ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

ระบบ (System)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

ระบบ (System) ต่างๆ ในร่างกายที่สามารถเกิดโรคได้ มีดังนี้

ระบบหายใจและระบบไหลเวียนของเลือด

ทำงานประสานกันเพื่อส่งออกซิเจนไปยังทุกเซลล์ทั่วร่างกายตลอดเวลา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ระบบไต 

ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดและขับถ่ายออกทางท่อปัสสาวะ นอกจากนี้ไตยังทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมความดันเลือดและการสร้างเม็ดเลือดแดงด้วย

สมอง ไขสันหลัง และระบบประสาทส่วนปลาย

ทำหน้าที่เป็นเครือข่ายการสื่อสารของร่างกาย คอยควบคุมการทำงานของอวัยวะในระบบอื่นๆ ทั้งหมด เชื่อมโดยตรงกับ ตา หู และอวัยวะรับความรู้สึกทั่วร่างกาย

ระบบต่อมไร้ท่อ

ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ช่วยนำสารเคมี ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานในระบบต่างๆ

ระบบทางเดินอาหาร เริ่มจากปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ตับ ตับอ่อน ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก

ทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารที่รับประทานเข้าไปให้กลายเป็นโมเลกุลเล็กๆ ที่สามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดและน้ำเหลืองได้ ซึ่งช่วยให้ร่างการแข็งแรงและเจริญเติบโต

ระบบกระดูก (ประกอบด้วยกระดูกมากกว่า 200 ชิ้น)

ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย ช่วยให้เคลื่อนไหวได้ เป็นแหล่งเก็บแคลเซียมและเกลือแร่ที่จำเป็น รวมทั้งเป็นส่วนประกอบของร่างกายและเป็นแหล่งผลิตเซลล์เม็ดเลือด

ระบบกล้ามเนื้อมัดที่บังคับได้ (ประมาณ 600 มัด)

ทำงานร่วมกับระบบกระดูกและระบบประสาท ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหว ส่วนกล้ามเนื้อมัดที่บังคับไม่ได้ทำหน้าที่ช่วยให้การทำงานของระบบอื่นๆ ในร่างกายเป็นไปอย่างราบรื่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ระบบผิวหนัง

ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อมภายนอก ช่วยปรับอุณหภูมิของร่างกาย เป็นส่วนที่มีความรู้สึกจากการสัมผัส

ระบบภูมิคุ้มกัน

ทำหน้าที่ตรวจจับเชื้อโรคหรือเนื้อเยื่อแปลกปลอมโดยใช้สารเคมีที่มีความไวสูง เป็นด่านที่แข็งแกร่งด่านแรกในการป้องกันโรคโดยมีเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ มายังบริเวณที่ติดเชื้อเพื่อหยุดยั้งไม่ให้มีการลุกลามไปยังส่วนอื่นของร่างกาย มีเม็ดเลือดขาวกลุ่มหนึ่ง เรียกว่า ฟาโกไซต์ (Phagocyte) จะทำหน้าที่หุ้มและกลืนเชื้อทั้งตัว ส่วนลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดพิเศษจะทำหน้าที่ปล่อยสารเคมีออกมาทำลายเชื้อ นอกจากนี้ยังมีมาสต์เซลล์ (Mast cell) และอีโอซิโนฟีล (Eosinophill) ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ปล่อยสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ และยังมีเม็ดเลือดขาวชนิดพิเศษอีกชนิดหนึ่งจะทำหน้าที่ปล่อยสารอินเทอร์เฟอรอน (Interferon) เพื่อยังยังการแบ่งตัวของไวรัส

ระบบสืบพันธุ์

ทำหน้าที่สืบทอดสายพันธุ์ และผลิตฮอร์โมนที่ทำให้เกิดลักษณะแตกต่างทางเพศในชายและหญิง

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
ระยะเวลาของการเป็นโรค
ระยะเวลาของการเป็นโรค