กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการปวดหลังส่วนล่างด้านขวา

ปวดหลังข้างขวาเกิดจากอะไรได้บ้าง แล้วจะมีวิธีบรรเทารักษาอย่างไร สามารถอ่านข้อมูลได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการปวดหลังส่วนล่างด้านขวา

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการปวดหลังข้างขวา เป็นอาการปวดจี๊ดๆ ร้าวลงขา สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ
  • สาเหตุที่พบบ่อยโดยเกิดจากพฤติกรรม ได้แก่ การใช้งานที่ไม่ถูกต้อง เช่น นั่งผิดท่าเป็นเวลานาน ทำให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือการได้รับบาดเจ็บ เช่น ถูกกระแทก ทำให้กล้ามเนื้อถูกกระชากกะทันหัน
  • สาเหตุที่พบบ่อยโดยเกิดจากโรคอื่นๆ ได้แก่ โรคไต โรคที่เกี่ยวกับรังไข่และมดลูก โรคมะเร็งที่กระจายไปถึงกระดูกสันหลัง ไส้ติ่ง เป็นต้น
  • สามารถรักษาเบื้องต้นได้โดยการปรับการใช้ชีวิตประจำวัน นั่งหลังตรง กินยาแก้ปวดทั่วไป หรือใช้การประคบร้อนช่วย แต่หากมีอาการปวดร้าวลงขาจนอ่อนแรง หรือปวดเรื้อรังนานกว่า 3 เดือน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
  • หนึ่งในวิธีการรักษาที่นิยมได้แก่การทำกายภาพบำบัดร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (ดูแพ็กเกจคอร์สกายภาพบำบัดได้ ที่นี่)

อาการปวดหลังข้างขวา  ปวดจี๊ดๆ ปวดร้าวลงขา สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยทั่วไปมักมีอาการปวดหลังส่วนล่าง และหายได้เองจากการพักผ่อนหรือการรับประทานยาแก้ปวด บ้างก็ไปนวดนัดษา แล้วอาการปวดหลังข้างขวาเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง อันตรายหรือไม่ มีวิธีการรักษาอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

สาเหตุของอาการปวดหลังข้างขวา

อาการปวดหลังข้างขวา สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การใช้งานที่ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ในอิริยาบถเดิมนานๆ เช่น อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ท่าทางการนั่งที่ไม่ถูกต้อง นั่งหลังงอ ห่อไหล่ คอยื่นไปข้างหน้า บางคนก็นั่งไขว่ห้างเป็นประจำ หรือก้มยกของหนักๆเป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังข้างขวาได้ 

  • การได้รับบาดเจ็บที่หลังส่วนล่าง จากอุบัติเหตุ หรือจากการเล่นกีฬา ที่ทำให้มีการกระแทกอย่างรุนแรง หรือถูกกระแทกต่อเนื่อง ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมได้เร็วขึ้น หรือเกิดจากการเอี้ยวตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้กล้ามเนื้อถูกกระชากกะทันหัน เกิดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหลังได้ 

  • ภาวะของกระดูกและกล้ามเนื้อ
    • หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทที่บริเวณเอว (Lumbar Herniated Disc) เกิดจาก หมอนรองกระดูกระหว่างกระดูกสันหลังสองชิ้นอาจมีการเคลื่อนเกิดขึ้นที่บริเวณด้านขวาของกระดูกสันหลัง ทำให้หมอนรองกระดูกไปกดเบีบดเส้นประสาทบริเวณนั้น 

    • ข้อต่อกระดูกฟาเซ็ตเสื่อม (facet joint pain, osteoarthritis)

    • โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal stenosis) คือ ภาวะที่มีการแคบลงของโพรงกระดูกสันหลัง จากการหนาตัวขึ้นของกระดูกหรือเส้นเอ็น ทำให้เส้นประสาทที่วิ่งอยู่ในโพรงกระดูกถูกบีบรัด ทำให้มีอาการปวดหลังข้างขวาได้

    • โรคของข้อกระดูกเชิงกราน (Sacroiliac Joint Dysfunction) 

    • กระดูกสันหลังเคลื่อน เมื่อกระดูกสันหลังเสื่อม ทำให้กระดูกสันหลังสูญเสียความมั่นคง เกิดการเคลื่อนตัว ซึ่งหากเคลื่อนกดทับเส้นประสาทบริเวณนั้น ก็จะให้เกิดอาการปวดร้าว ชาและอ่อนแรงตามมาด้วยได้
  • ความผิดปกติของกระดูกสันหลังแต่กำเนิด เช่น โพรงกระดูกสันหลังตีบแต่กำเนิด กระดูกสันหลังคด  เป็นต้น

  • โรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดร้าวมาที่หลังได้ เช่น โรคไต โรคเกี่ยวกับรังไข่และมดลูก โรคหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้อง มะเร็งที่มีการกระจายมายังกระดูกสันหลัง ไส้ติ่งอักเสบ หรือการตั้งครรภ์ เป็นต้น ซึ่งอาการปวดหลังอาจเป็นส่วนหนึ่งของโรคเหล่านี้ แต่การวินิจฉัยยังต้องมีการตรวจร่างกายเพิ่มเติมด้วย

นอกจากนั้น ยังมีสาเหตุของอาการปวดหลังข้างขวาที่พบได้น้อย ได้แก่

  • การอักเสบของถุงน้ำดี (gallbladder inflammation) การอักเสบของถุงน้ำดี หรือถุงน้ำดีทำงานผิดปกติ จะมีอาการสำคัญ คือ อาหารไม่ย่อยอย่างรุนแรง โดยจะมีอาการมากหลังรับประทานอาหาร ถุงน้ำดีทำงานผิดปกติมักเป็นสาเหตุของอาการปวดช่องท้องบนด้านขวา และอาการปวดหลังด้านขวา

  • ปัญหาที่ตับ (Liver problems) อาการปวดที่สัมพันธ์กับตับ อาจเกิดขึ้นจากภาวะตับอักเสบ (hepatitis) การเกิดฝีในตับ การเกิดพังผืดที่ตับ (โรคตับแข็ง) หรือตับโต หรือตับล้มเหลว

    อาการของโรคตับนั้น ได้แก่ อาการปวดที่บริเวณช่องท้องบนด้านขวา และ/หรือ ที่บริเวณหลัง, อ่อนเพลีย, คลื่นไส้ หรือเบื่ออาหาร และอาการดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลือง แต่โดยทั่วไปโรคตับมักไม่เกิดในผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง

วิธีการปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการปวดหลังข้างขวา

  • ปวดหลังข้างขวาที่ไม่มีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย

    • พยายามนั่งหลังให้ตรง

    • รับประทานยาแก้ปวด

    • ประคบความร้อน

    • ไม่อยู่ในอิริยาบถเดิมนานๆ

    • ไม่ยกของหนัก

    • ทำท่าบริหาร และออกกำลังกาย

    • พักผ่อนให้เพียงพอ และหยุดการใช้งานชั่วคราว

หากอาการปวดไม่ทุเลาลงภายใน 2 - 3 วัน หรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ เพื่อวางแนวทางในการรักษาต่อไป

  • ปวดหลังข้างขวาที่มีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย

    • พยายามนั่งหลังให้ตรง

    • รับประทานยาแก้ปวด

    • ไม่อยู่ในอิริยาบถเดิมนานๆ

    • ไม่ยกของหนัก

    • ทำท่าบริหารช่วยยืดกล้ามเนื้อ (หากทำท่าใดแล้วมีอาการปวดร้าวลงขามากขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการทำท่านั้น)

    • พักผ่อนให้เพียงพอ 

หากอาการปวดไม่ทุเลาลงภายใน 2 - 3 วัน หรือมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถทนได้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ และวางแนวทางการรักษาต่อไป

อาการปวดหลังที่ควรรีบมาพบแพทย์

  • มีอาการปวดหลังเรื้อรังติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน

  • มีอาการปวดร้าวลงไปบริเวณสะโพก ขา และเท้า

  • มีอาการปวดอย่างรุนแรง และไม่ทุเลาลงหลังการพัก

  • มีอาการปวดหลังการบาดเจ็บหรือการหกล้ม

  • มีอาการปวดร่วมกับอาการต่อไปนี้

    • มีปัญหาในการเดิน เช่น ทรงตัวได้ไม่ดี เดินลำบาก ขาแข็งเกร็ง

    • ขาอ่อนแรง

    • มีอาการชาบริเวณขา เท้า หรือรอบทวารหนัก

    • มีปัญหาในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ

    • คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีไข้

    • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

วิธีการรักษา

การรักษาอาการปวดหลังข้างขวา ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้

  • รักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด
    • การรักษาแบบประคับประคอง เป็นการรักษาเริ่มต้น ได้แก่ การรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด การนวดรักษา การพักผ่อน

    • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง
  • รักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดก็มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้และภาวะร่างกายของผู้ป่วย 

จะเห็นได้ว่าอาการปวดหลังข้างขวาเกิดได้จากหลายสาเหตุ และสาเหตุส่วนใหญ่ก็มาจากการพฤติกรรมของเราเอง ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็เป็นการดูแลตนเองวิธีหนึ่งที่จำช่วยให้ไม่เกิดการเป็นซ้ำของอาการได้ และถ้าหากอาการไม่ดีขึ้นเลย หลังจากพักและปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว แนะนำให้พบแพทย์สาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้รักษาได้ตรงอาการ และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ดูแพ็กเกจฝากครรภ์ และคลอดบุตร เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โรงพยาบาลบำรุงราษฎ์, ปวดหลัง (https://www.bumrungrad.com/th/conditions/back-pain)
ผศ.นพ.ต่อพงษ์ บุญมาประเสริฐ, ปวดหลัง-ปวดคอ (LOW BACK & NECK PAIN) และ โรคข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม (DEGENERATIVE DISEASES OF THE SPINE)(http://www.med.cmu.ac.th/dept/...)
ผศ.ชัยวัฒน์ ไกรวัฒนพงศ์, อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low Back Pain) (https://med.mahidol.ac.th/orth...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)