เมื่อกล่าวถึงนมแม่ เราทราบกันดีว่าการดูดโดยตรงจากเต้านมแม่ดีที่สุด จะได้คุณภาพของน้ำนมครบถ้วน
แต่กรณีความจำเป็นในปัจจุบัน คุณแม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน หรือทารกมีปัญหาในการดูดนมจากเต้า เช่น ทารกคลอดก่อนกำหนดหรือมีปัญหาสุขภาพ การปั๊มเก็บนมสต็อกไว้ในตู้เย็นจึงเป็นทางเลือก
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
แม้คุณภาพจะลดลงกว่าเดิมบ้าง แต่ภูมิคุ้มกัน สารอาหารดีๆ จำนวนมากที่มีนั้น ก็ยังคงคุณค่ามากกว่านมผงมากมายนัก
คุณแม่ที่ออกไปทำงานต้องมีการวางแผนการให้นม โดยอาจต้องเตรียมตัวตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ เพราะแม้จะแยกจากกันชั่วคราว แต่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็จะช่วยให้แม่ลูกยังใกล้ชิดกัน และลูกมีสุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการที่ดีได้
ประโยชน์ของนมแม่
นมแม่มีประโยชน์มากมาย สรุปได้ดังต่อไปนี้
- มีสารอาหารครบถ้วน ทั้งโปรตีนในอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อไตของทารก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนิดเวย์ (Whey) ในเวย์โปรตีนนี้จะประกอบด้วยโปรตีนที่สำคัญเช่น อัลฟาแลกตาบูมิน นิวคลีโอไทด์โปรตีนที่มีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน ทอรีนที่สำคัญต่อการทำงานของระบบประสาท จอตา นอกจากนี้นมแม่ยังมีเคซีน (Casein) ชนิดเบต้า ซึ่งย่อยง่ายกว่าเคซีนชนิดอัลฟาซึ่งพบในนมวัว
- น้ำนมแม่มีฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก
- นมแม่ย่อยและดูดซึมง่ายกว่านมผง ช่วยระบบขับถ่าย ลดอาการท้องอืด โคลิกและช่วยให้ทารกอุจจาระง่าย
- นมแม่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรค โดยเฉพาะน้ำนมช่วงแรกหลังคลอด (Colostr um) มีวิจัยพบว่า กินนมแม่อย่างน้อย 3 เดือนช่วยลดอัตราความเสี่ยงและความรุนแรงของการติดเชื้อ เช่น ท้องเสีย หูชั้นกลางอักเสบ ติดเชื้อทางเดินหายใจ และหากให้นมแม่ครบ 4 เดือนก็จะลดการเกิดโรคเกี่ยวกับภูมิแพ้ เช่น อาการผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้และโรคหืดหอบ ในช่วง 2-3 ขวบปีแรก ในเด็กกลุ่มเสี่ยง (เด็กที่มีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นภูมิแพ้)
- นมแม่มีกรดไขมันจำเป็นที่สำคัญคือ DHA ช่วยให้สมองและระบบประสาทของทารกเจริญเติบโต พัฒนาการดีและเฉลียวฉลาด มีระดับไอคิวหรือเชาว์ปัญญาสูงกว่าทารกที่กินนมผสม และมีการศึกษาว่า สมองของทารกที่ได้นมผงจะมีปริมาณ DHA ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของสมองทารกที่กินนมแม่
- คาร์โบไฮเดรตหลักในนมแม่คือ แลคโตส ซึ่งย่อยง่าย และมีมากกว่าเมื่อเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป นอกจากนี้ยังมี HMO (Human Milk Oligosaccharide) ซึ่งจะคงในทางเดินอาหาร มีบทบาทสำคัญป้องกันการติดเชื้อในลำไส้และทางเดินหายใจ
- การกินนมแม่ช่วยลดอัตราการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่อีกด้วย
- นมแม่มีปริมาณแร่ธาตุครบถ้วนและเพียงพอ เช่น แคลเซียม ส่วนธาตุเหล็กในนมแม่จะมีปริมาณเพียงพอสำหรับทารกในช่วง 4-6 เดือนแรก แต่หลัง 6 เดือน แร่ธาตุตัวนี้อาจลดลงไป ดังนั้นจึงอาจพิจารณาให้อาหารเสริมต่างหากแก่ทารก
คำแนะนำเกี่ยวกับการให้นมและปั๊มนม
ควรให้แม่เริ่มให้นมให้เร็วที่สุดหลังคลอด โดยใน 1-2 วันแรก ถ้าลูกดูดได้ให้ลูกดูดกระตุ้นบ่อยๆ หากทารกดูดนมไม่ได้ ให้บีบกระตุ้นทุก 2-3 ชั่วโมง เฉลี่ยครั้งละอย่างน้อย 30 นาที
การให้ลูกดูดนมแม่อย่างเดียว สม่ำเสมอ จะกระตุ้นให้แม่มีน้ำนมเพียงพอในช่วงหลังคลอด 1-2 เดือน และจะมีมากพอให้แม่เก็บไว้ให้ลูก และควรให้คนเลี้ยงฝึกป้อนนมด้วยถ้วย (Cup feeding) เพื่อจะให้ลูกกินในมื้อที่แม่ให้ไม่ได้ หรือต้องไปทำงาน
ก่อนให้นม ให้ล้างมือให้สะอาด ทำการประคบและนวดเต้านมด้วยน้ำอุ่นทั้งสองข้าง ข้างละ 3-5 นาที นวดเป็นวงกลมรอบๆ จากขอบนอกมาถึงหัวนม นาน 3-5 นาที ต่อมาบีบเต้านมสลับ ซ้าย-ขวา ข้างละ 15 นาที แล้วกลับมาประคบอีกข้าง ข้างละ 3-5 นาที ทำสลับไปมา 3-4 รอบ รวมเวลาทั้งหมดประมาณครึ่งชั่วโมง
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การนวดเต้านมด้วยมือเป็นการเลียนแบบการหลั่งและการสร้างน้ำนมที่ใกล้เคียงธรรมชาติ แต่หากน้ำนมยังมาน้อย อาจพิจารณาใช้เครื่องปั๊มน้ำนมเสริมได้
เพื่อรักษาคุณภาพนมแม่ เมื่อบีบน้ำนมเสร็จให้แบ่งบรรจุในภาชนะที่กินพอดีสำหรับ 1 มื้อ โดยใช้ขวดนมที่สะอาดหรือถุงเก็บน้ำนมแม่ และปิดภาชนะทันที ถ้าเป็นขวดให้เหลือที่ว่างในขวดประมาณ ¼- ½ นิ้ว ปิดฝาขวดให้สนิท แต่ไม่ต้องแน่นมากเกินไป ถ้าเป็นถุงเก็บน้ำนม ให้รูดซิปปิดให้สนิท โดยเหลือที่เล็กน้อยเผื่ออากาศในถุง เพราะน้ำนมที่แช่แข็งจะเกิดการขยายตัว อย่าลืมเขียนวันเวลาที่เก็บไว้ให้ชัดเจน
ถ้ามีน้ำนมมากพอให้เก็บสำรองไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
ปั๊มนมไว้ เมื่อไรจะหมดอายุ?
- ตู้แช่แข็ง (อุณหภูมิต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 6 เดือนดีที่สุด แต่ยอมรับได้ถึง 1 ปี
- ช่องแช่แข็งของตู้เย็น 2 ประตู (-18 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 3-6 เดือน ขึ้นกับการเปิด-ปิดบ่อยหรือไม่ และมีการเก็บร่วมกับอาหารอื่นหรือไม่ ยิ่งมีการเปิด-ปิดตู้เย็นบ่อย ระยะเวลาการเก็บจะยิ่งน้อยลง
- ที่ช่องแช่แข็งของตู้เย็นประตูเดียว (-15 องศาเซลเซียส ) เก็บได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ ขึ้นกับการเปิด-ปิดบ่อยหรือไม่ และมีการเก็บร่วมกับอาหารอื่นหรือไม่
- ที่ตู้เย็นทั่วไป (4 องศาเซลเซียส) เก็บใกล้ช่องแช่แข็ง ไม่ใช่ที่ฝาประตู (เนื่องจากจะสูญเสียความเย็นได้ง่าย) เก็บได้นาน 3-5 วัน
- อุณหภูมิห้อง (ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส) เก็บได้ 4 ชั่วโมง
- กระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งหล่อตลอดเวลา เก็บได้ประมาณ 1 วัน
คำแนะนำเพิ่มเติมจากศูนย์นมแม่ ให้รายละเอียดของก้อนเก็บความเย็นดังนี้
- ถุงพลาสติกใส่ก้อนทำความเย็น (น้ำแข็งแหนม) 100 มิลลิเมตร 4, 6, 8 ก้อน
- ในกระติก รักษาความเย็นได้ 12, 15 และ 17 ชั่วโมง ตามลำดับ
- ในกระเป๋าพลาสติกรักษาความเย็นได้ 8, 10 และ 11 ชั่วโมง ตามลำดับ
- ฟองน้ำใส่น้ำแข็ง 100 มิลลิลิตร 4, 6, 8 ก้อน
- ในกระติก รักษาความเย็นได้ 11, 14 และ 16 ชั่วโมง ตามลำดับ
- ในกระเป๋าพลาสติกรักษาความเย็นได้11, 14 และ 16 ชั่วโมง ตามลำดับ
- น้ำแข็งเทียม (Icebrick) 1 และ 2 ก้อนในกระติกน้ำแข็ง รักษาความเย็นได้ 4 และ 17 ชั่วโมง ตามลำดับ
- เจลประคบร้อนเย็น (Coldhotpack) 1 และ 2 ชิ้นในกระติกน้ำแข็งและกระเป๋าพลาสติก รักษาความเย็นได้ที่ 2 ชั่วโมง
คำแนะนำทั่วไปในการนำนมแช่เย็นมาใช้
นมที่เก็บในช่องแช่เย็นธรรมดา เมื่อจะใช้ให้นำมาวางนอกตู้เย็นให้หายเย็นก่อน หากรีบให้แช่ในน้ำอุ่น ห้ามต้มหรือเข้าไมโครเวฟ เพราะจะเสียภูมิต้านทานในนมแม่ไป
ส่วนนมแช่แข็ง ให้ย้ายมาอยู่ตู้ธรรมดา 1 คืน พอละลายแล้วนำไปอุ่นใช้ได้ปกติและนมที่อุ่นแล้ว ห้ามนำไปแช่เย็นเพื่อเก็บไว้ใช้ใหม่ หากกินไม่หมดต้องทิ้งไป
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
มีบางกรณีที่ตู้เย็นอาจปิดไม่สนิท หรือไฟดับ ทำให้มีปัญหานมละลาย แต่ยังมีความเย็นอยู่ ทันทีที่ทราบให้รีบเสียบปลั๊กกลับไปทำให้แข็งเหมือนเดิม แต่ถ้านมสูญเสียความเย็นไปแล้วโดยสิ้นเชิงต้องทิ้งไปเลย กรณีที่นมแข็งครั้งใหม่นี้ อายุของนมที่เก็บจะไม่นานเท่าเดิม หากจะใช้นมจะต้องทำการชิมทุกครั้งว่าเปรี้ยวหรือไม่ ถ้าเปรี้ยวหรือไม่แน่ใจ ก็ไม่ควรนำมาให้ลูกกิน ให้ทิ้งไปเลยเช่นกัน
โดยสรุปแล้ว การจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้ประสบความสำเร็จ ต้องใช้ความพยายามและกำลังใจอย่างสูง กำลังใจจากครอบครัว และคนรอบข้างจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก และเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพื่อที่จะพัฒนาเด็ก ซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญของประเทศชาติต่อไปในอนาคต
ดูแพ็กเกจแนะนำคุณแม่มือใหม่ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android