นอนไม่หลับ มีคนจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาเรื่องการนอน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
นอนไม่หลับ มีคนจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาเรื่องการนอน

คนที่กินได้นอนหลังนับว่าโชคดี เมื่อถึงเวลากินก็เจริญอาหาร ครั้งถึงเวลาพักผ่อน ล้มตัวนอนเพียงครู่เดียว ก็หลับสนิท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

a3.gif

 มีคนจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาเรื่องการนอน ถึงจะเหน็ดเหนื่อยเพียงใดก็ตาม กลับนอนไม่หลับ แม้พยายามข่มตาข่มใจ ก็ยังไม่วายกระสับกระส่าย พลิกตัวไปมา กว่าจะหลับได้ก็ค่อนรุ่งในวันรุ่งขึ้นย่อมไม่ผ่องใส หงุดหงิดง่าย ทั้งอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยแรงจะทำงาน บางคนนอนไม่หลับเพราะมีปัญหาให้ขบคิดค้างมาแต่กลางัน บางคนนอนไม่หลับเพราะมัวพะวงถึงสิ่งที่จะต้องทำในวันรุ่งขึ้น หากไม่มีเรื่องให้กังวลก็หลับสนิท

a3.gif

 หลายคนนอนไม่หลับอย่างแท้จริง บางคนรู้ตัวว่าเกิดขึ้นเมื่อใดอาจะเกิดจากปัญหาหรือวิกฤติการณ์ในครอบครัว การเกิดการตายการว่างงาน หรือหนี้สิน เป็นต้น แต่บางคนเป็นมานาน จนกระทั่งลืมไปด้วยซ้ำว่า เริ่มขึ้นเมื่อใด หรือเนื่องจากอะไร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

a3.gif

 ในขั้นต้น นักวิจัยได้พยายามศึกษาว่า การนอนหลับอย่างที่เรียกว่าปกตินั้นเป็นอย่างไร จากการสังเกตการณ์นอนของคนต่างวัยเป็นเรือนพัน สรุปได้ว่า โดยทั่วไปคนปกติจะหลับภายใน 10-15 นาทีหลังจากล้มตัวลงนอน ส่วนใหญ่มักไม่ตื่นขึ้นเลยในตอนดึก นั่นคือหลับรวดเดียวจนถึงรุ่งเช้า แต่ถ้าตื่นขึ้นมาบ้างก็จะหลับต่อได้ในชั่วเวลาเพียงไม่กี่นาที



 

a3.gif

 ตามปกติ ส่วนมากจะหลับอย่างสงบเป็นเวลาประมาณ 7-8 ชั่วโมง เมื่อตื่นขึ้นก็สดชื่น พร้อมที่จะทำงาน และไม่ต้องการนอนพักผ่อนตอนกลางวันอีก อย่างไรก็ตาม บางคนอาจจะต้องการเวลานอนน้อยหรือมากกว่านั้น บางคนนอนเพียงหกชั่วโมงครึ่ง ก็พักผ่อนเพียงพอ แต่บางคนอาจต้องนอนนานกว่าแปดชั่วโมงครึ่ง บางคนอายนอนดึกและตื่นสายเป็นประจำ ในขณะที่บางคนเข้านอนแต่หัวค่ำและตื่นแต่เช้าตรู่ ที่กล่าวมาแล้ว ล้วนเป็นการนอนอย่างปกติ

ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอน

a4.gif

 ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอน คือ ผู้ที่ไม่สามารถพักผ่อนได้เต็มที่หรืออาจเรียกได้ว่านอนไม่เต็มอิ่ม ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อประสิทธิภาพในการทำงาน อาการที่ไม่ปกติคือ เข้านอนเกินครึ่งชั่วโมงแล้วยังไม่หลับ ตื่นขึ้นมากลางดึกแล้วตาสว่าง หลับต่อได้ยาก ตื่นขึ้นมาคืนละหลายครั้ง และบางทีก็นอนต่อไม่ได้เลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

a4.gif

 เมื่อมีอาการนอนไม่หลับ บางคนหันไปพึ่งยานอนหลับและยานอนหลับนี่เองกลับทำให้อาการนอนไม่หลับรุนแรงขึ้น มีผลงานวิจัยยืนยันแล้วว่า ยานอนหลับส่วนใหญ่ได้ผลจริงในช่วงเวลาไม่กี่วัน เพียงน้อยอย่างให้ผลเกินกว่า 2 สัปดาห์ เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานกว่านั้น จึงต้องเพิ่มขนาดหรือกินหลายขนาน นอกจากนั้น ยานอนหลับยังอาจทำให้หลับไม่สนิท เมื่อตื่นขึ้นก็อาจรู้สึกอ่อนระโหย ทั้งยังปรากฏว่า บางคนกลับนอนหลับสบายขึ้นเมื่องดยานอนหลับ

เพื่อช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น

a3.gif

 อาจต้องเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันบางอย่าง ได้แก่ พยายามลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน คือ กาแฟ น้ำชา (มีคาเฟอีนประมาณครึ่งหนึ่งของกาแฟ) และน้ำอัดลมประเภทโคล่า หรือพยายามไม่ดื่มเลยหลังเที่ยง ควรเลิกนอนกลางวันและไม่เข้านอนจนกว่าจะรู้สึกง่วงเต็มที่ ไม่กินอาหารจนอิ่มตื้อเกินไปโดยเฉพาะมื้อเย็น ไม่ออกกำลังกายมากเกินไปจนเมื่อยล้ากว่าปกติ ตลอดจนหลีกเลี่ยงการถกเถียงปัญหาหนักก่อนเข้านอน



 

a3.gif

 นอกจากนี้ บางคนยังพบว่า การนั่งสมาธิ การบังคับจังหวะลมหายใจเข้าออก การสะกดจิตตนเอง การออกกำลังกายแต่พอควร และการดื่มนมอุ่น ๆ ก่อนนอนก็ช่วยให้หลับง่ายขึ้นและหลับสบาย

a3.gif

 บางคนกังวลเรื่องการนอนมากเกินไป คิดไปเองว่ามีปัญหาโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่นอนได้น้อยลง เกรงว่าจำนนชั่วโมงที่นอนหลับจะน้อยเกินไป ขณะที่ทารกแรกเกิดต้องนอนถึงวันละ 20 ชั่วโมง หนุ่มสาวต้องการเพียง 7-8 ชั่วโมง และเมื่อเข้าวัยกลางคนต้องการเวลานอนเพียง 4 ชั่วโมงครึ่งถึง 6 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น ดังนั้นถ้ามีอายุมากขึ้น แต่ยังเข้านอนเวลาเดิมก็ย่อมนอนไม่หลับหรือตื่นเช้ากว่าที่ต้องการ ในกรณีเช่นนี้ควรเปลี่ยนเวลาเข้านอนหรือเมื่อตื่นขึ้นมา ก็ควรลุกขึ้นทำงาน ดีกว่าพยายามนอนต่อ


21 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีรักษาอาการนอนไม่หลับ ด้วยหลักทางการแพทย์
วิธีรักษาอาการนอนไม่หลับ ด้วยหลักทางการแพทย์

นอนไม่หลับ มีทั้งนอนไม่หลับเฉียบพลันและนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง อาการนอนไม่หลับเรื้อรังอาจใช้ยาช่วยได้ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

อ่านเพิ่ม