การนั่งสมาธิสามารถช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและความเครียดได้

เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การนั่งสมาธิสามารถช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและความเครียดได้

ถึงแม้ว่าการนั่งสมาธิยังไม่ได้เป็นที่นิยมมากเท่าไรนัก แต่ผู้คนจำนวนมากก็ได้ปฏิบัติโดยหวังผลที่จะช่วยบรรเทาความเครียดและปัญหาทางสุขภาพที่เกิดจากความเครียด การนั่งสมาธิเพิ่งจะมาเป็นที่นิยมในไม่กี่ปีมานี้ โดยการนั่งสมาธิประกอบด้วยการนั่งในท่าที่สบาย สมาธิจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออก และดึงความสนใจของคุณมาอยู่ที่ ณ ปัจจุบัน โดยที่ไม่วอกแวกไปคิดกังวลเรื่องอดีตหรืออนาคต

 การนั่งสมาธิช่วยลดความวิตกกังวลได้ไหม?

แต่สำหรับหลาย ๆ การรักษาทางเลือกอื่นแล้ว มีหลักฐานการศึกษาจำนวนมากที่ไม่ได้ยืนยันว่าการนั่งสมาธิมีประสิทธิภาพที่ดีในการสนับสนุนสุขภาพทั้งทางกายและทางจิต เพราะไม่เคยมีการศึกษาที่เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ควบคุมการรักษาได้สม่ำเสมอต่อเนื่องดีกับคนที่นั่งสมาธิ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

รวมถึงกลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยที่อาสานั่งสมาธิมักเป็นกลุ่มที่เชื่อในประโยชน์จากการนั่งสมาธิและมักให้คำรายงานถึงแต่แง่บวก

มีแพทย์นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ใน Baltimore ได้ค้นคว้าผลการศึกษาเกี่ยวกับการนั่งสมาธิกว่า 19,000 ฉบับ และพบเพียง 47 การศึกษาที่เข้าได้กับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การศึกษาของพวกเค้าได้ตีพิมพ์ลงใน JAMA Internal Medicine 

พบว่า การนั่งสมาธิสามารถช่วยบรรเทาความเครียดต่าง ๆ เช่น ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และอาการเจ็บปวดได้

การนั่งสมาธิช่วยลดอาการวิตกกังวลได้อย่างไร?

ดร. Elizabeth Hoge จิตแพทย์จากศูนย์ Center for Anxiety and Traumatic Stress Disorders จากโรงพยาบาล Massachusetts General Hospital และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ที่ Harvard Medical School กล่าวว่า การนั่งสมาธิสามารถช่วยรักษาความวิตกกังวลได้ “ผู้ป่วยโรคความวิตกกังวลจะมีปัญหาในการจัดการกับความคิดต่าง ๆ มากมายที่เข้ามารบกวนจิตใจเป็นอย่างมาก” “พวกเขาไม่สามารถแยกแยะระหว่างความคิดที่ใช้ในการจัดการปัญหา และความคิดความกังวลที่ไม่เกิดประโยชน์”

“หากคุณมีความวิตกกังวลที่ไม่เกิดประโยชน์มากเกินไป คุณสามารถฝึกตัวเองให้เผชิญหน้ากับความคิดกังวลเหล่านั้นได้ในอีกหลายทาง คุณอาจเคยคิดว่า ‘ไม่นะ ฉันสายแล้ว ฉันอาจจะไม่ได้งานนี้หากฉันไปสาย และนั่นมันแย่มาก ! ’ การมีสติสมาธิจะปรับเปลี่ยนความคิดให้คุณเริ่มตระหนักได้ว่า ‘โอ้ ความคิดกังวลนั่นอีกแล้ว ฉันเคยมีความคิดนั้นมาก่อน แต่นั่นเป็นเพียงความคิดที่ผ่านไป ไม่ใช่ตัวตนของฉัน” ดร.Hoge กล่าว

หนึ่งในงานวิจัยล่าสุดของเธอ (ที่ได้ตีพิมพ์ลงใน JAMA Internal Medicine) พบว่าโปรแกรมจัดการกับความเครียดโดยอิงพื้นฐานจากการฝึกจิตทำสมาธิ สามารถช่วยลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรควิตกกังวล (generalized anxiety disorder) ภาวะที่ทำให้คนคนหนึ่งสามารถควบคุมความคิดความวิตกกังวลได้อย่างยากลำบาก มีปัญหาด้านการนอนหลับ และกระสับกระส่าย ผู้ป่วยในกลุ่มควบคุมพอมีอาการดีขึ้นบ้าง แต่ไม่มากเท่ากับกลุ่มที่ได้รับการฝึกทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอ - โดยทั้งสองกลุ่มจะได้รับการสอนเกี่ยวกับการจัดการกับความเครียด โดยจัดเวลาการเรียนการสอนและการมีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มให้เท่ากัน

ดร.Hoge กล่าวไว้ว่า หลายคนพบว่าเทคนิคและการฝึกปฏิบัติทำสมาธิเป็นกลุ่มนั้นมีประโยชน์อย่างมาก โดยโปรแกรมจัดการกับความเครียดโดยอิงพื้นฐานจากการฝึกจิตทำสมาธิที่พัฒนาโดย ดร.Jon Kabat-Zinn มหาวิทยาลัย Massachusetts Medical School ใน Worcester, MA สามารถหาและเข้าร่วมได้หลายที่ในประเทศอเมริกา

แม่ของฉันเองก็คงอยากแนะนำคุณถึง Thich Nhat Hahn โดยมีเทคนิคการทำสมาธิง่าย ๆ ในหนังสือ Being Peace ว่า “หายใจเข้า ฉันสงบ หายใจออก ยิ้ม อยู่กับปัจจุบัน เพราะตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่แสนสุขใจ”


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Need Stress Relief? Try Mindfulness Meditation. Johns Hopkins Medicine. (https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/need-stress-relief-try-mindfulness-meditation)
Mindfulness. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/stress-anxiety-depression/mindfulness/)
Benefits of Meditation for Generalized Anxiety Disorder. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/the-benefits-of-meditation-for-generalized-anxiety-disorder-4143127)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป