ริมฝีปากแห้งแตก (Chapped Lips)

ริมฝีปากแห้งแตก เป็นสิ่งที่สามารถพบได้บ่อย ส่วนมากเกิดจากริมฝีปากขาดความชุ่มชื้น แต่ถ้าหากพบรอยแตก หรือมีเนื้อเยื่องอกขึ้นมา อาจเกิดจากโรคริมฝีปากอักเสบ
เผยแพร่ครั้งแรก 26 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ริมฝีปากแห้งแตก (Chapped Lips)

ริมฝีปากแตก ปากแห้ง ปากลอกเป็นขุย เป็นคำที่มักใช้เพื่ออธิบายภาวะริมฝีปากแห้ง ที่อาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น สภาพอากาศ การเลียปากบ่อยเกินไป หรือการใช้ยาบางชนิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ริมฝีปากแห้งแตก สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนเป็นปกติ แต่บางคนอาจมีอาการริมฝีปากแห้งแตกอย่างรุนแรง อาจเกิดจากโรคริมฝีปากอักเสบ (Cheilitis) ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ จึงทำให้เกิดรอยแตกที่มุมปากได้อย่างชัดเจน

อาการของริมฝีปากแห้งแตก

นอกจากริมฝีปากแห้งแตกแล้ว อาจพบอาการอื่นๆ รอบริมฝีปาก เช่น ผิวแห้ง ผิวแตกเป็นขุย ปากบวม มีรอยแผลแตก และเลือดออก

สาเหตุของริมฝีปากแห้งแตก

ริมฝีปาก เป็นส่วนที่ไม่มีต่อมน้ำมันเหมือนส่วนอื่นๆ ของผิวหนัง จึงมีความไวต่อความแห้งและแตกได้ง่ายกว่าปกติอยู่แล้ว เมื่อขาดความชุ่มชื้นในบริเวณดังกล่าวก็ยิ่งทำให้อาการแย่ลง ไม่ว่าจะเกิดจากสภาพอากาศ เช่น สภาพอากาศในฤดูหนาว หรือเกี่ยวข้องกับการละเลยการดูแลตนเอง เช่น ดื่มน้ำน้อย เลียริมฝีปากเป็นประจำ เป็นต้น

บางครั้ง ริมฝีปากแห้งอาจเกิดจากภาวะขาดน้ำหรือขาดสารอาหาร สามารถพบอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ท้องผูก ปัสสาวะน้อย ความดันโลหิตต่ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่วมอยู่ด้วย

การรับประทานยาบางชนิดหรือการทายาบางชนิด สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดริมฝีปากแห้งแตกได้เช่นกัน โดยเฉพาะยาดังต่อไปนี้

  • วิตามินเอ
  • เรตินอยด์ (Retin-A, Differin)
  • ยากลุ่มลิเธียม (ใช้รักษาโรค Bipolar)
  • ยาเคมีบำบัด

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

หากดูแลตัวเองแล้ว แต่อาการริมฝีปากแห้งแตกยังไม่ดีขึ้น หรือมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น อาจเป็นไปได้ว่ามีอาการของโรคริมฝีปากอักเสบ ซึ่งจะพบว่าปากมีสีชมพูเข้มหรือสีแดง มีผิวขรุขระเหมือนมีก้อนเนื้อยื่นขึ้นมา และมีบาดแผลแตกหลายแห่งบนริมฝีปาก หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคริมฝีปากอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อและเกิดจากโรคอักเสบบางชนิด เช่น Crohn’s Disease การบาดเจ็บจากการทำฟัน การใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดี และการผลิตน้ำลายมากเกินไป ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าริมฝีปากแห้งที่เกิดขึ้นนั้นรุนแรงหรือไม่ เพื่อที่จะได้รักษาอย่างถูกต้อง

การรักษาและป้องกันริมฝีปากแห้งแตก

ริมฝีปากแห้งแตกสามารถรักษาและป้องกันด้วยตัวเองที่บ้านได้ ดังนี้

  • ทาลิปบาล์มบ่อยๆ ตลอดทั้งวัน
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่หนาวเย็นหรือคลุมปากด้วยผ้าพันคอขณะออกนอกบ้าน

การสัมผัสกับแสงแดดมากเกินไป ก็สามารถทำให้ริมฝีปากมีรอยแตกได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรทาลิปบาล์มที่มีค่า SPF อย่างน้อย 15 ก่อนออกจากบ้าน เพื่อช่วยให้ริมฝีปากชุ่มชื้นและลดผลกระทบของแสงแดด

ที่มาของข้อมูล

Kristeen Moore, What Causes Chapped Lips and How to Treat Them (https://www.healthline.com/health/chapped-lips), December 11, 2017.


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Prevent a Toddler's Lips From Getting Chapped. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/chapped-lip-tips-290007)
How to Get Rid of Chapped Lips. Healthline. (https://www.healthline.com/health/how-to-get-rid-of-chapped-lips)
Chapped Lips Remedies: Lip Balm Tips for Severely Dry Lips. WebMD. (https://www.webmd.com/beauty/why-your-lips-are-chapped#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)