วมกับอาการต่อไปนี้
- ผิวซีด
- ผิวชื้น
- ปวดอก หลัง หรือท้อง
- ปวดตามแขนขา
- หัวใจเต้นเร็ว
- หายใจอ่อน
- ชีพจรเบา
- สมองเบลอ
- อาเจียนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหากมีเลือดปนด้วย
- หายใจลำบาก
- บวมตามใบหน้า
- อาเจียน
- หมดสติ
- เจ็บหน้าอก
- เล็บและริมฝีปากคล้ำ
- ปัสสาวะไม่ออก หรือไม่มีปัสสาวะ
- เหงื่อออกจนเปียกชื้นไปทั้งตัว
- หายใจหอบถี่
- อาการปวดหรือชาลามไปตามแขน โดยมักจะเกิดขึ้นกับแขนซ้าย
ภาวะดังกล่าวอาจเกิดจากปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรง ภาวะช็อก หรืออาจเกิดจากโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที
การวินิจฉัยโรคจากอาการผิวชื้นชุ่มเหงื่อ
เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการผิวชื้นชุ่มเหงื่อ แพทย์จะซักประวัติทางการแพทย์และประวัติครอบครัวรวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารและกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย
หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการของโรคหัวใจ ก็อาจมีการตรวจจังหวะการเต้นของหัวใจผ่านการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) และอาจทำการตรวจเลือดหรือส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจระดับฮอร์โมนและตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อเพิ่มเติม
การรักษาอาการผิวชื้นชุ่มเหงื่อ
ทางเลือกการรักษาผิวชื้นชุ่มเหงื่อ จะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้น เช่น
- หากเกิดจากการอ่อนเพลียจากความร้อนและการขาดน้ำ แพทย์จะให้น้ำเกลือหรือสารเหลวผ่านสายฉีดเข้าเส้นเลือดดำ (IV)
- หากเกิดจากปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรง แพทย์จะให้อะดรีนาลีนเพื่อหยุดปฏิกิริยาของร่างกายต่อสารก่อภูมิแพ้
- หากเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน แพทย์จะให้ยาฮอร์โมนทดแทน
ที่มาของข้อมูล
Brain Wu, What’s causing my clammy skin?(https://www.healthline.com/health/skin-clammy), December 5, 2017.