ฝันกลางวันที่ไม่เหมาะสม

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ฝันกลางวันที่ไม่เหมาะสม

Maladaptive daydreaming คืออะไร?

Maladaptive daydreaming เป็นภาวะทางจิตเวช ที่ทำให้เกิดการฝันกลางวันอย่างรุนแรงและทำให้ผู้ป่วยไม่สนใจชีวิตจริง หลายครั้งที่เหตุการณ์ในชิวิตจริงนั้นกระตุ้นให้เกิดการฝันตอนกลางวัน เช่น

  • หัวข้อที่สนทนา
  • สิ่งเร้าต่างๆ เช่นเสียงหรือกลิ่น
  • ประสบการณ์ที่ได้รับผ่านทางกาย

โรคนี้ยังไม่ได้อยู่รวมใน Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM-V) และยังไม่มีวิธีการรักษาอย่างเป็นทางกาย แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่านี่เป็นความปกติจริงๆ ที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการ

ผู้ที่อาจจะมีภาวะนี้อาจจะมีอาการอย่างน้อย 1 อย่าง อาการที่พบบ่อยประกอบด้วย

  • มีความฝันในตอนกลางวันที่ชัดเจนอย่างมาก ด้วยการสร้างบุคลิกภาพ สถานที่ เนื้อเรื่องและองค์ประกอบอื่นๆ ขึ้นมาเอง
  • ฝันกลางวันที่ถูกกระตุ้นจากเหตุการณ์ในชีวิตจริง
  • ปัญหาในการทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
  • มีปัญหาในการนอนหลับตอนกลางคืน
  • มีความต้องการที่จะฝันกลางวันต่ออย่างรุนแรง
  • มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ในขณะที่กำลังฝัน
  • แสดงสีหน้าเวลาที่ฝันกลางวัน
  • กระซิบและพูดในขณะที่ฝันกลางวัน
  • ฝันกลางวันเป็นเวลานาน (ตั้งแต่หลายนาทีถึงหลายชั่วโมง)

ผู้เชี่ยวชาญยังคงไม่แน่ใจว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้คืออะไร

การวินิจฉัย

ยังไม่มีแนวทางมาตรฐานที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคนี้ ผู้ที่ให้คำนิยามโรคนี้นั้นได้พัฒนาเกณฑ์คะแนนขึ้นมาเพื่อช่วยระบุว่าผู้ป่วยนั้นมีภาวะนี้เกิดขึ้นหรือไม่

โดยเกณฑ์นี้มีทั้งหมด 14 ส่วน และเป็นการประเมินลักษณะของโรคนี้หลักๆ 5 ด้าน

  • เนื้อหาและรายละเอียดของความฝัน
  • ความสามารถของผู้ป่วยในการควบคุมความฝันและความอยากที่จะฝัน
  • ปัญหาที่เกิดจากการฝันกลางวัน
  • ประโยชน์ที่ผู้ป่วยคิดว่าได้รับจากการฝันกลางวัน
  • การฝันกลางวันนั้นส่งผลเสียต่อความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันแค่ไหน
  • นอกจากนั้นยังมีการประเมินความถี่ในการเกิดอาการอีกด้วย

โรคนี้มักจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคจิตเภทนั้นไม่สามารถแยกโลกแห่งความเป็นจริงออกจากโรคสมมุติได้ แต่ผู้ที่เริ่มนิยามโรคนี้ขึ้นมานั้นกล่าวว่าโรคนี้ไม่ใช่โรคจิตเภทเนื่องจากผู้ป่วยนั้นรู้ว่าความฝันของพวกเขานั้นไม่ใช่ความจริง

ภาวะแทรกซ้อน

ผู้ที่มีภาวะนี้อาจจะเป็นโรคดังต่อไปนี้ร่วมด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าโรคเหล่านี้สัมพันธ์กับโรค maladaptive daydreaming อย่างไร

การรักษา

ยังไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้อย่างเป็นทางการ งานวิจัยหนึ่งพบว่าการใช้ยา fluvoxamine นั้นสามารถช่วยควบคุมการฝันกลางวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งยานี้เป็นยาที่มักใช้ในการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ

ผลลัพธ์

โรคนี้สามารถส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้และยังคงมีข้อมูลน้อยทำให้อาจจะรักษาได้ยาก


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Aaron Kandola, maladaptive daydreaming (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319400.php), September 14, 2017
ncbi.nlm.nih.gov, maladaptive daydreaming (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6426361/)
Erica Cirino, maladaptive daydreaming (https://www.healthline.com/health/mental-health/maladaptive-daydreaming), April 26, 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป