กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การตรวจทางการแพทย์ที่จำเป็นในช่วงไตรมาสแรก

เผยแพร่ครั้งแรก 11 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การตรวจทางการแพทย์ที่จำเป็นในช่วงไตรมาสแรก

ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์จะมีการตรวจที่จำเป็นหลายอย่าง เช่น การกรุ๊ปเลือด ตรวจคัดกรองโรคโลหิตจาง ตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดเยอรมัน ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซิฟิลิส เชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ  และยังมีการตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมที่จำเป็นด้วย เช่น การตรวจหาภาวะดาวน์ซินโดรม เป็นต้น ดังนั้นก่อนการเข้ารับการตรวจใดๆ แนะนำให้พูดคุยกับแพทย์ถึงข้อดี ข้อเสีย ที่จะเกิดขึ้น ก่อนตัดสินใจตรวจเสมอ

ในระหว่างการตั้งครรภ์จะมีการตรวจทางการแพทย์ที่จำเป็นต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าทั้งคุณและทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรง โดยในช่วงไตรมาสแรก (3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) จะมีการตรวจที่จำเป็นดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การตรวจเลือด

ในครั้งแรกที่คุณมาพบแพทย์ แพทย์จะตรวจเลือดของคุณเพื่อดูกรุ๊ปเลือด ตรวจคัดกรองโรคโลหิตจาง ตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดเยอรมัน (rubella) ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซิฟิลิส เชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

นอกจากนี้เชื้อชาติและประวัติครอบครัวจะถูกใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม โดยแพทย์อาจแนะนำให้คุณเข้ารับการตรวจและรับคำปรึกษาเรื่องความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางพันธุกรรม เช่น cystic fibrosis, โลหิตจางชนิด sickle cell (หากไม่เคยได้รับการตรวจก่อนการตั้งครรภ์) และอาจมีการตรวจการติดเชื้อ toxoplasmosis และ varicella (เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคอีสุกอีใส) รวมถึงตรวจระดับฮอร์โมน hCG ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากรก (placenta) และ/หรือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ อีกด้วย

การตรวจปัสสาวะ

แพทย์จะให้คุณเก็บปัสสาวะเพื่อตรวจหาการติดเชื้อที่ไต และถ้าจำเป็นการตรวจปัสสาวะจะใช้เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ โดยการวัดระดับฮอร์โมน hCG ในปัสสาวะ (สามารถใช้การตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมน hCG เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์แทนได้) ปัสสาวะจะถูกเก็บอย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลกลูโคส (สัญญาณของโรคเบาหวาน) และอัลบูมิน (โปรตีนที่อาจบ่งชี้ว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษ, ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์)

 นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น ในช่วงไตรมาสแรก คุณอาจได้รับคำแนะนำให้ตรวจทางพันธุกรรม โดยก่อนอื่นคุณต้องตัดสินใจก่อนว่าคุณต้องการตรวจทางพันธุกรรมหรือไม่ บางคนจะรู้สึกว่าการตรวจทางพันธุกรรมเหล่านี้อาจทำให้มีอาการเครียดเกินไป เพราะพวกเขาต้องการให้แน่ใจว่าลูกที่เกิดออกมานั้นจะมีพันธุกรรมที่เป็นปกติ

บางคนอาจต้องการตรวจทุกอย่างเท่าที่ตรวจได้ แต่อย่างไรก็ตามการตรวจทั้งหมดนี้ไม่มีอะไรให้ผลแม่นยำที่ 100% ดังนั้นให้พูดคุยปรึกษากับแพทย์ถึงข้อดีและข้อเสียเพื่อดูว่าการตรวจทางพันธุกรรมนั้นมีความเหมาะสมสำหรับคุณและการตั้งครรภ์ของคุณ ก่อนดำเนินการตรวจต่อไป โดยการตรวจทางพันธุกรรมมีตัวเลือกในการตรวจที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเลือดเพียงอย่างเดียวหรือการตรวจอัลตราซาวด์ ซึ่งไม่มีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ แต่ถ้าผลการตรวจเบื้องต้นนี้ให้ผลผิดปกติ แพทย์จะแนะนำให้มีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ คุณจะต้องตัดสินใจว่าจะต้องการตรวจต่อไปหรือไม่

หนึ่งในการตรวจทางพันธุกรรมในไตรมาสแรก คือ การตรวจเลือดร่วมกับการตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อคัดกรองโรคดาวน์ซินโดรม (down syndrome) ซึ่งจะตรวจได้ในช่วงอายุครรภ์ 11-14 สัปดาห์ โดยการตรวจเลือดจะวัดระดับฮอร์โมน hCG และ/หรือ ระดับ PAPP-A (pregnancy-associated plasma protein A) ในเลือดของมารดา ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูลักษณะผิวหนังด้านหลังคอของทารกในครรภ์ (เรียกว่า nuchal translucency) ซึ่งการตรวจนี้จะทำให้ทราบว่าทารกในครรภ์มีโอกาสเป็นโรคดาวน์ซินโดรม และโรคความผิดปกติทางพันธุกรรมอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การตรวจนี้เป็นเพียงการตรวจคัดกรอง ดังนั้นจะต้องมีการตรวจวินิจฉัยเชิงลึกเพิ่มเติมหากผลการตรวจคัดกรองให้ผลบวก คือ การตรวจชิ้นเนื้อรก (Chorionic villus sampling (CVS))

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) screening:

การตรวจนี้เป็นการตรวจ free fetal DNA ซึ่งทำได้ทันทีหลังจากตั้งครรภ์ครบ 10 สัปดาห์ โดยจะเจาะเลือดมารดามาตรวจหาปริมาณ free fetal DNA ที่อยู่ในเลือดของมารดา โดยจะสามารถตรวจพบได้แม่นยำถึง 99% ของการตั้งครรภ์ที่เป็นดาวน์ซินโดรมทั้งหมด  และการตรวจนี้ยังใช้ในการหาความผิดปกติของโครโมโซมอื่นๆ ด้วย

การตรวจชิ้นเนื้อรก (Chorionic villus sampling (CVS)):

ถ้าคุณอายุ 35 ปีขึ้นไป, มีประวัติครอบครัวเป็นโรคบางอย่าง, มีผลการตรวจสอบทางพันธุกรรมเบื้องต้นให้ผลบวก คุณจะได้รับคำแนะนำให้ตรวจชิ้นเนื้อรกเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการตรวจที่รุกรานร่างกาย โดยจะทำในช่วงสัปดาห์ที่ 10-12 ของการตั้งครรภ์ การตรวจชิ้นเนื้อรกจะตรวจพบความผิดปกติทางพันธุกรรมได้หลายชนิด เช่น ดาวน์ซินโดรม, โลหิตจางชนิด sickle cell, cystic fibrosis, hemophilia, และ muscular dystrophy การตรวจจะมีอยู่สองวิธีคือ การสอดท่อดูดขนาดเล็กเข้าไปทางปากมดลูก หรือ การเจาะเข็มผ่านหน้าท้อง เพื่อเอาเนื้อเยื่อจากรกไปตรวจ การตรวจนี้จะมีความเสี่ยง 1% ที่จะแท้ง และให้ผลแม่นยำประมาณ 98% ในการวินิจฉัยโรคความผิดปกติของโครโมโซม แต่การตรวจนี้จะแตกต่างจากการเจาะน้ำคร่ำไปตรวจ (amniocentesis) คือ ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติของหลอดประสาทไม่ปิด เช่น spina bifida ได้ 

อย่างไรก็ตามก่อนการตรวจใดๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาและพูดคุยกับแพทย์ก่อน ซึ่งคุณสามารถตัดสินใจได้ว่าการตรวจใดที่เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

 https://www.webmd.com/baby/guide/first-trimester-tests#1


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจนิฟตี้ Nipt กี่สัปดาห์ ตรวจยังไง ตรวจดาวน์ซินโดรมได้ไหม?, (https://hdmall.co.th/c/hdinsight-down-syndrome-screening-test-by-g-nipt-thailand).
Prenatal Tests: First Trimester (for Parents). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/parents/tests-first-trimester.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม