การเกิดโรค (Pathogenesis) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. แหล่งของโรค (Source)
ได้แก่ เชื้อโรค สิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ และทางสังคม สิ่งเหลานี้สามารถเป็นแหล่งของโรค เช่น ผู้ที่ป่วยด้วยวัณโรคปอด เชื้อโรคมาลาเรีย ยุงก้นปล่อง เห็ดป่าบางชนิด สารตะกั่วไปในอากาศ ยีน เป็นต้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
2. วิธีการแพร่กระจายโรค (Mode of transmission)
เช่น การหายใจเอาอากาศที่มีเชื้อโรคหรือสารเคมี ดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคหรือสารเคมี รับประทานปลาที่มีสารปรอท ถูกสุนัขบ้ากัด ถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัด การใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มร่วมกับผู้ป่วยที่เป็นโรคกลากเกลื้อน การใช้ผ้าเช็ดหน้าของผู้ป่วยที่เป็นโรคตาแดง รับประทานของหวานโดยไม่แปรงฟันอาจะทำให้เป็นโรคฟันผุ เป็นต้น
3. ผู้ป่วยหรือตัวการที่ทำให้เกิดโรค (Patient or pathogens)
ผู้ที่มีสภาพความไวต่อการรับเชื้อโรคหรือตัวการที่ทำให้เกิดโรค บางคนได้รับสารพิษชนิดเดียวกันและปริมารณเท่ากันอาจเกิดอาการของโรคแตกต่างกัน ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่น สุขภาพแข็งแรงหรืออ่อนแอ ชนิดหรือประเภทของเชื้อ การสร้างภูมิคุ้มกันโรคที่ได้จากธรรมชาติหรอจากการให้ภูมิคุ้มกัน การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกหลักโภชนาการ ระยะเวลาในการสัมผัสเชื้อโรค เป็นต้น
นอกจากจะรู้ว่าเป็นโรคอะไรและได้รับการรักษาแล้ว โรคส่วนใหญ่จะพัฒนาตามรูปแบบเฉพาะของอาการต่างๆ บางโรคสามารถหายเองหรือรักษาเพียงเล็กน้อยก็หายได้ แต่บางโรคก็เป็นเรื้อรังหรือรักษาไม่ได้ ผู้ป่วยเหล่านี้อาจต้องเข้ารับการรักษาเป็นระยะๆ หรือเมื่อมีอาการของโรคกำเริบ
โรคจะถูกตรวจพบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในเซลล์ซึ่งทำให้เกิดอาการและอาการแสดงของโรค เช่น เมื่อมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลงจะทำให้เกิดอาการท้องผูก หรือเมื่อเยื่อบุในจมูกทำหน้าที่มากเกินไป จะทำให้มีการหลั่งน้ำมูกมากเกินไป เป็นต้น
ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อโรคอย่างไรนั้น จะขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ และการหายของโรคเป็นปกติได้จะขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ลักษณะของโรค มีโรคอื่นร่วมด้วย เป็นต้น