6 วิธีรับมือกับความอ่อนล้าทางอารมณ์

เผยแพร่ครั้งแรก 5 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 วิธีรับมือกับความอ่อนล้าทางอารมณ์

ความอ่อนล้าทางอารมณ์ หรือ Emotional Exhaustion ถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะในแต่ละวันเราต้องเจอเรื่องราวมากมายให้คิดหรือตามแก้ปัญหา หากคุณมีพลังงานด้านลบอยู่กับตัวเองมากเกินไป แน่นอนว่ามันจะทำให้คุณไม่มีความสุข และมีปัญหากับสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต วันนี้เราจึงได้รวบรวมหลากวิธีที่จะช่วยปรับอารมณ์ของคุณให้กลับมาเป็นปกติอีกครั้ง มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1. รู้อารมณ์ของตัวเอง

เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก และเราต่างก็เจอเรื่องที่ทำให้อารมณ์ดีและไม่ดีตลอดวัน แต่การที่คุณจะควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้นั้น อันดับแรกคือ คุณต้องรู้เท่าทันอารมณ์ให้ได้ ทั้งนี้ให้คุณหายใจเข้าลึกๆ และทำความเข้าใจความรู้สึกของตัวเองก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นหรือตัดสิน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. รักตัวเอง

การหันมารักตัวเองสามารถช่วยต่อสู้กับความอ่อนล้าทางอารมณ์ คุณควรรักตัวตนที่เป็นอยู่ตอนนี้ แม้ว่ามีบางสิ่งที่คุณไม่ชอบหรือต้องการเปลี่ยนแปลง เพราะการมีกระบวนการทางความคิดที่ไม่ดีหรือการวิจารณ์ตัวเอง มักทำให้เรารู้สึกหมดแรงและไม่มีความสุข หากมันเป็นเรื่องยากที่จะยอมรับตัวเอง การไปพบจิตแพทย์เพื่อบำบัดก็พอจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ค่ะ

3. หันมาสนใจตัวเอง

การหันมาสนใจตัวเองจะทำให้คุณตระหนักถึงคุณค่าและจุดแข็งของตัวเอง อย่างไรก็ดี ให้คุณค้นหาหรือทบทวนสิ่งที่ทำให้คุณมีแพชชั่น และสิ่งที่ทำให้คุณอยากตื่นนอนทุกเช้า การทำเช่นนี้จะทำให้คุณเข้าใจสิ่งที่คุณต้องการ เพื่อที่จะได้พัฒนาตัวเอง ก้าวเดินต่อไปข้างหน้า ทำตามเป้าหมายที่วางไว้ และทิ้งความวิตกกังวล ความกลัว และความไม่มั่นใจในตัวเองไว้ด้านหลัง

4. ซาบซึ้งกับสิ่งที่มี

หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความอ่อนล้าทางอารมณ์คือ การมัวแต่บ่นตลอดเวลาเกี่ยวกับสิ่งที่คุณไม่มี สิ่งที่ต้องการมี หรือสิ่งที่คุณมีแต่ดันไม่ชอบ ถ้าคุณอยากกลับมามีพลังอีกครั้ง ให้คุณเปลี่ยนจากการบ่นมาเป็นซาบซึ้งกับสิ่งที่คุณมีแทน การเปลี่ยนมุมมองของตัวเองจะส่งผลต่ออารมณ์ได้ แม้ว่าชีวิตของคุณไม่ได้ดีดังใจหวัง แต่คุณก็น่าจะมีอะไรดีๆ ในตัวเองบ้างค่ะ

5. หาจุดประสงค์

หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความอ่อนล้าทางจิตใจก็คือ การไม่ได้ทำตามแพชชั่น หากคุณกำลังอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ ให้จำไว้ว่าคุณสามารถทำสิ่งใดก็ตามที่คุณต้องการ ซึ่งการคิดเกี่ยวกับอดีตหรือสิ่งที่คุณไม่สามารถทำได้สำเร็จ จะทำให้คุณเหนื่อยและไม่มีความสุข ทั้งนี้ให้คุณตั้งเป้าหมายและทุ่มเทให้กับมันอย่างเต็มที่ คุณจะได้ทำงานหนักเพื่อค้นหาความสามารถของตัวเองและพัฒนาทักษะอื่นๆ ที่ทำให้คุณไปถึงจุดที่ต้องการ

6. หยุดความคิดที่จะควบคุมทุกสิ่ง

คุณไม่สามารถควบคุมทุกสิ่งในชีวิตให้เป็นไปตามที่ใจหวัง หากคุณสามารถปล่อยวางได้ คุณก็จะมีความสุขมากขึ้น นอกจากนี้คุณอาจขอความช่วยเหลือจากคนอื่นในกรณีที่คุณไม่สามารถจัดการกับปัญหาด้วยตัวเอง และถ้ามีสถานการณ์ใดๆ ที่ทำให้เกิดปัญหา ให้คุณคิดแผนตั้งรับไว้ค่ะ

ความอ่อนล้าทางอารมณ์สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากเราไม่จัดการกับอารมณ์ให้ดี มันก็จะทำให้คุณไม่มีความสุขกับชีวิต หากตอนนี้คุณกำลังรู้สึกเหนื่อยใจกับบางเรื่องในชีวิต การนำวิธีที่เราแนะนำข้างต้นไปปรับใช้ก็พอจะช่วยทำให้คุณมีอารมณ์ดีขึ้นได้ค่ะ


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chronic Fatigue From RA: 6 Ways to Fight Back. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/hs/rheumatoid-arthritis-treatment-management/chronic-fatigue/)
How to Tell You Have Reached the Point of Burnout. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/stress-and-burnout-symptoms-and-causes-3144516)
Job burnout: How to spot it and take action. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/burnout/art-20046642)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีการจัดการกับโรควิตกกังวล
วิธีการจัดการกับโรควิตกกังวล

คุณสามารถควบคุมโรคนี้ได้หากได้รับความช่วยเหลือ

อ่านเพิ่ม
แนวทางการวินิจฉัยโรควิตกกังวลตาม DSM5
แนวทางการวินิจฉัยโรควิตกกังวลตาม DSM5

อาการของโรคนี้คืออะไรแล้วจะใช้การประเมินอย่างไร?

อ่านเพิ่ม
เมื่อไหร่ควรไปปรึกษาจิตแพทย์
เมื่อไหร่ควรไปปรึกษาจิตแพทย์

จิตแพทย์ไม่ใช่แค่รักษาคนบ้า แต่สามารถปรึกษาและรักษาปัญหาทางจิตอื่นๆ ได้ด้วย

อ่านเพิ่ม