คุดซู ชะเอมเทศ มะละกอ พาสลีย์และดอกเสาวรส

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คุดซู ชะเอมเทศ มะละกอ พาสลีย์และดอกเสาวรส

คุดซู ชะเอมเทศ มะละกอ พาสลีย์และดอกเสาวรส

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรตำรับพื้นบ้านและยาโฮมีโอพาธี อาทิ คุดซู ชะเอมเทศ มะละกอ พาสลีย์และดอกเสาวรส รู้หรือไม่ว่าสมุนไพรเหล่านี้มีดีกว่าที่คุณคิดเพียงแต่รับประทานอย่างถูกวิธี สามารถอ่านเพิ่มเติมตลอดจนคำแนะนำดีๆอีกมากมายได้ที่นี่

คุดซู (Kudzu)

  • สมุนไพรจีนโบราณ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำไปปลูกอย่างกว้างขวางทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาได้รับการยกย่องว่าเป็นยาต้านอาการเมาค้างจากการดื่มสุรา มีสารพฤกษเคมีคู่สำคัญคือเดดซินและเดดซีน ซึ่งช่วยลดระดับของแอลกอฮอล์ในเลือดได้ หากรับประทานก่อนดื่มสุราทันทีโอจะช่วยกำจัดอาการปวดศีรษะและคลื่นไส้ในเช้าวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นอาการที่นั่งดื่มทุกคนคุ้นเคยกันดี
  • ในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารขณะที่แนะนำคือ 500 mg วันละ 3 เม็ดก่อนหรือหลังดื่มสุรา

ชะเอมเทศ (Licorice)

  • เป็นดั่งช่างผู้เก่งกาจที่ช่วยฟื้นคืนการทำงานของเยื่อหุ้มและเนื้อเยื่อต่างๆให้เป็นปกติอีกทั้งยังเป็นตัวสร้างสมดุลของฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่งของสารในลำไส้ กระตุ้นการหายใจ และยาถ่ายท้อง

ข้อควรระวัง: ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้คือความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะและยังอาจทำให้เกิดอาการบวมน้ำ ซึ่งควรหลีกเลี่ยงในผู้หญิงที่มีอาการก่อนมีประจำเดือน (ชะเอมเทศที่ผู้ประกอบการชาวอเมริกันนำมาใช้ในขนมเป็นรสที่สังเคราะห์ขึ้นจึงไม่มีผลข้างเคียงใดๆและแน่นอนว่าย่อมไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คุดซู ชะเอมเทศ มะละกอ (Papaya)

  • มะละกอเป็นยาลดกรดจากธรรมชาติ น้ำมะละกอหรือมะละกออัดเม็ดนั้นสามารถรับประทานได้ตามใจชอบโดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีอาการกำเริบหลังหยุดรับประทานหรือจะรับประทานเป็นมะละกอชิ้นตากแห้งก็ช่วยให้ได้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในเช่นกัน

พาสลีย์ (Parsley)

  • ช่วยขับปัสสาวะและกระตุ้นกระเพาะอาหาร พาสลีย์มีการนำมาใช้แทนยาในการรักษาอาการไอหอบหืด ประจําเดือนไม่มา ปวดท้องประจำเดือนและเยื่อบุตาขาวอักเสบ หากนำน้ำมันพาสลีย์มาถูที่หนังศีรษะช่วยกระตุ้นให้ผมงอกได้ และประโยชน์ที่เด่นชัดที่สุดคือเป็นยาดับกลิ่นปากจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพมาก ลองรับประทานพาร์สลีย์หลังรับประทานหัวหอมหรือกระเทียมดูแล้วคุณจะประหลาดใจว่าประสิทธิภาพเหนือกว่าลูกอมมินต์เม็ดโตเพียงใด
  • แนะนำให้รับประทานพาสลีย์สด ในการรับประทานเป็นยาบำรุง สับใบและก้านใส่ในน้ำร้อนแล้วดื่มวันละ 1 ถ้วย

ข้อควรระวัง: หญิงมีครรภ์ไม่ควรดื่มน้ำหรือน้ำมันพาสลีย์

ดอกเสาวรส (Passionflower)

  • สารสกัดจากไม้แถวที่พบได้ทั่วไปชนิดนี้ เป็นหนึ่งในยากล่อมประสาทจากธรรมชาติที่ดีที่สุด ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดและหดเกร็งของกล้ามเนื้อ รวมไปถึงอาการอื่นที่เกิดจากความกังวล ทั้งยังใช้กับอาการนอนไม่หลับที่เกิดจากฟุ้งซ่านได้ดีโดยเฉพาะในยามที่คุณตาสว่างอยู่บนเตียงจากการคิดกังวลในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องตลอดทั้งคืน
  • ในการรับประทานอาหารเสริม ผสมแบบสกัด 15-60 หยดในน้ำเปล่าและดื่มในเวลาที่ต้องการสำหรับแบบใช้เพื่อความผ่อนคลายใช้สมุนไพรแห้ง 1 ช้อนชาชงกับน้ำ 1 ถ้วยดื่มวันละ 2 ครั้งหรือดื่มก่อนนอน ขนาดที่แนะนำโดยทั่วไปคือ 100 mg วันละ 2 เวลา

ข้อควรระวัง: ผลภายชนิดนี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้ในบางคนไม่ควรรับประทานก่อนขับรถหรือเมื่อทำงานกับเครื่องจักรทั้งยังอาจเพิ่มฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ยาคลายกังวล บาร์บิทูเรตและยาต้านซึมเศร้าซึ่งจำเป็นต้องปรับขนาดของยาเหล่านี้

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Parsley: Nutrition, Benefits, and Uses. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/parsley)
Licorice: Uses, Side Effects, Interactions, Dosage, and Warning. WebMD. (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-881/licorice)
Benefits of licorice root: Uses, side effects, and more. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323761)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป