กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ปวดหัวข้างซ้าย สาเหตุ และวิธีบรรเทาอาการด้วยตนเอง

ปวดหัวข้างซ้ายเกิดจากอะไร? รักษาอย่างไรดี?
เผยแพร่ครั้งแรก 27 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 21 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ปวดหัวข้างซ้าย สาเหตุ และวิธีบรรเทาอาการด้วยตนเอง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ปวดหัวข้างซ้าย เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความเครียด วิตกกังวล ปวดฟัน โรคไซนัสอักเสบ โรคเอดส์ โรคมะเร็ง
  • อาการปวดหัวข้างซ้ายแบบทั่วไป ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวข้างซ้ายด้านเดียว หรือปวดบริเวณเป้าตา ขมับ 2 ข้าง และหูอื้อด้วย ส่วนอาการปวดร่วมกับความเครียด หรืออาการไมเกรน ผู้ป่วยอาจปวดรัดขมับทั้ง 2 ข้าง หรือปวดร้าวลามไปถึงท้ายทอย รู้สึกเจ็บบริเวณหนังศีรษะ อาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย
  • หากมีอาการปวดหัวข้างซ้ายร่วมกับอาการแขนขาอ่อนแรง คลื่นไส้อาเจียน ชักเกร็ง เวียนหัว ตาพร่ามัว มีไข้สูง ให้คุณรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาการเหล่านี้มีความเสี่ยงที่คุณจะเป็นโรคมะเร็งในสมอง หรือมีเลือดออกในสมอง
  • วิธีบรรเทาอาการปวดหัวข้างซ้าย สามารถบรรเทาได้หลายทาง เช่น บรรเทาโดยลดสิ่งกระตุ้น เช่น ไม่รับประทานผงชูรส พักอนให้เพียงพอ ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มบำรุงกำลัง หรือจะเป็นการรับประทานยาแก้ปวด การพักสายตาจากหน้าจอมือถือ และคอมพิวเตอร์ รวมถึงที่ที่มีแสงจ้า
  • หากคุณมีอาการปวดหัวอยู่บ่อยๆ ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อลองตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

อาการปวดหัวเป็นปฏิกิริยาของร่างกายอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ไม่ว่าจะเกิดจากภายนอกหรือภายในร่างกาย โดยอาการปวดหัวข้างซ้ายก็เป็นอีกหนึ่งอาการของสัญญาณบางอย่างที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเรา ซึ่งอาจเป็นสัญญาณที่กำลังจะบอกให้เราทราบว่า การปวดหัวในแต่ละครั้งจำเป็นแล้วหรือไม่ ที่จะต้องไปพบแพทย์ ด้วยรายละเอียดที่ต้องทราบดังต่อไปนี้

สาเหตุของอาการปวดหัวข้างซ้าย

  • เกิดจากการไวต่อสิ่งเร้า หรือโรคบางโรค เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล อาการไมเกรน อาการปวดฟัน โรคไซนัสอักเสบ 
  • เกิดจากมีโรคอันตรายซ่อนอยู่ เช่น โรคเอดส์ โรคมะเร็ง

อาการปวดหัวข้างซ้ายเป็นอย่างไร

อาการปวดหัวข้างซ้ายมักมีอาการเด่นๆ ต่อไปนี้ 

  • อาการปวดหัวข้างซ้ายโดยทั่วไป: มักมีอาการปวดหัวข้างซ้าย หรือข้างเดียวซ้ำๆ ข้างใดข้างหนึ่ง อาจปวดที่บริเวณเบ้าตา และขมับทั้งสองข้าง หรือมีอาการหูอื้อร่วมด้วย
  • อาการปวดร่วมกับการเป็นไมเกรน หรือความเครียด: จะมีอาการปวดหัวข้างซ้ายข้างเดียว หรือปวดรัดขมับทั้งสองด้าน หรือปวดร้าวไปยังบริเวณท้ายทอย จะกดเจ็บบริเวณหนังศีรษะ และอาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย

อาการปวดศีรษะที่ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ ได้แก่

  • อายุน้อยกว่า 30 ปี
  • มีประวัติการปวดศีรษะแบบเดียวกันมาก่อน
  • ตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติทางระบบประสาท
  • ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนการปวดศีรษะหรือตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติใหม่
  • ไม่มีโรคหรือภาวะร่วมที่ถือว่าเป็นความเสี่ยง เช่น การติดเชื้อเอชไอวี (HIV)

อาการปวดศีรษะที่ถือว่ามีความเสี่ยง ได้แก่

  • มีอาการของระบบอื่นร่วม เช่น มีไข้ น้ำหนักลด
  • มีโรคอื่นร่วม เช่น การติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เป็นโรคมะเร็ง
  • มีอาการเฉียบพลัน
  • อาการเกิดขึ้นหลังอายุ 40 ปั
  • มีการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนการปวดศีรษะจากที่เคยเป็น

นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เคยประสบอุบัติเหตุศีรษะถูกกระแทกรุนแรง หรือมีโรคประจำตัวเช่น โรคเอดส์ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างซ้ายได้เช่นกัน โดยจะมีอาการปวดหัวตลอดเวลาโดยไม่มีช่วงที่หายปวดได้เลย ปวดจนตกใจตื่น ชักเกร็ง คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการแขนขาอ่อนแรง คอแข็ง เดินเซ เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว และมีไข้สูงร่วมด้วย 

อาการเหล่านี้อย่านิ่งนอนใจเป็นอันขาด แต่ควรต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วน เพราะอาจต้องพิจารณาหรือวินิจฉัยไปถึงการติดเชื้อในสมอง ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งในสมอง หรือมีอาการเลือดออกในสมอง ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาให้ละเอียดอย่างถูกต้องและทันท่วงที

วิธีบรรเทาอาการปวดหัวข้างซ้ายด้วยตนเอง

ถ้าเป็นการปวดหัวข้างซ้ายเพราะความเครียดหรือเกิดจากโรคไมเกรน เรามีวิธีที่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ด้วยตนเองเบื้องต้น โดยที่ยังไม่จำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่มากระตุ้น จะเป็นการช่วยลดไม่ให้หัวใจเต้นเร็ว หรือทำให้ร่างกายผิดปกติจนเกิดการปวดหัวข้างซ้ายขึ้นได้ เช่น 
    • งดการรับประทานผงชูรส 
    • งดการนอนดึกแล้วพยายามพักผ่อนให้เพียงพอ 
    • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน เครื่องดื่มบำรุงกำลัง
    • งดรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง รวมทั้งช็อกโกแลตหรือกล้วยหอม 
  • รับประทานยาแก้ปวด ได้แก่ พาราเซตามอล หรือรับประทานยาแก้ไมเกรน เพื่อบรรเทาอาการเป็นครั้งคราว
  • พักสายตา หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างจ้า หรือการใช้สมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ หรือการเพ่งสายตาจากงานนานจนเกินไป แต่ให้ใช้วิธีมองไปไกลๆ หรือกลอกตาไปมาก็ได้ เพื่อป้องกันการกระตุ้นให้เกิดการปวด และยังเป็นการช่วยคลายจากอาการลงได้

หากบรรเทาอาการเบื้องต้นด้วยตนเองแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น สิ่งที่ควรทำทันทีคือต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เมื่อทราบสาเหตุของการเกิดโรคแล้วจะได้รักษาด้วยวิธีการที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที 

การซื้อยาสมุนไพรเพื่อรักษาอาการปวดหัวข้างซ้าย

การซื้อยาสมุนไพรมารักษาอาการปวดหัวข้างซ้ายที่เกิดจากโรคร้ายแรงด้วยตัวเองอาจไม่ได้ผล อีกทั้งยังทำให้เสียเวลา และอาจปล่อยให้โรคลุกลามต่อไปได้อีก เช่น การปวดหัวข้างซ้ายที่เกิดจากโรคเอดส์ แล้วเชื้อโรคลุกลามจนยากแก่การรักษา 

หากผู้ป่วยต้องการเลือกใช้สมุนไพรเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา ควรต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จึงจะปลอดภัย และได้ผลของการรักษาแบบเต็มประสิทธิภาพ

โรคปวดศีรษะเป็นโรคที่ค่อนข้างซับซ้อน อาจเป็นเพียงโรคธรรมดาที่รับประทานยาแก้ปวดแล้วหายได้ แต่บางครั้งก็เป็นสัญญาณจากร่างกายที่บ่งบอกว่า ผู้ป่วยอาจมีโรคอื่นที่ร้ายแรงแฝงอยู่ได้เช่นกัน 

ดังนั้นจึงไม่ควรนิ่งนอนใจและไม่ละเลย หากพบว่ามีอาการปวดหัวข้างซ้ายบ่อยๆ และเป็นเวลานาน ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาให้ทันกับโรคที่แฝงอยู่นั่นเอง

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Higuera, V. Cherney, K. Healthline (2018). Tension Headaches. (https://www.healthline.com/health/tension-headache)
Mayo Clinic (2017). Diseases and Conditions. Tension Headache. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tension-headache/symptoms-causes/syc-20353977)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
จัดการกับอาการปวดคอด้วย Cervical Roll
จัดการกับอาการปวดคอด้วย Cervical Roll

จัดให้คอของคุณอยู่ในท่าที่เหมาะสมขณะหลับ

อ่านเพิ่ม
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)

แค่ปรับอาหารและพฤติกรรมการรับประทานให้เหมาัะสม ก็สามารถรักษาอาการกรดไหลย้อนได้

อ่านเพิ่ม