ปวดข้อ (Joint Pain)

อาการปวดข้อ สามารถเกิดได้จากสาเหตุหลายประการ หากอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาด้วยตัวเองที่บ้านได้
เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ปวดข้อ (Joint Pain)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อต่อ (Joints) คือบริเวณที่กระดูก 2 ชิ้นเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ข้อต่อมีไว้เพื่อช่วยให้กระดูกแต่ละชิ้นสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว ประกอบด้วย ข้อไหล่ ข้อสะโพก ข้อศอก และข้อเข่า

อาการปวดข้อเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกปวดหรือเจ็บบริเวณข้อต่อที่มีอาการตามปกติแล้วไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เว้นแต่อาการปวดข้อนั้นเป็นผลมาจากโรคหรือการบาดเจ็บ

สาเหตุของอาการปวดข้อ

มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อขึ้น เช่น

  • ข้ออักเสบ (Arthritis) : เป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการปวดข้อที่พบบ่อยที่สุด แบ่งออกเป็น 2 โรคหลัก คือ โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis (OA)) และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis (RA))
  • โรคอื่นๆ  เช่น
    • การอักเสบของถุงข้อต่อ (Bursitis)
    • โรคลูปัส (Lupus)
    • โรคเกาต์ (Gout)
    • การติดเชื้อบางชนิด เช่น คางทูม (Mumps) ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) และไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis)
    • กระดูกอ่อนสะบ้าเสื่อม (Chondromalacia of the patella)
    • การบาดเจ็บที่ข้อ และการใช้งานข้อมากเกินไป
    • เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (Tendinitis)
    • การติดเชื้อที่กระดูก
    • มะเร็ง (Cancer)
    • โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)
    • กระดูกพรุน (Osteoporosis)
    • โรคซาร์คอยด์ (Sarcoidosis)
    • โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickets)

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?

ควรไปพบแพทย์ถ้าบริเวณรอบข้อต่อมีอาการบวม แดง กดเจ็บ หรือร้อนเมื่อสัมผัส รวมถึงอาการปวดข้อนาน 3 วันขึ้นไปแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีไข้ โดยไม่ได้เกิดจากการเป็นไข้หวัดใหญ่ และควรรีบไปพบแพทย์ทันที หากมีอาการดังต่อไปนี้

  • ได้รับบาดเจ็บบริเวณข้ออย่างรุนแรง
  • ข้อมีลักษณะผิดรูป
  • มีการบวมของข้อเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน
  • มีอาการข้อติดไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
  • มีอาการปวดข้ออย่างรุนแรง

การวินิจฉัยอาการปวดข้อ

อาจต้องมีการตรวจเอกซเรย์ (X-ray) บริเวณข้อ เพื่อดูว่าข้อถูกทำลายหรือไม่ หากแพทย์สงสัยว่าเกิดจากสาเหตุอื่น แพทย์อาจขอตรวจเลือดเพื่อดูว่าเป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน (Autoimmune Disorders) หรือไม่ โดยอาจทำการตรวจ Sedimentation Rate เพื่อวัดระดับของการอักเสบในร่างกาย หรือตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count) ร่วมด้วย

การรักษาอาการปวดข้อ

หากมีอาการไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยสามารถรักษาอาการปวดข้อด้วยตัวเองที่บ้านได้ ด้วยวิธีการดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ใช้ยาบรรเทาปวดชนิดทาบนผิวหนัง หรือรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เพื่อบรรเทาอาการปวด บวม และอักเสบ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยมุ่งเน้นการออกกำลังกายความหนักปานกลาง
  • ยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนการออกกำลังกาย เพื่อให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี เพื่อลดแรงกระทำที่ข้อต่อ
  • ถ้าอาการปวดที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากข้ออักเสบ อาจหาซื้อยาแก้ปวดทั่วไปรับประทานเองเป็นครั้งคราวได้

แต่หากมีอาการรุนแรง หรือรักษาด้วยตัวเองแล้วยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจรักษาด้วยการเจาะดูดของเหลวที่สะสมบริเวณข้อออกมา หรืออาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม

ที่มาของข้อมูล

Krista O'Connell, What Causes Joint Pain? (https://www.healthline.com/symptom/joint-pain), March 8, 2016.


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Why Do My Joints Hurt? Causes of Joint Pain & Pain Relief Options. WebMD. (https://www.webmd.com/pain-management/guide/joint-pain)
Joint Pain: Causes, Home Remedies, and Complications. Healthline. (https://www.healthline.com/health/joint-pain)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)