โรคแอสเบสโตลิส (Asbestosis) เป็นภาวะปอดเรื้อรังที่เกิดจากการที่ปอดสะสมแร่ใยหินเป็นเวลานาน
แร่ใยหิน (asbestos) เป็นชื่อเรียกแร่ที่ก่อตัวจากใยจุลภาคขนาดจิ๋ว เป็นแร่ที่ในอดีตเคยใช้ในการก่อสร้างกันอย่างแพร่หลาย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แร่ใยหินเป็นแร่ที่อันตรายมาก แม้ว่าหากไม่ได้ไปกระทำอะไรกับแร่ชนิดนี้ก็ไม่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่หากแร่นี้ถูกกะเทาะ ถูกเจาะ หรือถูกย่อยสลาย เศษของแร่นี้จะกระจายเป็นเศษผงที่มีขนาดเล็กมาก ๆ
เมื่อสูดนำผงแร่ใยหินเข้าไป กากแร่จะเข้าไปในปอดและเข้าทำลายปอดอย่างช้า ๆ สำหรับการเกิดโรคแอสเบสโตลิสนั้นเกิดจากการที่คนสูดนำผงกากแร่เข้าไปเป็นเวลานาน ๆ กระนั้นนี่ก็ไม่ใช่ปัจจัยของการเกิดโรคนี้เพียงอย่างเดียว เพราะก็มีข้อมูลที่พบว่ามีผู้คนกลุ่มเสี่ยงหลายคนที่ต้องสูดเศษผงแร่ใยหินเข้าไปแต่ไม่เป็นโรคแอสเบสโตลิสแต่อย่างใด
อาการของแอสเบสโตลิส
ผู้ป่วยโรคแอสเบสโตลิสบางรายเกิดจากการสูดดมเศษผงของแร่ใยหินเข้าไปจนไปทำร้ายปอด ซึ่งจะทำให้มีอาการดังต่อไปนี้: หายใจไม่อิ่ม: อาจจะเกิดขึ้นหลังการทำกิจกรรมทางร่างกายในช่วงแรก แต่ก็อาจจะกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อเนื่องได้ในภายหลัง ไอเรื้อรัง หายใจติดขัด เหนื่อยล้ารุนแรง เจ็บหน้าอก สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้เป็นเวลานานอาจมีอาการปลายนิ้วบวมร่วมด้วย
ให้ไปพบแพทย์หากว่าคุณประสบกับอาการเหล่านี้ และคุณคาดว่าคุณเคยสัมผัสกับแร่ใยหินในอดีตมาก่อน
ความคาดหวังที่มีต่อโรคแอสเบสโตลิส
ความคาดหวังที่มีต่อโรคแอสเบสโตลิสนั้นแตกต่างกันตามกรณีบุคคล ขึ้นอยู่กับความลุกลามของความเสียหายที่ปอด และเงื่อนไขที่ว่ามีภาวะอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่
แอสเบสโตลิสจะทรุดลงตามกาลเวลา และในกรณีที่ป่วยรุนแรงอาจทำให้อายุขัยของผู้ป่วยและสุขภาพถดถอยอย่างมาก กระนั้นก็มีหลาย ๆ กรณีที่ภาวะนี้ทรุดลงอย่างช้ามากหรือแทบไม่แย่ลงเลย
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ผู้ป่วยแอสเบสโตลิสจะมีความเสี่ยงต่อภาวะอื่น ๆ ที่อันตรายถึงชีวิตสูงขึ้น อย่างเช่น:
โรคเยื่อหุ้มปอด (pleural disease): ที่ซึ่งชั้นเยื่อบุของปอดเกิดหนาตัวขึ้นจนทำให้เกิดอาการหายใจลำบากและแน่นหน้าอก
โรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด (mesothelioma): มะเร็งประเภทหนึ่งที่ส่งผลต่อชั้นเยื่อบุที่ห่อหุ้มปอด หัวใจ และกระเพาะ
โดยรวมแล้ว ผู้ป่วยโรคแอสเบสโตลิสที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเพราะมะเร็งข้างต้น หรือสาเหตุตามธรรมชาติอื่น ๆ
การป้องกันโรคแอสเบสโตลิส
แร่ใยหินที่ใช้กันในการก่อสร้างมีอยู่สามประเภทหลัก ๆ โดยตัวอย่างแร่สองประเภทมีชื่อว่า crocidolite กับ amosite ซึ่งถูกแบนในปี 1985 และประเภทที่สามชื่อว่า chrysotile ซึ่งถูกแบนในปี 1999
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการห้ามการใช้แร่เหล่านี้ไปนานแล้ว แต่ตามสิ่งก่อสร้างเก่า ๆ ก็ยังมีแร่ใยหินแฝงตัวอยู่ ดังนั้นจึงควรต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการป้องกันการสูดดมผงแร่ใยหินเข้าไปเมื่อคุณต้องเข้าไปในอาคารที่สร้างจากแร่ใยหิน
หากอาชีพของคุณทำให้ร่างกายของคุณเสี่ยงต่อการสัมผัสกับกากแร่ใยหิน พยายามป้องกันตนเองให้มากที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ ห้ามกำจัดแร่ใยหินที่พบเห็นด้วยตนเองเว้นแต่คุณถูกฝึกมาให้กระทำการเช่นนั้นด้วยความปลอดภัย
ใครมีความเสี่ยงต่อโรคแอสเบสโตลิสบ้าง?
โรคแอสเบสโตลิสเป็นโรคที่ค่อนข้างหายาก เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดมาจากการต้องกับแร่ใยหินเป็นเวลาค่อนข้างนาน และ ณ ปัจจุบันก็มีข้อบังคับมากมายที่จำกัดการใช้แร่หินแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในปี 2011 ก็พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคแอสเบสโตลิส 178 คน และอีก 429 คนที่คาดว่าโรคนี้มีส่วนในการเสียชีวิต
สาเหตุของโรคแอสเบสโตลิส
โรคแอสเบสโตลิสเกิดมาจากการสูดเอาผงกากใยแร่หินเข้าไป ในอดีตผู้คนที่ทำอาชีพบางอย่างจะมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับแร่ใยหินมากกว่าอาชีพอื่น ๆ
อะไรคือแร่ใยหิน?
แร่ใยหินเป็นคำเรียกกลุ่มของแร่ที่ก่อตัวขึ้นจากกากแร่ขนาดจิ๋วมากมายเข้าด้วยกัน วัสดุก่อสร้างที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบเคยเป็นที่นิยมอย่างมากเนื่องจากความแข็งแรงกับความทนไฟ
แร่ใยหินที่ใช้กันในอุตสาหกรรมมีอยู่สามประเภทหลัก: crocidolite ("blue asbestos" หรือแร่ใยหินสีน้ำเงิน) amosite ("brown asbestos" หรือแร่ใยหินสีตาล) chrysotile ("white asbestos" หรือแร่ใยหินสีขาว)
แร่ใยหินทั้งสามประเภทจะเป็นอันตรายหากว่าวัสดุที่มีแร่ใยหินเสียหายจนทำให้เศษของแร่กระจายไปในอากาศ
หลาย ๆ ประเทศได้มีการยกเลิกการนำเข้าแร่ทั้งสามประเภทแล้ว ซึ่งหมายความว่าแร่ใยหินไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป กระนั้นแร่ใยหินก็ยังคงแฝงอยู่ในอาคารสมัยเก่า ๆ หลายแห่งอยู่ดี
แร่ใยหินส่งผลต่อปอดอย่างไร?
เมื่อคุณสูดนำสิ่งแปลกปลอมเข้าร่างกาย อย่างเช่นละอองฝุ่น เซลล์ภายในปอดที่เรียกว่าแมกโครเฟจ (macrophages) จะเข้าไปทำลายละอองเหล่านั้นลงก่อนที่จะเข้าสู่กระแสเลือดและเนื้อเยื่อปอด
อย่างไรก็ตามเซลล์แมกโครเฟจไม่สามารถทำลายละอองของแร่ใยหินได้ และเมื่อเซลล์พยายามทำลายเศษผงเหล่านั้น แมกโครเฟจจะปล่อยสารเข้าไปทำลายสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นแทน ซึ่งสารนี้เองที่ทำให้เกิดถุงลม (alveoli)) ขนาดเล็กขึ้นภายในปอดของคุณ เมื่อถุงลมนั้นเสียหายจะทำให้ปอดเป็นแผลถาวรขึ้น ซึ่งแผลเป็นนี่เองที่เรียกว่าโรคแอสเบสโตลิส
ถุงลมเป็นสิ่งรบกวนการส่งถ่ายออกซิเจนจากอากาศเข้าไปในกระแสเลือดและการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์อย่างมาก หากปอดเกิดเสียหายและเป็นแผล กระบวนการนี้จะได้รับผลกระทบไปด้วยจนทำให้เกิดอาการหายใจลำบากขึ้นมา
เมื่อโรคแอสเบสโตลิสเริ่มลามมากขึ้นด้วยการสัมผัสกับกากใยแร่เป็นเวลานานหลายปี จะทำให้เกิดถุงลมที่เกิดขึ้นมีมากขึ้นตาม
อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสกับแร่ใยหิน
แร่ใยหินมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยสูงที่สุดระหว่างปี 1970 และเริ่มลดลงระหว่างปี 1980 กับ 1990 คุณสามารถสัมผัสถูกแร่ใยหินได้หากคุณทำงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างเช่นการก่อสร้างอาคารที่เริ่มขึ้นในช่วงปีดังกล่าว
อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสกับแร่ใยหินในช่วงเวลาเสี่ยงมีดังนี้: ช่างทำฉนวนกันความร้อน ช่างทำหม้อน้ำและถังน้ำ ช่างประปา ช่างติดตั้งท่อ และช่างท่อน้ำ คนงานอู่ต่อเรือ คนงานผลิตแผ่นโลหะ ช่างผลิตพลาสติก ช่างเคมี ช่างเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความร้อน และตู้ทำความเย็น
ณ ปัจจุบัน แร่ใยหินไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป ทำให้ผู้ที่ยังคงมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโดนแร่ใยหินก็คือผู้ที่ทำงานในอาคารทรุดโทรมที่สร้างจากวัสดุที่มีแร่ใยหินแฝงอยู่ อย่างเช่นคนงานทำนุบำรุง และคนงานทำลายตึก เป็นต้น
การวินิจฉัยโรคแอสเบสโตลิส
แพทย์จะสอบถามอาการของคุณก่อน และฟังเสียงของปอดของคุณด้วยหูฟังสำหรับแพทย์ (stethoscope) (เครื่องมือที่ใช้ฟังเสียงหัวใจกับปอด)
หากปอดของคุณได้รับผลกระทบจากแร่ใยหิน เสียงจากปอดจะมีเสียงกุกกักระหว่างที่คุณหายใจเข้า
แพทย์จะสอบถามประวัติการทำงานของคุณ โดยเฉพาะเกี่ยวกับช่วงเวลาที่คุณอาจได้รับแร่ใยหิน ระยะเวลาที่คุณสัมผัสกับแร่ และคุณได้ใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยหรือไม่ อย่างเช่นหน้ากาก เป็นต้น
การส่งตัวไปพบผู้เชี่ยวชาญ
หากแพทย์คาดการณ์ว่าคุณเป็นโรคแอสเบสโตลิส แพทย์จะส่งคุณไปพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอดเพื่อทำการทดสอบและมองหาแผลเป็นภายในปอดต่อไป โดยอาจมีการทดสอบดังนี้:
การเอกซเรย์หน้าอก: เพื่อมองหาความผิดปกติของโครงสร้างปอดของคุณที่อาจเกิดมาจากโรคแอสเบสโตลิส
การสแกนคอมพิวเตอร์ปอด (CT): กระบวนการร่างภาพของปอดและเยื่อบุที่หุ้มปอดไว้เพื่อมองหาความผิดปรกติที่ชัดเจนภายใน
การทดสอบการทำงานของปอด: เพื่อประเมินผลกระทบจากความเสียหายของปอด เพื่อชี้ชัดว่ามีอากาศปริมาณเท่าไรที่ปอดคุณสามารถรับได้ และเพื่อประเมินว่าออกซิเจนไหลข้ามชั้นเยื่อบุของปอดไปยังกระแสเลือดดีขนาดไหน
ก่อนจะยืนยันว่าคุณเป็นโรคแอสเบสโตลิส คุณอาจต้องเข้าพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหน้าอกเพื่อกำจัดความเป็นไปได้ที่ทำให้เกิดการอักเสบและแผลในปอดต่าง ๆ เช่นโรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
การรักษาโรคแอสเบสโตลิส
ยังไม่มีวิธีรักษาโรคแอสเบสโตลิสเพราะว่าไม่มีวิธีเยียวยาความเสียหายของปอดได้
สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรดูแลผู้ป่วยคือการให้พวกเขาเลิกสูบบุหรี่เสีย เนื่องจากอาการของโรคมักจะทรุดลงเมื่อสูบบุหรี่ และผู้ป่วยโรคแอสเบสโตลิสที่สูบยังมีความเสี่ยงต่อมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นอย่างมาก
หากจำเป็นอาจต้องใช้การรักษาที่เรียกว่าการบำบัดออกซิเจนที่สามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแอสเบสโตลิสได้
เลิกสูบบุหรี่
หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคแอสเบสโตลิสจริงและคุณสูบบุหรี่ สิ่งที่ควรทำคือการเลิกบุหรี่ในทันที
การสูบบุหรี่จะทำให้อาการหายติดขัดทรุดลงได้ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งปอดสูงขึ้นอย่างมากหากโรคแอสเบสโตลิสอยู่ในระยะหลัง ๆ แล้ว
หากต้องการคุณก็สามารถปรึกษากับแพทย์เพื่อการเลิกบุหรี่ได้ พวกเขาจะแนะนำการบำบัดทดแทนพิษนิโคตินและจ่ายยาที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการเลิกบุหรี่ให้ง่ายขึ้น แพทย์อาจใช้วิธีจัดคุณไปติดต่อกับกลุ่มช่วยเหลือตามท้องถิ่นได้ด้วย
การฉีดวัคซีน
หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคแอสเบสโตลิส ปอดของคุณจะอ่อนไหวต่อภาวะติดเชื้อสูงขึ้น
แพทย์จะแนะนำให้คุณฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่กับโรคปอดบวม โดยแพทย์จะทำการนัดหมายคุณมารับวัคซีนเหล่านี้อีกที
คุณจำต้องได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปีเพื่อให้ร่างกายของคุณมีภูมิต้านทานโรคไว้ ผู้ป่วยส่วนมากจะได้รับวัคซีนโรคปอดอักเสบหนึ่งโดส แต่ก็อาจจะมีการฉีดกระตุ้นอีกครั้งหากสุขภาพโดยรวมของคุณไม่สู้ดี
การบำบัดออกซิเจนระยะยาว
หากคุณเป็นโรคแอสเบสโตลิสรุนแรง ร่างกายของคุณอาจจะไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอต่อการทำงานของร่างกาย แพทย์อาจแนะนำให้คุณเข้าบำบัดออกซิเจนหากว่าเลือดของคุณมีระดับออกซิเจนต่ำ
การบำบัดออกซิเจนจะดำเนินการด้วยเครื่องจักรที่เรียกว่าเครื่องกำเนิดออกซิเจนที่สามารถกรองออกซิเจนในอากาศให้ได้ออกซิเจนบริสุทธิ์ออกมา
อากาศที่อุดมไปด้วยออกซิเจนจากเครื่องจักรจะถูกถ่ายให้กับผู้ป่วยผ่านหน้ากากหรือท่อพลาสติกอ่อนขนาดเล็กที่สอดผ่านรูจมูก
คุณอาจได้รับหน้ากากและถังออกซิเจนขนาดพกพาสำหรับช่วงที่คุณต้องออกนอกบ้านด้วย
สิ่งที่พึงกระทำคือการไม่สูบบุหรี่ขณะที่ต้องใช้เครื่องกำเนิดออกซิเจน เพราะว่าออกซิเจนความเข้มข้นสูงนั้นติดไฟได้ การจุดไฟแช็กหรือไม้ขีดเพียงเล็กน้อยอาจทำให้เกิดประกายไฟและระเบิดได้
การใช้ยา
ผู้ป่วยแอสเบสโตลิสส่วนมากจะได้รับประโยชน์จากการรักษาด้วยยา นอกจากว่าจะประสบกับภาวะที่เกิดขึ้นกับปอดอย่างโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease - COPD)
สำหรับกรณีที่เป็นรุนแรงอาจได้รับประโยชน์จากยา เช่นการใช้มอร์ฟีนขนาดต่ำเพื่อลดอาการหายใจติดขัดกับไอ เป็นต้น
ผลข้างเคียงจากยามอร์ฟีนนั้นหายากเนื่องจากปริมาณยาที่ใช้มีขนาดน้อยมาก โดยปัญหาที่พบได้มากที่สุดคือท้องผูกที่สามารถแก้ได้ด้วยการใช้ยาระบายพร้อมกับมอร์ฟีนเพื่อทำให้ถ่ายคล่องขึ้น
แร่ใยหินที่บ้านของคุณ
หากคุณกังวลว่าบ้านเรือนของคุณจะมีแร่ใยหินเป็นวัสดุก่อสร้าง คุณสามารถขอคำแนะนำจากหน่วยงานอนามัยสิ่งแวดล้อมได้
ในกรณีเช่นนี้คุณไม่ควรไปยุ่งกับวัสดุที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะหากยังมีสภาพดีอยู่และยังไม่มีโอกาสที่จะเสียหายในเวลาอันใกล้นี้ คุณควรตรวจสอบสภาพของวัสดุเหล่านี้เป็นครั้งคราวเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีความเสียหายหรือร่องรอยของการเสื่อมสภาพให้เห็น
ความเสียหายของวัสดุที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบเพียงเล็กน้อยอาจต้องรีบทำการซ่อมแซมหรือปกปิดทันที แต่การทำเช่นนี้ควรต้องดำเนินการโดยผู้ที่ผ่านการฝึกฝนมาแล้วเท่านั้น ส่วนวัสดุที่เสียหายรุนแรงจนมิอาจป้องกันได้อีก ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญที่กล่าวไว้เป็นผู้กำจัดออก
หากคุณวางแผนต่อเติม ซ่อมแซม หรือบำรุงบ้านเรือนคุณควรแจ้งคนงานหรือผู้รับเหมาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัสดุที่มีแร่ใยหินกับพวกเขาก่อนเริ่มทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงที่คนงานเข้าไปรบกวนวัสดุอันตรายเหล่านั้น
แร่ใยหินที่ ณ ที่ทำงานของคุณ
หากงานของคุณไม่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสกับแร่ใยหิน แต่คุณยังคงมีความกังวลอยู่ ควรพูดคุยกับผู้ดูแลอาคารที่ทำงานเกี่ยวกับการสอดส่องดูแลและจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คุณอยากทราบ
หากมีวัสดุที่มีแร่ใยหินในสถานที่ทำงานของคุณ วัสดุเหล่านั้นควรถูกตรวจสอบตลอดเวลาและหากยังไม่มีความเสียหายใด ๆ ก็ควรถูกปล่อยทิ้งไว้เช่นนั้น
อย่างไรก็ตามหากเป็นวัสดุที่มีสภาพย่ำแย่แล้ว หรือมีโอกาสที่จะเสียหายจากการใช้งานอาคารตามปกติ วัสดุเหล่านั้นควรถูกปกปิด ป้องกัน หรือกำจัดออกตามความเหมาะสม
การทำงานกับแร่ใยหิน
หากงานของคุณเกี่ยวข้องกับการสัมผัสละอองหรือผงแร่ใยหิน พยายามปฏิบัติตามข้อมูลระมัดระวังระหว่างทำงานอย่างเคร่งครัด
ทางหน่วยงาน Health and Safety Executive (HSE) ได้มีรายการตรวจสอบพนักงาน ผู้จัดการ และผู้จัดซื้อก่อนเริ่มทำงานในอาคารที่อาจมีส่วนประกอบเป็นแร่ใยหินดังนี้:
ระบุหาการมีอยู่ของแร่ใยหินและชี้ชัดประเภทกับสภาพของวัสดุนั้น ๆ : อาจหมายถึงการตรวจสอบการจัดการอาคารหรือการตรวจสอบสถานที่
ดำเนินการประเมินความเสี่ยงเพื่อหาว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำงานโดยเลี่ยงความเสี่ยงที่จะสัมผัสกับแร่ใยหินโดยสมบูรณ์
ตัดสินใจว่าการจัดการทั้งหมดต้องดำเนินการหลังได้รับการอนุมัติจากผู้รับเหมาหรือไม่: การกำจัดวัสดุที่มีแร่ใยหินบางประเภทจำต้องดำเนินการโดยผู้รับเหมาที่ได้รับใบประกาศจาก HSE แล้วเท่านั้น
หากการจัดการไม่สามารถอนุมัติได้ การตัดสินใจนั้นต้องถูกชี้แจง: งานบางอย่างต้องได้รับคำอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการ
ดำเนินการด้วยคนงานที่ผ่านการฝึกฝนอย่างเหมาะสมเท่านั้น
ขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับแร่ใยหินระหว่างการทำงานลงได้ รวมไปถึงการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอย่างหน้ากาก การทำความสะอาดหลังดำเนินการ (การดูดฝุ่น หรือเช็ดน้ำทำความสะอาดแทนการปัดกวาด) และไม่ใช้เครื่องมือไฟฟ้าเท่าที่จะทำได้
ผู้หญิงสูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคอะไรได้มากที่สุด